วันพุธที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2551

เรื่องเล่าพระฤาษี


เรื่องเล่าพระฤาษี

"พุทธวันทิตวา ข้าพเจ้าของอาราธนาบารมีคุณ พระพุทธคุณนัง ธรรมคุณนัง สังฆคุณนัง วันทิตวา ข้าพเจ้าขออาราธนาบารมีคุณ พระสังฆคุณนัง อีกทั้งคุณพระบิดา พระมารดา พระอนุกรรมวาจา อุปัชฌาย์ครูบาอาจารย์ อีกทั้งพระฤาษีนารอด พระฤาษีนารายณ์ พระฤาษีตาวัน พระฤาษีตาไฟ พระฤาษีเกตุ พระฤาษีเนตร พระฤาษีมุชิตวา พระฤาษีมหาพรหมเมศ พระฤาษีสมุหวัน ทั้งพระเพชรฉลูกัน และนักสิทธวิทยา อีกทั้งพระคงคา พระเพลิง พระพาย พระธรณี พระอิศวรผู้เป็นเจ้าฟ้า ขออัญเชิญเสด็จลงมาประสิทธิพระพรชัย ให้แก่พวกข้าพเจ้าในเวลาวันนี้ ข้าพเจ้าขอเชิญเทพดาเจ้าทั้งหลายทั่วพื้นปถพีดล พระฤาษี ๑๐๘ ตน บันดาลดลด้วยสรรพวิทยา พระครูยา พระครูเฒ่า พระครูภักและอักษร สถาพรเป็นกรรมสิทธิ์ ให้แก่พวกข้าพเจ้าในเวลาบัดนี้เถิด ข้าพเจ้า ขออาราธนาองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เชิญเสด็จลงมาปกเกล้าปกกระหม่อม ข้าพเจ้าขอเชิญพระพรหมลงมาอยู่บ่าซ้าย ขอเชิญพระนารายณ์มาอยู่บ่าขวา ขอเชิญพระคงคาลงมาเป็นน้ำลาย ขอเชิญพระพายลงมาเป็นลมปาก ขอเชิญพญานาคลงมาเป็นสร้อยสังวาล ข้าพเจ้าขอเชิญพระอังคารมาเป็นด้วยใจ ถ้าแม้นข้าพเจ้าจะไปรักษาไข้แห่งหนึ่งแห่งใด ให้มีชัยชนะแก่โรค ขอจงประสิทธิให้แก่ข้าพเจ้าทุกครั้ง พุทธสังมิ ธรรมสังมิ สังฆสังมิ" (คัดตามต้นฉบับเดิม) ที่นำมากล่าวข้างต้นนั้นคือ บทไหว้ครูของเก่า ที่ผมได้จดไว้ตั้งแต่สมัยยังเป็นนักเรียนเตรียมอุดมศ ึกษา เพราะมีกิจต้องเข้าพิธีไหว้ครูกับลุง ซึ่งเป็นหมอแผนโบราณอยู่เป็นประจำทุกปี คนไทยเราดูจะคุ้นกับฤาษีอยู่มาก เพราะตามพงศาวดารสมัยโบราณ หรือจดหมายเหตุเก่าๆ มักจะกล่าวถึงฤาษี อย่างเช่นฤาษีวาสุเทพกับฤาษีสุกกทันต์ ผู้สร้างเมืองหริภุญไชย และในคำไหว้ครูที่กล่าวถึงข้างต้น ได้ออกชื่อฤาษีแปลกๆ หลายชื่อ ซึ่งจะได้กล่าวถึงต่อไปข้างหน้า นอกจากนี้ ในวรรณคดีต่างๆ ก็มักจะมีเรื่องของฤาษีแทบทุกเรื่อง เพราะพระราชโอรสของพระเจ้าแผ่นดินจะต้องไปศึกษาเล่าเ รียนกับฤาษี และฤาษีเป็นเจ้าพิธีการต่างๆ เป็นต้น ตำราของวิชาการหลายสาขา เช่น ดนตรี แพทย์ ก็มีเรื่องของฤาษีมาเกี่ยวข้องอยู่ด้วย ดังจะเห็นว่าพวกดนตรีและนาฏศิลป์เคารพบูชาฤาษี แพทย์แผนโบราณก็มีรูปฤาษีไว้บูชา ดังนี้เป็นต้น ลักษณะของฤาษีแบบไทยๆ มักจะรู้จักกันในรูปของคนแก่ นุ่งห่ม หนังเสือ โพกศีรษะเป็นยอดขึ้นไป ทำไมจึงต้องนุ่งห่มหนังเสือ ลองเดาตอบดูก็เห็นจะเป็นเพราะอยู่ในป่า ไม่มีเสื้อผ้า ก็ใช้หนังสัตว์แทน ส่วนจะได้มาโดยวิธีอย่างไรไม่แจ้ง แต่คงไม่ใช่จากการฆ่าแน่นอน เพราะฤาษีจะต้องไม่ฆ่าสัตว์ตัดชีวิต แต่ถ้ามีคนเอาเนื้อสัตว์มาถวายก็กินได้ ไม่เป็นไร ฉะนั้น หนังสัตว์ก็อาจจะเป็นของพวกนายพราน หรือคนที่เคารพนับถือ เอามาถวายก็เป็นได้ ถึงอย่างนั้นก็ยังอาจจะสงสัยต่อไปอีกว่า ทำไมจึงเลือกเอา หนังเสือ เรื่องนี้ก็ต้องเดาตอบเอาอีกว่า เพราะหนังเสือนุ่มดี แต่ฤาษีไทยเราเห็นครองแต่หนังเสือเหลือง สังเกตจากรูปฤาษีส่วนมาก จะระบายสีเป็นอย่างเสือลายเหลืองสลับดำ แต่ฤาษีของบางอาจารย์ปิดทองก็มี ชุดเครื่องหนังนี้อ่านตามหนังสือวรรณคดีว่า เป็นชุดออกงาน เช่นเข้าเมืองหรือไปทำพิธีอะไรต่างๆ ก็ใช้ชุดหนัง แต่ถ้าบริกรรมบำเพ็ญตบะอยู่กับอาศรมในป่าก็ใช้ ชุดคากรอง คือนุ่งห่มด้วยต้นหญ้าต้นคา ในหนังสือบทละครเรื่องอุณรุท พระราชนิพนธ์รัชกาลที่ ๑ กล่าว ไว้ตอนท้าวไกรสุทรับสั่งให้สังฆการีออกไปนิมนต์ฤาษีน ารอท มาเข้าพิธีอภิเษกสมรสพระอุณรุทกับนางศรีสุดา มีความว่า "เมื่อนั้น พระนารอททรงญาณฌานกล้า ได้แจ้งไม่แคลงวิญญา ก็บอกหมู่สิทธาพร้อมกัน ต่างผลัดเปลือกไม้คากรอง ครองหนังเสือสอดจำมขัน กรกุมไม้เท้างกงัน พากันรีบมายังธานี" ดังนี้แสดงว่าเวลาอยู่ป่านุ่งเปลือกไม้คากรอง ออกนอกอาศรมเข้าเมือง ก็เปลี่ยนเป็นเครื่องหนัง และที่กล่าวมานี้ที่จะเป็นฤาษีแบบไทยๆ ที่มีระเบียบวัฒนธรรมแล้วหรืออย่างไรไม่ทราบ ฤาษีของอินเดียก็ว่านุ่งห่มสีขาว ทีจะเป็นฤาษีเมื่อบ้านเมืองเจริญแล้ว ดึกดำบรรพ์ก่อนโน้นจะมีนุ่งหนังเสือบ้างกระมัง ตามภาพเขียนสมัยโบราณ ถ้ามีภาพป่าหิมพานต์ มีรูปต้นมักกะลีผล จะเห็นพวกวิทยาธรและพวกที่แต่งตัวคล้ายๆ ฤาษีเหาะขึ้น ไปเชยชมสาวมักกะลีผลกันเป็นกลุ่มๆ ความจริงไม่ใช่ฤาษีแท้ เป็น พวกนักสิทธ นี่ว่าตามคติอินเดียที่เขาถือว่า นักสิทธไม่ใช่ฤาษี เป็นแต่ผู้สำเร็จจำพวกหนึ่งเท่านั้น ทำนองเดียวกับพวกวิทยาธรหรือพิทยาธร ในหนังสือวรรณคดีไทยเรียกว่า ฤาสิทธ ก็มี มักเรียกรวมๆ กันว่า ฤาษีฤาสิทธ หรือ ฤาษีสิทธวิทยาธร ในวรรณคดีอินเดียกำหนดจำนวนพวกนักสิทธไว้ตายตัว มีจำนวน ๘๘,๐๐๐ ทางไทยเราดูจะนับนักสิทธเป็นฤาษีไปด้วย ในเอกสารที่เก่าที่สุดของไทยคือ ไตรภูมิพระร่วง ของ พระญาลิ ไท ก็เรียกฤาสิทธว่าเป็นอย่างเดียวกับฤาษี ดังความตอนหนึ่งว่า "ครั้นว่านางสิ้นอายุศม์แล้วจึงลงมาเกิดที่ในดอกบัวหลวงดอก ๑ อัน มีอยู่ในสระๆ หนึ่ง มีอยู่แทบตีนเขาพระหิมวันต์ฯ เมื่อนั้นยังมีฤาษีสิทธองค์ ๑ ธ นั้นอยู่ในป่าพระหิมพานต์ ธ ย่อมลงมาอาบน้ำในสระนั้นทุกวัน ธ เห็นดอกบัวทั้งปวงนั้นบานสิ้นแล้วทุกดอก ๆ แลว่ายังแต่ดอกเดียวนี้บมิบานแล ดุจอยู่ดังนี้บมิบานด้วยทั้งหลายได้ ๗ วัน ฯ พระมหาฤาษีนั้น ธ ก็ดลยมหัศจรรย์นักหนา ธ จึงหันเอาดอกบัวดอกนั้นมา ธ จึงเห็นลูกอ่อนอยู่ในดอกบัวนั้นแล เป็นกุมารีมีพรรณงามดั่งทองเนื้อสุก พระมหาฤาษีนั้น ธ มีใจรักนักหนา จึงเอามาเลี้ยงไว้เป็นพระปิยบุตรบุญธรรม แลฤาษีเอาแม่มือให้ผู้น้อยดูดกินนม แลเป็นน้ำนมไหลออก แต่แม่มือมหาฤาษีนั้นด้วยอำนาจบุญพระฤาษี" ดังนี้จะเห็นว่า ใช้คำ ฤาสิทธ ในความหมายเดียวกับ ฤาษี และนิยายทำนองนี้ดูจะแพร่หลายมาก ในวรรณคดีไทยหลายเรื่อง มีเรื่องฤาษีเก็บเด็ก จากดอกบัวมาเลี้ยงแทรกอยู่เสมอ ลักษณะความเป็นอยู่ของฤาษีเท่าที่เราเข้าใจกัน โดยทั่วๆ ไปนั้น ก็ว่ากินเผือกมันเป็นอาหาร เพราะไม่มีการทำไร่ไถนา บางคัมภีร์มีข้อห้ามพวกฤาษีไม่ให้เข้าหมู่บ้าน ไม่ให้ย่างเหยียบเข้าไปในเขตพื้นดิน ที่เขาไถแล้ว แต่ในที่บางแห่งกล่าวว่า ฤาษีนั้นแบ่งออกเป็น ๘ จำพวกด้วยกันคือ ๑.สปุตตภริยา คือฤาษีที่รวบรวมทรัพย์ไว้บริโภคเหมือนมีครอบครัว ๒.อุญฉาจริยา คือฤาษีที่เที่ยวรวบรวมข้าวเปลือกและถั่วงาเป็นต้นไว ้หุงต้มกิน ๓.อนัคคิปักกิกา คือฤาษีที่รับเฉพาะข้าวสารไว้หุงต้มกิน ๔.อสามปักกา คือฤาษีที่รับเฉพาะอาหารสำเร็จ (ไม่หุงต้มกินเอง) ๕.อัสมุฏฐิกา คือฤาษีที่ใช้ก้อนหินทุบเปลือกไม้บริโภค ๖.ทันตวักกลิกา คือฤาษีที่ใช้ฟันแทะเปลือกไม้บริโภค ๗.ปวัตตผลโภชนา คือฤาษีที่บริโภคผลไม้ ๘.ปัณฑุปลาสิก คือฤาษีที่บริโภคผลไม้หรือใบไม้เหลืองที่หล่นเอง ในหนังสือ ลัทธิของเพื่อน โดย เสฐียรโกเศศ นาคประทีป ได้กล่าวถึงพวกฤาษีไว้ตอนหนึ่งว่า "เกิดมีพวกนักพรตประพฤติเนกขัมม์ขึ้น พวกนี้มักอาศัยอยู่ ในดงเรียกว่า วานปรัสถ์ (ผู้อยู่ป่า) หรือเรียกว่า ฤาษี (ผู้แสวง) ปลูกเป็นกระท่อมไม้หรือมุงกั้นด้วยใบไม้ (บรรณศาลา) เป็นที่อาศัย" กระท่อมชนิดนี้ถ้าอยู่รวมกันได้หลายคนเรียกว่า อาศรม พวกฤาษีใช้เปลือกไม้หรือหนังสัตว์เป็นเครื่องนุ่งห่ม และขมวดผมมวย ให้เป็นกลุ่มสูงเรียกวา ชฎา อาศัยเลี้ยงชีพด้วยมูลผลาหารของป่า ลัทธิที่ประพฤติมีการบำเพ็ญตบะทรมานกายอย่างเคร่งเคร ียด เพียรพยายามทนความหนาวร้อน อดอาหาร และทรมานด้วยวิธีต่างๆ ความมุ่งหมายที่บำเพ็ญตบะ ยังคงหวังให้มีฤทธิเดช อย่างความคิดในชั้นเดิมอยู่ แต่ว่าเริ่มจะมุ่งทางธรรมแทรกขึ้นอีกชั้นหนึ่งด้วย กล่าวคือการบำเพ็ญตบะ เป็นทางที่จะซักฟอกวิญญาณให้บริสุทธิ์สะอาด เข้าถึงพรหม และเกิดฤทธิเดชเหนือเทวดามนุษย์ ในอีกแห่งหนึ่งกล่าวว่า "ผู้ที่อยากเป็นฤาษีเขามีตำราเรียนเรียกว่า คัมภีร์อารัญยกะ แปลว่า เนื่องหรือเกี่ยวกับป่า ชายหนุ่มที่ไปบวชเรียน เป็นฤาษีจะต้องเรียนและปฏิบัติที่มีกำหนดไว้ในคัมภีร ์ อะไรเป็นปัจจัย ให้ต้องประพฤติตนเป็นฤาษี ตอบได้ไม่ยากนักคือ เขาเห็นว่า ความประพฤติของ ชาวกรุงชาวเมืองในมัธยมประเทศสมัยโน้น เลอะเทอะเต็มที มักชอบประพฤติ แต่เรื่องสุรุ่ยสุร่ายเอ้อเฟ้อ อยู่ด้วยกามคุณ ต้องการจะมีความเป็นอยู่อย่างง่ายๆ เหมือนบรรพบุรุษครั้งดึกดำบรรพ์ ครั้งไกลโน้นประพฤติกันอยู่ ชะรอยบรรพบุรุษของชาวอริยกะครั้งกระโน้น จะไม่ใช่เป็นคนเพาะปลูก และใช้เปลือกไม้และหนังสัตว์เป็นเครื่องนุ่งห่ม เห็นที่จะเอาอย่างบรรพบุรุษ ครั้งดึกดำบรรพ์ ซึ่งยังไม่รู้จักหว่านไถและยังไม่รู้จักทอผ้า คงจะสร้างทับ กระท่อมกันอยู่ในป่า ไว้ผมสูงรกรุงรัง พวกฤาษีจึงได้เอาอย่าง" เท่าที่กล่าวมาข้างต้นนั้นคือลักษณะและความเป็นอยู่ข องฤาษีโดยทั่วๆ ไป แต่ยังมีอีกลักษณะหนึ่งซึ่งไม่ได้กล่าวถึง คือ การมีบุตรและภรรยา ฤาษีประเภทนี้มีมากจนเป็นที่รู้กันทั่วไปว่า ฤาษีมีเมียได้ ซึ่งจะได้เล่าถึงในประวัติของฤาษีต่างๆ ต่อไปข้างหน้า ดังได้กล่าวแล้วว่าฤาษีต้องเพียรบำเพ็ญตบะกันอย่างหน ัก ฉะนั้นผลที่เกิดขึ้นจึงมีแตกต่างกันไปตามความเพียรพย ายาม ใครปฏิบัติได้มากก็ได้รับการยกย่องให้เป็นฤาษีอันดับ สูง เท่าที่ทราบเขาจัดฤาษีไว้ ๔ ชั้นดังนี้ ๑.ราชรรษี (เจ้าฤาษี) ๒.พราหมณรรษี (พราหมณฤาษี) ๓.เทวรรษี (เทพฤาษี) ๔.มหรรษี (มหาฤาษี)
แต่ในบางแห่งก็จัดฤาษีที่สำเร็จตบะไว้เพียง ๓ ชั้นคือ ๑.พรหมฤาษี คือผู้มีตบะเลิศ ข่มจิตสงบได้จริง ไม่ยินดียินร้ายในสิ่งทั้งปวง ๒.มหาฤาษี คือเป็นพวกฤาษีชั้นกลาง มีตบะ ข่มกามคุณได้หมดสิ้นแล้ว ๓.ราชฤาษี ได้แก่ ฤาษีที่มีตบะฌานสำเร็จเป็นอันดับต้น
การไต่อันดับไม่ได้ใช้ระบบการสอบ ผู้ที่จะเลื่อนชั้นจะต้องปฏิบัติบำเพ็ญตบะจน ได้ผลตามที่กำหนดไว้ ซึ่งจะต้องใช้ความเพียรพยายามและความอดทนอย่างยิ่งยวด

ดังได้กล่าวแล้วว่า ฤาษีต้องเพียรบำเพ็ญตบะ กันอย่างหนัก ฉะนั้นผลที่เกิดขึ้นจึงมี แตกต่างกันไป ตามความเพียรพยายาม ใครปฏิบัติได้มากก็ได้รับการยกย่อง ให้เป็น
ฤาษีอันดับสูง เท่าที่ทราบเขาจัดฤาษีไว้ ๔ ชั้นดังนี้

๑.ราชรรษี (เจ้าฤาษี) ๒.พราหมณรรษี (พราหมณฤาษี) ๓.เทวรรษี (เทพฤาษี) ๔.มหรรษี (มหาฤาษี) แต่ในบางแห่งก็จัดฤาษีที่สำเร็จตบะไว้เพียง ๓ ชั้นคือ ๑.พรหมฤาษี คือผู้มีตบะเลิศ ข่มจิตสงบได้จริง ไม่ยินดียินร้ายในสิ่งทั้งปวง ๒.มหาฤาษี คือเป็นพวกฤาษีชั้นกลาง มีตบะ ข่มกามคุณได้หมดสิ้นแล้ว ๓.ราชฤาษี ได้แก่ ฤาษีที่มีตบะฌานสำเร็จเป็นอันดับต้น การไต่อันดับไม่ได้ใช้ระบบการสอบ ผู้ที่จะเลื่อนชั้น จะต้องปฏิบัติบำเพ็ญตบะจนได้ผลตามที่กำหนดไว้ ซึ่งจะต้องใช้ความเพียรพยายามและความอดทนอย่างยิ่งยว ด ในคำไหว้ครู ที่ได้ยกมากล่าวในตอนต้น มีชื่อฤาษีที่คุ้นหูคนไทยส่วนมากอยู่ ๓ ตนด้วยกันคือ ฤาษีนารอด ฤาษีตาวัว ฤาษีตาไฟ ฤาษีทั้งสามนี้คนระดับชาวบ้านสมัยก่อนรู้จักกันดี มักพูดถึงอยู่เสมอในตำนานพระพิมพ์ ที่ว่า จารึกไว้ในลานเงินก็ได้กล่าวถึงฤาษีตาวัว (งัว) และฤาษีตาไฟไว้เหมือนกัน ดังความว่า "ตำบลเมืองพิษณุโลก เมืองกำแพงเพชร เมืองพิไชยสงคราม เมืองพิจิตร เมืองสุพรรณ ว่ายังมีฤาษี ๑๑ ตน ฤาษีเป็นใหญ่ ๓ ตนๆ หนึ่งฤาษีพีลาไลย ตนหนึ่งฤาษีตาไฟ ตนหนึ่งฤาษีตางัว เป็นประธานแก่ฤาษีทั้งหลาย จึงปรึกษากันว่า เราท่านทั้งหลายนี้จะ เอาอันใดให้แก่ พระยาศรีธรรมาโศกราช ฤาษีทั้ง ๓ จึงว่าแก่ฤาษีทั้งปวงว่า เราจะทำด้วยฤทธิ์ทำด้วยเครื่องประดิษฐานเงินทองไว้ฉะ นี้ฉลองพระองค์ จึงทำเป็นเมฆพัตร อุทุมพร เป็นมฤตย์พิศม์ อายุวัฒนะ พระฤาษีประดิษฐานไว้ในถ้ำเหวใหญ่น้อย เป็นอานุภาพแก่มนุษย์ทั้งหลาย สมณชีพราหมณาจารย์เจ้าไปถ้วน ๕๐๐๐ พรรษา พระฤาษีองค์หนึ่งจึงว่าแก่ฤาษีทั้งปวงว่า ท่านจงไปเอาว่าน ทั้งหลายอันมีฤทธิ์ เอามาให้สัก ๑๐๐๐ เก็บเอาเกสรไม้อันวิเศษ ที่มีกฤษณาเป็นอาทิให้ได้ ๑๐๐๐ ครั้นเสร็จแล้ว ฤาษีจึงป่าวร้องเทวดาทั้งปวง ให้ช่วยกันบดยา ทำเป็นพระพิมพ์ไว้สถานหนึ่ง ทำเป็นเมฆพัตรสถานหนึ่ง ฤาษีทั้ง ๓ องค์นั้น จึงบังคับฤาษีทั้งปวงให้เอาว่านทำเป็นผง เป็นก้อน ประดิษฐานด้วยมนต์คาถาทั้งปวงให้ประสิทธิทุกอัน จึงให้ฤาษีทั้งนั้น เอาเกสรและว่านมาประสมกันดีเป็นพระให้ประสิทธิแล้ว ด้วยเนาวหรคุณประดิษฐานไว้บนเจดีย์อันหนึ่ง ถ้าผู้ใดให้ถวายพระพรแล้ว จึงเอาไว้ใช้ตามอานุภาพเถิด ให้ระลึกถึงคุณพระฤาษีที่ทำไว้นั้นเถิด" ดังนี้แสดงว่า แต่กาลก่อนทางภาคพื้นประเทศไทยเราก็มีฤาษีอยู่มาก โดยเฉพาะ ฤาษีตาวัว กับ ฤาษีตาไฟ ติดปากคนมากกว่าฤาษีอื่นๆ และประวัติก็มีมากกว่า เท่าที่ทราบพอจะรวบรวมได้ดังต่อไปนี้ ฤาษีตาวัว นั้นเดิมทีเป็นสงฆ์ตาบอดทั้งสองข้าง แต่ชอบเล่นแร่แปรธาตุ จนสามารถทำให้ปรอทแข็งได้ แต่ยังไม่ทันใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างไร ก็เอาไปทำหล่นตกถาน (ส้วมของพระตามวัด) เสีย จะหยิบเอามาก็ไม่ได้ เพราะตามองไม่เห็น เก็บความเงียบไว้ ไม่กล้าบอกใคร จนกระทั่งวันหนึ่ง ลูกศิษย์ไปถาน แลเห็นแสงเรืองๆ จมอยู่ใต้ถาน ก็กลับมาเล่าให้อาจารย์ฟัง หลวงตาดีใจบอกให้ศิษย์พาไป เห็นแสงเรืองตรงไหนให้จับมือจุ่มลงไปตรงนั้น จะเลอะเทอะอย่างไรช่างมัน ศิษย์กลั้นใจทำตาม หลวงตาก็ควักเอาปรอทคืนมาได้ จัดแจงล้างน้ำให้สะอาดดีแล้วก็แช่ไว้ในโถน้ำผึ้งที่ท ่านฉัน ไม่เอาติดตัวไปไหนอีก เพราะกลัวจะหล่นหาย อยู่มาวันหนึ่ง ท่านก็มารำพึงถึงสังขาร ว่าเราจะมานั่งตาบอดอยู่ทำไม มีของดีของวิเศษอย่างนี้แล้ว ก็น่าจะลองดู จึงให้ศิษย์ไปหาศพคนตายใหม่ๆ เพื่อจะควักเอาลูกตา แต่ลูกศิษย์หาศพใหม่ๆ ไม่ได้ ไปพบวัวนอนตายอยู่ตัวหนึ่ง เห็นเข้าที่ดีก็เลยควักลูกตาวัวมาแทน หลวงตาจึงเอาปรอทที่แช่น้ำผึ้งไว้มาคลึงที่ตา แล้วควักเอาตาเสียออก เอาตาวัวใส่แทน แล้วเอาปรอทคลึงตามหนังตา ไม่ช้าตาทั้งสองข้างก็กลับเห็นดีดังธรรมดา แล้วหลวงตาก็สึกจากพระ เข้าถือเพศเป็นฤาษี จึงได้เรียกกันว่าฤาษีตาวัว มาตั้งแต่นั้น ส่วน ฤาษีตาไฟ นั้นยังไม่พบต้นเรื่องว่า ทำไมจึงเรียกว่า ฤาษีตาไฟ ที่ตาของท่านจะแรงร้อนเป็นไฟ แบบตาที่สามของพระอิศวรกระมัง อย่างไรก็ตาม ฤาษีทั้งสองนี้เป็นเพื่อนเกลอกัน และได้สร้างกุฎีอยู่ใกล้กันบนเขาใกล้เมืองศรีเทพ ท่านออกจะรักและโปรดมาก มีอะไรก็บอกให้รู้ ไม่ปิดบัง วันหนึ่งฤาษีตาไฟได้เล่าให้ศิษย์คนนี้ฟังว่า น้ำในบ่อสองบ่อที่อยู่ใกล้กันนั้นมีฤทธิ์อำนาจไม่เหม ือนกัน น้ำในบ่อหนึ่ง เมื่อใครเอามาอาบก็จะตาย และถ้าเอาน้ำอีกบ่อหนึ่งมารดก็จะฟื้นขึ้นมาได้อีก ศิษย์ไม่เชื่อว่าจะเป็นไปได้ ฤาษีตาไฟจึงบอกว่า จะทดลองให้ดูก็ได้ แต่ต้องให้สัญญาว่า ถ้าตนตายไปแล้ว ต้องเอาน้ำอีกบ่อหนึ่งมารดให้คืนชีวิตขึ้นใหม่ ศิษย์ก็รับคำ ฤาษีตาไฟจึงเอาน้ำในบ่อตายมาอาบ ฤาษีก็ตาย ฝ่ายศิษย์เห็นเช่นนั้นแทนที่จะทำตามสัญญา กลับวิ่งหนีเข้าเมืองไปเสีย กล่าวฝ่ายฤาษีตาวัว ซึ่งเคยไปมาหาสู่ฤาษีตาไฟอยู่เสมอ เมื่อเห็นฤาษีตาไฟหายไปผิดสังเกตเช่นนั้นก็ชักสงสัย จึงออกจากกุฎีมาตา ม เมื่อเดินผ่านบ่อน้ำตายเห็นน้ำในบ่อเดือด ก็รู้ว่าเกิดเหตุร้ายขึ้นแล้ว เดินต่อไปอีกก็พบซากศพของฤาษีตาไฟ ฤาษีตาวัวจึงตักน้ำอีกบ่อหนึ่งมาราดรด ฤาษีตาไฟก็ฟื้นคืนชีพขึ้นมา แล้วเล่าเรื่องที่เกิดขึ้นให้ฤาษีตาวัวฟัง และว่าจะต้องแก้แค้นศิษย์ลูกเจ้าเมือง ตลอดจนประชาชนพลเมืองทั้งหมดอีกด้วย ฤาษีตาวัวก็ปลอบว่า อย่าให้มันรุนแรงถึงอย่างนั้นเลย ฤาษีตาไฟก็ไม่เชื่อฟังได้เนรมิตวัวขึ้นตัวหนึ่ง เอาพิษร้ายบรรจุไว้ในท้องวัวจนเต็ม แล้วปล่อยวัวกายสิทธิ์ให้เดินขู่คำรามด้วยเสียงกึกก้ อง รอบเมืองทั้งกลางวันกลางคืน แต่เข้าเมืองไม่ได้ เพราะทหารรักษาประตูปิดประตูไว้ พอถึงวันที่เจ็ด เจ้าเมืองเห็นว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้นก็สั่ง ให้เปิดประตูเมือง วัวกายสิทธิ์คอยทีอยู่แล้วก็วิ่งปราดเข้าเมือง ทันทีนั้นท้องวัวก็ระเบิดออก พิษร้ายก็กระจายพุ่งออกมาทำลาย ผู้คนพลเมืองตายหมด เมืองศรีเทพก็เลยร้างมาแต่ครั้งนั้น ถ้าว่าตามเรื่องที่เล่ามานี้ ฤาษีตาวัวก็ดูจะใจดีกว่าฤาษีตาไฟ และคงจะเป็นด้วยฤาษีตาวัวเป็นผู้ช่วยให้ฤาษีตาไฟฟื้น คืนชีพขึ้นมานี่เองกระมัง ทางฝ่ายแพทย์แผนโบราณจึงได้ถือเป็นครู ส่วนทางฝ่ายทหารออกจะยกย่องฤาษีตาไฟ ดังมีมนต์บทหนึ่งกล่าวไว้ในตำราพิชัยสงครามว่า "ขอพระศรีสุทัศน์เข้ามาเป็นดวงใจ พระฤาษีตาไฟเข้ามาเป็นดวงตา" ดังนี้ ส.พลายน้อย

ฤาษีตาไฟ


คาถาบูชาฤาษีตาไฟ

นะโม3จบ

อิติปิโสภะคะวา อะระหังสัมมา สัมพุทธโธวิชชา จะระนะสัมปันโน สุขโตโลกะวิทูร อนุตะโร ปุริสะธัมมะสาระทิ สัตสาเท วะมะนุศสานังพุทโธ ภะคะวาติ

3จบเเล้วต่อด้วย

คาถาฤาษีตาไฟ

นาโคชิริยะ อิติกะถานัง สาระสะนะพุทโธ พระฤษีสิทธิอาคะตะสิทธิโต พะภะคะสติโต มะนะสะสีตะโต สะวาหะฯ 9จบ


เรื่องราวของพระฤาษี ในตำนานนั้นมีมากมายโดยเฉพาะในแถบสุวรรณภูมิเราที่ดูออกจะมีเรื่องเล่าเกี่ยวกับพระฤาษีต่างๆไม่น้อย ทั้งที่เกี่ยวพันกับปรำปราพื้นบ้านที่เป็นผู้ประสิทธิประสาทความรู้ต่าง ๆ และบางครั้งยังนำมาเกี่ยวพันกับการสร้างเมืองหรืออาณาจักรสำคัญๆ อยู่หลายอาณาจักร ลักษณะฤาษีแบบไทยๆนั้นดูจะแตกต่างออกไปจากฤาษีอินเดีย ตั้งแต่การแต่งกาย ที่อินเดียนิยมนุ่งห่มผ้าย้อมสีแบบจีวรพระที่ถือเป็นสีนักบวชและไม่นิยมหนังสัตว์ที่ถือว่าเป็นการฆ่าสัตว์ตัดชีวิต จะมีฤาษีอินเดียในสายนับถือพระศิวะที่มีการนุ่งห่มหนังสัตว์ ซึ่งปัจจุบันไม่พบมากนัก ส่วนไทยเรานั้นกลับนุ่งห่มหนังเสือ ที่คล้ายกับได้รับวัฒนะธรรมมาจากนักบวชแถบเปอร์เชีย ตามภาพเขียนไทยสมัยโบราณ ถ้ามีภาพป่าหิมพานต์ ก็จะมีรูปวิทยาธรที่เป็นพวกแต่งกายคล้ายๆฤาษี เข้าคลอเคลีย ผลไม้ประหลาดที่ชื่อนารีผลซึ่งพวกนี้ไม่จัดเป็นฤาษีแท้ อินเดียจะเรียกนักสิทธิ เราก็เรียกว่า เป็นนักสิทธิวิทยาธร หรือฤาสิทธิวิทยาธรไปอันนี้เป็นความแตกต่างที่อาจสับสนได้ นักบวชที่เรียกว่า “ฤาษี” จะเป็นพวกบำเพ็ญพรต ตบะอย่างยิ่งยวด ซึ่งผลที่ได้ตอบแทนประการหนึ่งคือการมีอิทธิฤทธิ์ที่นอกเหนือชนสามัญ ฤาษีจึงเป็นสัญลักษณ์ของความศักดิ์สิทธิ์ โดยจัดแบ่งฤาษีตามตบะออกเป็น ๓ ชั้นคือพรหมฤาษี - ผู้ทีตบะเลิศ ข่มจิตนิวรณ์ได้บรรลุญาณชั้นสูงมหาฤาษี - ผู้มีตบะข่มกามคุณราชฤาษี - สำเร็จญาณสมาบัติชั้นต้น ซึ่งบรรดาฤาษีผู้สำเร็จที่ปรากฏในคำไหว้ครู ไทยนั้นมีหลายท่านแต่ที่ปรากฏเสมอๆมีอยู่สามตนคือ พระฤาษีนารอด พระฤาษีตาวัวและพระฤาษีตาไฟ ซึ่งทั้งสามท่านนี้จะเป็นที่รู้จักกันทั่วไปมาแต่โบราณ มีหลักฐานปรากฏในลานเงินลานทองที่ประจุไว้พร้อมพระพิมพ์โบราณที่กล่าวว่า “ตำบลเมืองพิษณุโลก เมืองกำแพงเพชร เมืองพิไชยสงคราม เมืองพิจิตร เมืองสุพรรณ ว่ายังมีฤาษี ๑๑ ตน ฤาษีเป็นใหญ่ ๓ ตนๆ หนึ่งฤาษี พิลาไลย ตนหนึ่งฤาษีตาไฟ ตนหนึ่งฤาษีตาวัว เป็นประธานแก่ฤาษีทั้งหลาย จึงปรึกษากันว่า เราท่านทั้งหลายนี้จะเอาอันใดให้แก่ พระยาศรีธรรมาโศกราช ฤาษีทั้งสามจึงว่า เราจะทำด้วยฤทธิ์ ทำด้วยเครื่องประดิษฐานเงินทองไว้ฉะนี้ ฉลองพระองค์ จึงทำเมฆพัตร อุทุมพร เป็นมฤตย์พิศม์ อายุวัฒนะ พระฤาษีประดิษฐานไว้ในถ้ำเหวใหญ่น้อยเป็นอานุภาพแก่มนุษย์ทั้งหลายสมณชีพราหมณ์เจ้าไปถ้วน ๕๐๐๐ พรรษา ฤาษีองค์หนึ่งจึงว่าแก่ฤาษีทั้งปวงท่านจงไปเอาว่านอันมีฤทธิ์ เอามาสัก ๑๐๐๐ เก็บเอาเกษรไม้อันวิเศษ ที่มีกฤษณาเป็นอาทิ ให้ได้พัน ครั้นเสร็จแล้ว ฤาษีจึงป่าวร้องเทวดา ทั้งปวงให้ช่วยกันบดยา ทำเป็นพระพิมพ์ ไว้สถานหนึ่ง เมฆพัทรสถานหนึ่ง ฤาษีทั้งสามองค์ นั้นจึงบังคับฤาษีทั้งปวง ให้เอาว่านทำเป็นผง เป็นก้อน ประดิษฐานด้วยมนต์คาถาทั้งปวง ให้ประสิทธิคุณทุกอัน จึงให้ฤาษีทั้งนั้นเอาเกสร และว่าน มาประสมกันดีเป็นพระให้ประสิทธิแล้ว ด้วยเนาวหรคุณ ประดิษฐานไว้บนเจดีย์อันหนึ่งถ้าผู้ใดให้ถวายพระพรแล้วจึงเอาไว้ใช้ตามอานุภาพเถิด ให้ระลึกคุณฤาษีที่ทำไว้นั้นเถิด” ซึ่งข้อความตามลานทองจารึกการสร้างพระพิมพ์ อย่างเมืองกำแพงเพชร เมืองสุพรรณบุรีที่มีนัยทำนองนี้เป็นการแสดงความเชื่อถือคุณพระฤาษีโดยเฉพาะ ประธานฤาษีทั้งสามองค์นั้นอย่างได้อย่างดี


สำหรับประวัติพระฤาษีตาไฟนั้นพอจะรวบรวมได้ว่าท่านมีความสัมพันธ์กับพระฤาษีตาวัวมีเรื่องเล่าดังนี้ว่า ฤาษีตาวัวเดิมท่านเป็นสงฆ์ ตาบอดทั้งสองข้างแต่ชอบเล่นแร่แปรธาตุ จนสามารถทำปรอทแข็งได้ แต่ยังไม่ได้ทำให้เกิดประโยชน์อันใดคราวหนึ่งท่านไปถาน(ส้วม)แล้วเผอิญทำปรอทสำเร็จตกที่จะหยิบเอาก็มิได้ด้วยตามองไม่เห็น จึงเงียบไม่บอกใคร เลยแกล้งบอกให้ศิษย์ไปหาที่ถานว่าหากเห็นเรืองแสงเป็นสิ่งใดให้เก็บมาให้ ครั้นศิษย์กลั้นใจทำตามท่านดีใจนัก ได้ปรอทมา ก็ล้างให้สะอาดแล้วใส่โถน้ำผึ้ง เอาไว้ฉันเป็นยาไม่เอาติดตัวอีกเพราะเกรงหาย ต่อมาท่านรำพึงว่า เราจะมัวมานั่งตาบอดไปใย มีของดีวิเศษอยู่(ปรอทสำเร็จ) จึงให้ศิษย์ไปหาคนตายใหม่ๆ เพื่อควักลูกตาแต่ศิษย์หาศพคนตายไม่ได้ได้แต่พบวัวนอนตายอยู่เห็นเข้าทีดีจึงควักลูกตาวัวมาแทนท่านจึงเอาปรอทแช่น้ำผึ้งมาคลึงที่ตา แล้วควักตาบอดออกเสีย เอาตาวัวใส่แทน แล้วเอาปรอทคลึงที่หนังตาด้วยฤทธิ์ปรอทสำเร็จไม่ช้าตาท่านที่บอดก็เห็นดีดังธรรมดา หลวงตาท่านนั้นจึงสึกจากพระมาถือบวชเป็นฤาษี และเรียกฤาษีตาวัวมาแต่บัดนั้นส่วนพระฤาษีตาไฟนั้นพยายามค้นเรื่องราวก็ไม่พบว่าท่านเป็นใครและทำไมถึงเรียกว่า “ตาไฟ” ซึ่งบางท่านให้คติว่า ท่านคงบำเพ็ญจนสำเร็จกสิณไฟและบางคนเลย ไปถึงว่าท่านเป็นภาคหนึ่งของพระศิวะเทพเจ้าสามตาของอินเดียที่พอลืมตาที่สามก็เกิดไฟประลัยกัปล์ การสร้างรูปท่านฤาษีตาไฟก็เลยทำเป็นสามตา โดยตาที่สามนั้นมีเคล็ดว่า ต้องทำตาหลับห้ามเปิดตาที่สาม มิฉะนั้นผู้ใดมีไว้บ้านเรือนจะไม่เป็นสุขด้วยอานุภาพตาไฟที่ลืมแล้วนั่นเอง เรื่องเล่าท่านฤาษีตาไฟ ก็มีอยู่บ้างในตำนานเมืองศรีเทพที่ท่านโดนลูกศิษย์หักหลัง กล่าวคือ ท่านเล่าให้ลูกศิษย์ฟังถึงบ่อน้ำศักดิ์สิทธิ์ที่บ่อหนึ่งใครอาบก็ตาย บ่อหนึ่งคนตายอาบก็กลับเป็น ศิษย์นั้นไม่เชื่อ แล้วขอให้ท่านอาบให้ดูโดยสัญญาว่า เมื่อท่านอาบน้ำบ่อตายแล้วศิษย์จะจะนำน้ำบ่อเป็นมารดท่านให้กลับฟื้นแต่พอเอาเข้าจริงท่านตายไปเพราะอาบน้ำบ่อตายศิษย์เนรคุณก็หนีไป ต่อมาท่านฤาษีตาวัวที่เป็นเพื่อนกันมาเยี่ยมเพราะไปมาหาสู่กันเสมอ เห็นท่านตาไฟหายไปก็ผิดสังเกตุ จึงออกตามหา พบบ่อน้ำตายนั้นเดือดก็รู้ว่ามีเหตุร้ายเกิดขึ้น เมื่อพบร่างท่านฤาษีตาไฟ จึงนำน้ำบ่อเป็นมารด ท่านตาไฟจึงฟื้นขึ้นมาเล่าเรื่องศิษย์เนรคุณให้ฟังและท่านตั้งใจจะแก้แค้นศิษย์ลูกเจ้าเมืองที่ทรยศนั้น โดยท่านเนรมิตรวัวพยนต์ เอาพิษร้ายประจุไว้ แล้วปล่อยวัวพยนต์นั้นไป วิ่งรอบเมืองทั้งกลางวัวกลางคืน แต่เข้าเมืองไม่ได้เพราะศิษย์เจ้ากรรมนั้นปิดประตูเมืองไว้ พอวันที่เจ็ดวัวพยนต์ได้หายไป ชาวเมืองคิดว่าปลอดภัยจึงเปิดประตูเมืองวัวพยนต์คอยทีอยู่ปรากฏตัวขึ้นแล้ววิ่งเข้าในเมือง ระเบิดท้องตัวเองปล่อยพิษร้ายทำลายเมืองและผู้คนวอดวายไปสิ้น นับแต่นั้นมาเมืองนั้นที่ชื่อ“ศรีเทพ” ก็ร้างมาจนบัดนี้ อันนี้เป็นเรื่องเล่าที่ดูว่าท่านฤาษีตาไฟนี่คงดุไม่เบาเหมือนกัน ในทางการศึกษาเรื่องเวทมนต์อิทธิฤทธิ์นั้นต้องนับถือฤาษีตาไฟเป็นสำคัญ สำหรับพวกรักแนวออกอิทธิฤทธิ์ ดังปรากฏในพิไชยสงครามที่ว่า “ขอพระศรีสุทัศน์เข้ามาเป็นดวงใจ พระฤาษีตาไฟเข้ามาเป็นดวงตา” ที่นิยามความหมายชัดเจนถึงตบะอำนาจ ในทางลัทธิไสยศาสตร์ พระฤาษีตาไฟเป็นครูใหญ่ที่เกี่ยวข้องกับฤทธิ์อำนาจโดยตรง มีการกำหนดพิธีกรรมสำคัญ มากมายอย่างยันต์ฤาษีตาไฟ พระคาถา และเชื่อว่าท่านมีอิทธิฤทธิ์สูงมาก ขนาดดลบันดาลเรื่องเหลือวิสัยปกติให้เป็นไปได้เสมอๆ การบูชาพระฤาษีตาไฟ นิยมนำน้ำสะอาดตั้งบูชาไว้ด้านหน้าเสมอแบบมีเคล็ดว่าให้เกิดความร่มเย็นโดยถือว่ารูปท่านเป็นแก้วสารพัดนึกอำนวยอิทธิคุณให้สำเร็จดังมโนปรารถนาดังตำรายันต์พระฤาษีตาไฟที่บอกอุปเท่ห์ว่า “ใครมีไว้ไม่อับจนเลย”


หลวงปู่นอง

หลวงปู่นอง ธัมมโชโต พระเกจิอาจารย์ผู้สืบสาน วิชาสายฤาษี แห่งวัดวังศรีทอง ศิษย์เอก หลานแท้ๆของ หลวงพ่อเดิม ผู้สำเร้จวิชากสิณไฟ จากพระอภิญญา หลวงพ่อกบ วัดเขาสาริกา
หลวงปู่นอง ธัมมโชโต พระเกจิอาจารย์สูงอายุที่โด่งดัง อยู่ ณ ภาคอีสานใต้ ผู้คนเรียกขานกันว่า “ยอดพระเกจิเข้มขลัง ฌานบารมีสัมผัส “ฤาษีตาไฟ” ให้โชคลาภร่ำรวย” พระผู้เมตตา แห่งวัดวังศรีทอง ต.วังใหม่ อ.วังสมบรูณ์ จ.สระแก้ว อายุ 87 ปี ถือกำเนิดที่จังหวัดลพบุรี มีพี่น้องหญิงชาย 8 คน หลวงปู่เป็นบุตรคนสุดท้อง โยมแม่มีศักดิ์เป็นน้องสาวของ พระครูนิวาสธรรมขันธ์ (หลวงพ่อเดิม) วัดหนองโพ อ.ตาคลี จ.นครสวรรค์ “เทพเจ้าแห่งเมืองปากน้ำโพ”ในวัยเด็กอายุ 12 ปี บรรพชาเป็นสารเณร ปรนนิบัติรับใช้ ถวายตัวเป็นศิษย์ “หลวงพ่อเดิม” ผู้เป็น “หลวงลุง” ได้รับการถ่ายทอดวิชา คาถาอาคม การสร้างวัตถุมงคล ต่างๆ ด้วยงาช้าง มีดหมอ เขียนลบผง ปถมัง เตนิสิงเห มหาราช อิทธิเจ พุทธคุณ เรียนเขียนอักขระเลขยันต์ นะ 108 คาถาหัวใจ 108 เรียนวิชาอาคม ทางด้าน คงกระพันชาตรี แคล้วคลาด เมตตามหานิยม โชคลาภ ฯลฯ หลวงพ่อเดิม ยังได้เมตตาสักยันต์ครู “นะเมตตา” ไว้ที่หัวไหล่ของหลวงปู่เพื่อยืนยันถึงความผูกผันอีกด้วย หลวงปู่นอง เป็นพระที่ใฝ่รู้ ได้ขออนุญาติ หลวงพ่อเดิม กลับมาเยี่ยมบ้านที่จังหวัดลพบุรี ในยุคนั้นมีพระเกจิอาจารย์ดัง อยู่ที่เขาสาริกา อ.บ้านหมี่ จ.ลพบุรี ชื่อ “หลวงพ่อกบ” สำเร็จ วิชากสิณไฟ ล่วงรู้วาระจิต จุดไฟน้ำมันก๊าดได้โดย เพ่งสายตา ทำน้ำมนต์สะเดาะเคราะห์ รดน้ำมนต์แล้วจะมีโชคมีลาภ ทำเครื่องรางของชลัง ได้สุดวิเศษ มี อิทธิปาฏิหาริย์ นานาชนิด เขาสาลิกาในยุคนั้นเนื่องแน่ไปด้วยผู้คนที่ศรัทธาในตัว หลวงพ่อกบ แม้แต่ หลวงพ่อโอภาสี (พระมหาชวน) ยังมาฝากตัวเป็นลูกศิษย์ หลวงปู่นอง เมื่อกลับมาบ้านเกิด ได้ยินเกียรติศักดิ์ อภินิหาริย์ ความศักดิ์สิทธิ์ ของหลวงพ่อกบ จึงได้ไปฝากตัว เป็นลูกศิษย์ หลวงพ่อกบ ได้เมตตาถ่ายทอด สุดยอดวิชา ให้หลายอย่าง เมื่อ หลวงปู่นอง อายุ 21 ปี มีหมายเกณฑ์ให้ไปเป็นทหาร จีงลาสิกขา เข้าประจำการ กองพันเสนารักษ์ กองทัพอากาศ ดอนเมือง 2 ปี จึงปลดประจำการเมื่อปลดประจำการแล้ว หลวงปู่นอง ได้กลับมาอุปสมบทอีกครั้ง โดยมีศิษย์ผู้พี่ หลวงพ่อโอภาสี เป็นพระอปัชฌาย์ หลวงปู่นอง จำพรรษาที่ สำนักสงฆ์บางมด และได้ต่อวิชา ร่ำเรียนวิชา เพิ่มเติม เป็นเวลานานถึง 4 ปี จากนั้นได้กลับมาจำพรรษาที่วัดหนองโพ นครสวรรค์ ปรนนิบัติรับใช้ หลวงพ่อเดิม จนกระทั่ง หลวงพ่อเดิม มรณภาพ หลังจากนั้น หลวงปู่นอง ได้รับนิมนต์ จากทางญาติโยม ให้มาจำพรรษาที่วัดวังศรีทอง จังหวัดสระแก้ว หลวงปู่นองจึงไม่ขัดศรัทธา ได้จำพรรษาจนถึงปัจจุบันหลวงปู่นอง เป็นพระเกจิอาจารย์ที่มีความชำนาญ เชี่ยวชาญ วิชาไสยศาสตร์ยิ่งนัก เคราะห์ไม่ดี กิจการ การค้าไม่ดี หลวงปู่ช่วยปัดเป่า สงเคราะห์ ช่วยเหลือคนให้ร่ำรวย มามากต่อมากแล้ว ใครที่มีวัตถุมงคล หลวงปู่นอง บูชาติดตัว จะเจริญก้าวหน้า ค้าขายดี ประสบความสำเร็จทุกประการ ด้วยเหตุนี้เอง จึงทำให้วัตถุมงคล ของหลวงปู่นอง หมดอย่างรวดเร็ว เป็นที่ต้องการ และแสวงหากันมากสำหรับท่านที่พลาดจากบูชาวัตถุมงคลของ หลวงปู่นอง รุ่นก่อน ๆ ตอนนี้เป็นโอกาสดีที่ท่านจะได้ของดีไว้บูชา หลวงปู่นอง ท่านได้สร้างวัตถุมงคล รุ่น บรมครู 51 ออกมาให้บูชากัน ควรบูชาแต่เนิ่นๆ มิฉะนั้นท่านจะผิดหวังอดได้ของดี แบบครั้งก่อนๆ เศียรพ่อแก่บรมครูฤาษีนารอดเศียรพ่อแก่บรมครูฤาษีนารอด รุ่น บรมครู 51 นี้ หลวงปู่นอง ท่านทำพิธีอัญเชิญฌานบารมี ขององค์ปู่ฤาษีนารอด และปู่ฤาษีทุกองค์ลงสู่พิธีอธิฐานจิต ปลุกเสกและประสิทธิมหาเวท กำกับสู่เศียรปู่ฤาษีนารอดทุกเศียร ให้มีอิทธิฤทธิ์ ทางด้าน หนุนดวงชะตา เสริมราศี เมตตามหานิยม โชคลาภ ค้าขายดี แคล้วคาด ปลอดภัยตะกรุดตรึงไตรภพ (เต็มสูตร)ตะกรุดตรึงไตรภพ รุ่น บรมครู 51 หลวงปู่จาร หัวใจตึงไตรภพ ลงแผ่นตะกั่วเอง ทุกดอก และถักเชือกอวน แล้วนำมาชุบรักลงทอง มีพุทธคุณ ครอบจักรวาล รุ่นปี 50 ตอนนี้เสาะแสวงหากันมาก มีราคาที่สูงขึ้นเท่าตัว รุ่นบรมครู 51 นี้ หลวงปู่ปลุกเสก ก่อนเข้าพิธีใหญ่ 2 เดือนเต็มเหรียญนารายณ์ทรงครุฑสุดยอดของดีอีกอย่างที่ หลวงปู่นอง ท่านได้บรรจุพลังทาง มหาอำนาจ มหาโชค มหาลาภ มหานิยม บูชาแล้วช่วยเสริมโชคลาภ วาสนา และป้องกันสิ่งไม่ดีได้ด้วย เหรียญนารายณ์ทรงครุฑนี้ หลวงปู่ได้จารแผ่นยันต์จำนวนมาก หลายร้อยแผ่น เพื่อนำไปเป็นชนวน ในการหลอม ปั๊มเป็นเหรียญนารายณ์ทรงครุฑ ให้มีอานุภาพลือลั่น เกรียงไกร มีโค๊ดและหมายเลขทุกเหรียญ1.1 เศียรพ่อแก่บรมครูปู่ฤาษีนารอด เนื้อรัตนะโลหะ ด้านหลังอุดผงว่านชันดำ ฝังตะกรุดเงินตรึงไตรภพ 5 ดอก ฝังพลอยตาเสือและเศษจีวร บรรจุ ฤาษีเดินธงค์ 799 บาท1.2 เศียรพ่อแก่บรมครูปู่ฤาษีนารอด เนื้อผงว่านชันดำ ฝังตะกรุดเงิน 5 ดอก 499 บาท1.3 เศียรพ่อแก่บรมครูปู่ฤาษีนารอด เนื้อผงว่านน้ำตาล ฝังตะกรุดเงิน 3 ดอก 299 บาท1.4 เศียรพ่อแก่บรมครูปู่ฤาษีนารอด เนื้อผงว่านแดง 199 บาท1.5 เศียรพ่อแก่บรมครูปู่ฤาษีนารอด เนื้อผงว่านขาว 199 บาท2.1 เหรียญนารายทรงครุฑ เนื้อนวโลหะ 999 บาท2.2 เหรียญนารายทรงครุฑ เนื้อตะกั่ว 299 บาท2.3 เหรียญนารายทรงครุฑ เนื้อทองแดง 299 บาท3.1 เหรียญหลวงปู่นอง เนื้อตะกั่ว 299 บาท3.2 เหรียญหลวงปู่นอง เนื้อทองแดง 299 บาท4. พระผงรูปเหมือนหลวงปู่นอง ฝังตะกรุด 1 ดอก 199 บาท5. สิงห์มหาลาภ เนื้อรัตนโลหะ 299 บาท6. ตะกรุดตึงไตรภพ 51 (เต็มสูตร) 299 บาท7. ผ้ายันต์บรมครูปู่ฤาษีนารอด 99 บาทดูรูปและรายละเอียดได้ที่
http://www.itti-patihan.com/pramai15.php
เชิญชมวัตถุมงคลและบูชาได้ที่ร้านครับ (ถ้าให้จัดส่งให้ ขอค่าส่ง EMS 50 บาทครับ)อิทธิปาฏิหาริย์ พระเครื่อง ( อยู่ข้างๆโรงพยาบาลตากสิน เลยปากทางเข้าวัดทองนพคุณไปนิดนึง ติดถนนใหญ่ ห่างจาก เซเว่น 3 คูหา ติดกับร้านอาหาร อำนวยพร มาร้านไม่ถูกกรุณาโทรสอบถามครับ )529 ถ.สมเด็จเจ้าพระยา แขวงคลองสาน เขตคลองสาน กทม 10600 เปิดบริการทุกวัน 9.00 น.-22.30 น. ติดต่อสอบถามที่ 089-052-5456 เอก ติดต่อผมได้ทุกเวลานะครับ ลูกค้าต่างจังหวัด สนใจธนาณัติสั่งจ่ายในนาม นาย สุกัณจักขณ์ กิตติวรเกียรติ ปณ.คลองสาน หรือ โอนเข้าบัญชี ธนาคารกสิกรไทย สาขา ถนนลาดหญ้า เลขที่ 075-2-80735-3 ก่อนโอนกรุณาโทรแจ้งให้ทราบด้วยครับ ดูรายละเอียด รุ่น ต่างๆได้ที่
http://www.itti-patihan.com/
แนะนำเว็บบอร์ด ซื้อขายพระเครื่อง -วัตถุมงคล และสินค้าอื่น ๆ เปิดใหม่ ให้คุณลงซื้อขาย กันได้ไม่จำกัดกระทู้ http://www.yimwhan.com/board/board.php?user=aekcub
http://www.ittipatihan.ob.tc/
http://board.thaimisc.com/aekcub
http://www.aekcub.ob.tc/
http://www.bbznet.com/scripts/board.php?user=aekcub

ฤๅษีนารท



















น่าจะเป็นคาถาสวดบูชาพระฤาษี


นารอดนะขอรับมีอยู่บทที่หาได้ ของหลวงพ่อประสิทธิ์ วัดไทรน้อย

นะโม 3 จบ มะอะอุ สิวัง พรหมมา จิตตัง มานิมา ฤๅฦๅ ฤๅฦๅ พ่อปู่นารอด มานิมา ประสิทธิเม (3 จบ)



พระคาถาบูชาบรมครูปู่เจ้าสมิงพราย...(ภาษากูโบ๊ต)

***โอม ฤ ฤา มหา ฤ ฤา พยัฆเค พยัฆโค อิทธิฤทธิ์โธ อิทธิฤทธิ์เธ
สิเร สิเร คุโร คุโร ยา โด บัน นัมร์ นา ฮัม กู เดียร์ บัง เกียร์ โดร์ โดร์***


คาถาบูชาบรมครูปู่ฤาษีนารอด (ภาษากูโบ๊ต)

***โอม ฤ ฤา มหา ฤ ฤา มหา นา โร โธ ฮิ โร กา เร ฮิ เร บัน ยัง โดร์
เน วา ตู ซู ซูกา เดียงร์ ฮัม ฮัม โก โก***


คาถาบูชาพ่อปู่ฤาษีนารอด
ตั้งนะโม 3 จบ ฤ ฤา อะระหัง อยู่แล้วหรือยัง พ่อปู่นารอทขอเชิญเสด็จมาอยู่ตัว เอหิมาบังเกิด
ฦ ฦา ภะคะวา อุทธังอัทโธ จะภะจะสะ คงคงอะ ฯ (๕ จบ) ฤ ฤ ออกเสียง ลึลือ ฦ ฦา ออกเสียง รึรือ


คาถาบูชาปู่ตาไฟมีดังนี้
นะโม3จบ
อิติปิโสภะคะวา อะระหังสัมมา สัมพุทธโธวิชชา จะระนะสัมปันโน สุขโตโลกะวิทูร อนุตะโร ปุริสะธัมมะสาระทิ สัตสาเท วะมะนุศสานังพุทโธ ภะคะวาติ 3จบ
เเล้วต่อด้วย
คาถาพ่อปู่ฤษีตาไฟ
นาโคชิริยะ อิติกะถานัง สาระสะนะพุทโธ พระฤษีสิทธิอาคะตะสิทธิโต พะภะคะสติโต มะนะสะสีตะโต สะวาหะฯ 9จบ
นะครับแล้วทำสมาธินึกถึงพ่อปู่ฤษีตาไฟ นึกอะไร อยากได้อะไรก็ขอ



เป็นคาถาที่ผมใช้อยู่เป็นประจำเวลาพยากรณ์ ได้ประสิทธิ์มาจากท่านอาจารย์เจษฎา คำไหล ที่สอนวิชาพยากรณ์เลขเจ็ดตัวให้ผมมา เป็นคาถาที่ใช้บริกรรมภาวนาขณะพยากรณ์โดยเอาบท

พุธธังบังเกิดเปิดโลกะวิทู วิโสธายิ ธัมมังบังเกิดเปิดโลกะวิทู วิโสธายิ สังฆังบังเกิดเปิดโลกะวิทู วิโสธายิ


เป็นบทภาวนานำเพื่อเปิดโลกก่อนหนึ่งจบ จากนั้นจึงบริกรรมบทขอนิมิต คือ พุทธังมานิมิตตัง ธัมมังมานิมิตตัง สังฆังมานิมิตตัง ให้ภาวนาบทนี้ไปเรื่อยๆในระหว่างที่พยากรณ์ แล้วเซ็นส์ของการพยากรณ์จะมาเองครับ ส่วนที่คุณใช้เป็นคำบูชาปู่ฤษีนารอดนั้น


พระนารท หรือ พระนารอด หรือ พระนาระทะ แล้วแต่จะเรียกเป็น1 ใน พระประชาบดี (เทวฤษีที่เป็นพระผู้สร้าง) ๑๐ องค์ คือ เป็นผู้ประดิษฐ์ "วีณา" -- พิณน้ำเต้าพระฤๅษีนารทบำเพ็ญพรตอยู่เชิงเขาโสฬส นอกเมืองลงกา เมื่อคราวหนุมานไปถวายแหวนแก่นางสีดาได้เหาะเลยเมืองลงกาเพราะไม่รู้จักทาง ไปพบกันเข้าจึงเกิดการประลองฤทธิ์กัน แต่หนุมานเกิดพ่ายแพ้ต่อฤทธิ์พระฤๅษีจึงยอมอ่อนน้อม และเมื่อคราวหนุมานไปเผากรุงลงกาไฟที่ติดหางหนุมานจะดับอย่างไรก็ไม่สามารถดับได้ หนุมานจึงไปหาพระฤๅษีนารทให้ช่วยดับไฟให้พระฤาษีนารอด เป็นครูของฤาษีทั้งปวง ทรงกำเนิดจากเศียรที่ ๕ ของพระพรมธาดา ทรงเพศเป็นฤาษี พระฤาษีนารอดถือว่าเป็นฤาษีองค์แรกของไตรภูมิ ไม่ว่าจะมีการบูชาสิ่งใด หากไม่มีการเชิญท่านแล้ว พิธีกรรมนั้นมักไม่สมบูรณ์รูปลักษณ์ของท่านที่สร้างเป็นหัวโขน(ศรีษะครู)สำหรับบูชาเป็นรูปหน้าพระฤาษีหน้าปิดทอง สวมลอมพอกฤาษี มี(กระดาษ)ทำเป็นผ้าพับเป็นชั้นลดหลั่นกันไป เสียบอยู่กลางลอมพอกสิ่งที่เกี่ยวกับพระฤาษีนารอด เพิ่มเติมพระรอดเป็นพระเครื่องราง ที่มีชื่อเสียงโด่งดังไม่แพ้พระสมเด็จฯ และพระนางพญา ได้ถูกขนานนามว่าเป็น " เทวีแห่งนิรันตราย " ทั้งได้แสดงคุณวิเศษทางแคล้วคลาดเป็นที่ประจักษ์มาแล้วมากมาย ตามตำนานกล่าวว่า "พระนารทฤาษี" เป็นผู้สร้างพระพิมพ์นี้ขึ้น จึงเรียกพระพิมพ์นี้ว่า "พระนารท" หรือ "พระนารอด" ครั้นต่อมานานเข้ามีผู้เรียกและผู้เขียนเพี้ยนไปเป็น "พระรอท" และในที่สุด ก็เป็น"พระรอด" อีกทั้งเหมาะกับภาษาไทยที่แปลว่า รอดพ้น จึงนิยมเรียกพระพิมพ์เครื่องรางชนิดนี้ว่า พระรอด เรื่อยมาโดย ไม่มีผู้ใดขัดแย้ง พระรอดพบในอุโมงค์ใต้เจดีย์ใหญ่วัดมหาวัน หรือที่เรียกว่า มหาวนาราม ณ จังหวัดลำพูน ซึ่งปรากฏอยู่ถึงจนปัจจุบันนี้ อนึ่ง วัดมหาวันเป็นวัดโบราณของมอญลานนาในยุคทวาราวดี ขณะที่พระเจ้าเม็งรายยกทัพมาขับไล่พวกมอญออกไปราว พ.ศ.1740 นั้น ก็พบว่าวัดนี้เป็นโบราณสถานอยู่ก่อนแล้ว ฉะนั้นจึงไม่น่ามีปัญหาใดเลยว่า พระรอดนี้ควรมีอายุ เกินกว่าพันปีเป็นแน่ แต่เพิ่งมาพบเมื่อประมาณ 50 ปีมานี่เอง













พระฤษีนารอด ท่านเป็นหมอยาที่มีคาถาอาคมเก่งกล้า ทั้งยังเป็นอาจารย์รดน้ำมนต์ที่เก่งที่สุดอีกด้วยท่านมีบารมีมาก ปวงชนทั่วไปก็มักจะรู้จักพระนามของท่านแทบทั้งนั้น รูปร่างหน้าตาของท่านก็ยังมีหนวดเครายาวลงมาจากคางถึงในระหว่างอกมือถือดอกบัว ตรงด้านหน้ามีบาตรน้ำมนตร์ตั้งอยู่เป็นประจำ เก่งในทางรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ชงัดนักแล ถ้าหากผู้ใดมีความทุกข์ที่เกี่ยวกับการเจ็บไข้ได้ป่วย ก็จงบนบานศาลกล่าวกับท่านดูแล้วท่านก็จะต้องเมตตาเสด็จลงมาปัดเป่ารักษาให้โรคภัยนั้นหายไปในเร็ววันมักจะมีคนพูดกันทั่วไปว่า พระฤษีนารอดเป็นพี่ชายของ พระฤษีนารายณ์แต่บำเพ็ญพรตกันอยู่คนละแห่ง นานๆจึงจะได้พบกันสักครั้งหนึ่ง แต่เรื่องนี้มีความคลาดเคลื่อนอยู่ ที่จริงแล้วผู้ที่เป็นน้องชายของพระฤษีนารอดก็คือ พระฤษีนาเรศร์ มิใช่พระฤษีนารายณ์ ที่ถูกต้องก็คือ พระฤษีนาเรศร์ นี่แหละที่เป็นน้องชายแท้ๆของ พระฤษีนารอด และก็ได้บำเพ็ญตบะอย่างมุ่งมั่นอยู่กันคนละแห่ง สำหรับพระฤษีนาเรศร์นี้ ท่านเก่งในคาถาอาคมศักดิ์สิทธิ์มีเวทมนตร์ขลังเป็นที่สุด ชอบสันโดษบำเพ็ญพรตอยู่แต่ในป่าลึกๆ ไม่ค่อยชอบสมาคมกับใครเท่าใดนัก แม้แต่พี่น้องกันแท้ๆ ยังนานๆได้พบกันที พอพบกันก็จะดีใจถึงกับกอดกันแน่นด้วยความปลื้มปิติยินดีท่านที่กราบไหว้บูชาพระฤษีสององค์พี่น้องก็จะเป็นมงคลอันสูง ท่านก็จะได้แผ่บารมีแห่งความเมตตามายังท่าน มาป้องปัดบำบัดรักษา และคุ้มครองมิให้โรคภัยไข้เจ็บมาเบียดเบียนตลอดกาล....พระฤษีนารอดสวมเทริดฤษี ยอดบายศรีลายหนังเสือ เป็นพระฤษีที่บำเพ็ญพรตอยู่ที่เชิงเขาโสฬสนอกกรุงลงกา เมื่อครั้งหนุมานไปถวายแหวนนางสีดา เหาะเลยกรุงลงกาไปจึงไปพบพระฤษีนารอด(ฤษีนารท) โดยบังเอิญ แล้วต่อสู้กัน หนุมานแพ้จึงยอมอ่อนน้อมให้พระฤษี และเมื่อครั้งหนุมานเผากรุงลงกาไฟที่ติดหางดับไม่ได้ พระฤษีนารอดจึงดับให้....

วันอังคารที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2551

ครูบาน้อย

ครูบาน้อยวัดศรีดอนมูล















เจ้าตำรับเข้านิโรธกรรมคอลัมน์ มองคลข่าวสดครูบาน้อย เตชปญฺโญ หรือ พระครูสิริศีลสังวร เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งวัดศรีดอนมูล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ เชี่ยวชาญวิทยาคมเป็นที่เลื่องลือไปทั่วสารทิศ ได้รับการยกย่องว่าเป็นพระเกจิอาจารย์ระดับแนวหน้าแห่งล้านนาครูบาน้อย บำเพ็ญเพียรตั้งมั่นอยู่ในสมณธรรมอย่างเคร่งครัด มีวัตรปฏิบัติเรียบง่าย ปฏิปทางดงามเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของผู้ได้พบเห็นปัจจุบัน อายุ 56 พรรษา 36 อัตโนประวัติ มีนามเดิมว่า ประสิทธิ์ กองคำ เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2494 แรม 4 ค่ำ เดือน 3 (เหนือ) ปีขาล ที่บ้านศรีดอนมูล ต.ชมภู อ.สารภี จ.เชียงใหม่ โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายคำและนางต๋าคำ กองคำเมื่อแรกเกิด ท่านมีสายรกพันรอบตัว ตามความเชื่อคนโบราณในภาคเหนือ เล่าสืบกันมาว่าจะได้บวชเป็นพระสืบทอดพระพุทธศาสนาเข้าพิธีบรรพชาเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2507 โดยมีพระครูอินทรสธรรม (ครูบาอิ่นแก้ว อินทรโส) วัดกู่เสือ อ.สารภี จ.เชียงใหม่ เป็นพระอุปัชฌาย์ศึกษาตำรายาสมุนไพรและสรรพวิทยาคมต่างๆ จากพระครูพิศิษฏ์สังฆการ พร้อมทั้งศึกษาพระปริยัติธรรม สามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอกเมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ วันที่ 3 พฤษภาคม 2514 เข้าพิธีอุปสมบท ณ พระอุโบสถวัดพญาชมพู โดยมีพระครูพุทธาทิตยวงศ์ (ครูบาอุ่นเรือน อินทรโส) วัดป่าแคโยง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ เป็นพระอุปัชฌาย์ได้ฉายา เตชปญฺโญ แปลว่า ผู้มีปัญญาเป็นเดชครูบาน้อย ศึกษาในพระปริยัติธรรม แผนกบาลี ที่สำนักเรียนวัดพระธาตุหริภุญชัย จ.ลำพูน รวมทั้งได้ฝึกวิปัสสนากัมมัฏฐานจากหลวงพ่อครูบาผัด และครูบาพรหมมา พรัหมจักโก ณ วัดพระพุทธบาทตากผ้า จ.ลำพูนอีกทั้งยังได้ศึกษาวิชาธรณีศาสตร์และพระคาถาต่างๆ จากพระครูจันทสมานคุณ (หลวงปู่หล้า ตาทิพย์) วัดป่าตึง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ด้วยศึกษาอักขระภาษาล้านนา วิทยาคมด้านเมตตามหานิยม ตำรับตำรายาสมุนไพรจากหลวงพ่อพระครูมงคลคุณาธร (ครูบาคำปัน นันทิโย) วัดหม้อคำตวง อ.เมือง เชียงใหม่ครูบาน้อย ย้อนอดีตความหลังว่า ได้ทำการค้นคว้าวัตรปฏิบัติของครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทยอย่างจริงจังจากหนังสือ (ปั๊บสาภาษาล้านนา) ต่างๆ ที่มีอยู่ จึงได้ค้นพบวิธีการเข้านิโรธกรรมของครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทยจึงตั้งสัจจะอธิษฐานที่จะอุทิศชีวิตแลกกับชีวิตของครูบาผัดที่กำลังอาพาธอยู่ ด้วยการถือปฏิบัติการเข้านิโรธกรรม ตามแบบครูบาศรีวิชัยปฏิบัติครั้งแรกในปีพ.ศ.2537 และถือปฏิบัติเป็นประจำทุกปี ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์เหมือนดังปาฏิหาริย์ ช่วงที่ได้ปฏิบัตินิโรธกรรม 2 วัน ปรากฏว่าอาการของครูบาผัด ที่คณะแพทย์บอกให้ทำใจ ได้หายเป็นปลิดทิ้ง จึงได้ปฏิบัติเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันครูบาน้อย ยังเป็นผู้ที่รู้คุณบุพการีและรำลึกถึงผู้มีพระคุณครูบาอาจารย์ที่ได้ประสิทธิ์ประสาทวิชาต่างๆ จึงมักจะอบรมสั่งสอนสานุศิษย์ ให้รู้จักบุญคุณ ทดแทนพระคุณบิดามารดา ครูบาอาจารย์จนได้รับฉายาว่า "นักบุญยอดกตัญญู"ครูบาน้อย เป็นพระเถระที่มุ่งแสวงหาความสงบวิเวก ธุดงค์ไปยังจังหวัดเชียงราย ผ่านทางอำเภอดอยสะเก็ด ไปยังจ.เชียงราย พะเยา และแพร่ วกกลับมาทางจังหวัดลำปางเข้าลำพูนจนถึงวัดศรีดอนมูลครูบาน้อย ตระหนักดีว่า พระสงฆ์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ1.คามวาสี คือ พระที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน หรือในเมือง มีหน้าที่สำคัญในการอบรมสั่งสอนพุทธบริษัทให้กระทำความดี ละเว้นความชั่วและทำจิตใจให้ผ่องใสอยู่เสมอ2.อรัญวาสี คือ พระที่อาศัยอยู่ตามวัดป่า หรือป่า พระประเภทนี้จะใช้เวลาในการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน เพื่อความพ้นจากกิเลสเรื่องเศร้าหมองจากเหตุผลนี้ จึงจัดสร้างสวนป่าปฏิบัติธรรม จำนวน 15 ไร่สวนป่าแห่งนี้ได้ใช้ในการปลูกป่า 3 ประเภท คือ ไม้ที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา, ไม้สมุนไพรไทย, ไม้ในวรรณคดีไทย โดยตั้งใจให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของพุทธศาสนิกชน พระภิกษุ สามเณร ในการปฏิบัติกัมมัฏฐานสำหรับวิธีการนิโรธกรรม ครูบาน้อย กล่าวว่า เป็นการตั้งจิตใจให้มั่นคงจากนั้น ภายใน 3-5-7-9 วัน จะไม่ฉันอาหาร ฉันเพียงแต่น้ำที่อยู่ในบาตร ขังตัวเองอยู่ในกุฏิหรือกระท่อมที่จัดสร้างขึ้นกว้าง 5 วา ยาว 5 วา มีประตูปิดเปิดความหมายการเข้านิโรธกรรม คือ เข้า 3 วัน เปรียบหมายถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เข้า 5 วัน คือ พระเจ้าห้าพระองค์ พระกะกุสันโธ โกนาคะมะโน กัสสะโป โคตะโม อริยเมตเตยโยเข้า 7 วัน คือ พระอภิธรรม 7 คัมภีร์ สังวิทา ปุกะยะปะเข้า 9 วัน คือ พระนวโลกุตรธรรมเจ้าเก้าประการ มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1นิโรธ คือ ความดับทุกข์ ดับตัณหาได้สิ้นเชิง อันหมายถึงพระนิพพาน เป็นคุณสมบัติของพระอริยสงฆ์เจ้าทั้งหลายและเป็นที่ปรารถนาของนักปฏิบัติที่พึงเข้าถึงให้ได้การปฏิบัติ เข้า-ออกนิโรธกรรมประจำปีของครูบาน้อย เป็นแบบเฉพาะที่ผสมผสานกับธุดงควัตร หมายถึง นิโรธกรรมสมมติสงฆ์ ดำเนินตามรอยของท่านครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา อันเป็นกุศโลบายเฉพาะ มุ่งขัดเกลากิเลสให้บางเบาลงไปเป็นครั้งเป็นคราว แตกต่างกับนิโรธสมาบัติของพระอริยเจ้าที่ตัดกิเลสได้นิโรธกรรมสมมติสงฆ์ เป็นการดับอายตนะชั่วคราว เพื่อความสงบแห่งจิตเป็นแนวทางที่ครูบาน้อยยึดถือปฏิบัติ เพื่อเป็นอาจาริยบูชา มาตาปิตุบูชา เป็นเวลา 3-5-7 วัน ตามกำลังที่จะปฏิบัติได้ด้านวัตถุมงคลที่มีชื่อเสียงของครูบาน้อย คือ พระอุปคุต "เพชรล้านนา" ที่ระลึกการอธิษฐานจิตเข้านิโรธกรรม ปี"49 ครูบาน้อยได้สร้างพระอุปคุต "เพชรล้านนา" ประกอบด้วย พระกริ่งอุปคุตเนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้อโลหะผสมและเนื้อผงพุทธคุณ พระบูชาอุปคุตอุ้มบาตรถือลูกประคำบริกรรมภาวนาขนาดความสูง 7 นิ้ว 12 นิ้ว และ 22 นิ้ว เพื่อเป็นที่ระลึกพิธีเข้านิโรธกรรม ประจำปี 2549 และจัดหารายได้สมทบทุนสร้างเจดีย์ 9 คณาจารย์ วัดศรีดอนมูล อ.สารภี จ.เชียงใหม่นอกจากนี้ ยังมีวัตถุมงคลเป็นตะกรุดประสิทธิเวชมหาลาภ 3 กษัตริย์ ตะกรุดกาสะท้อนกะไหล่ทอง ตะกรุดคุ้มภัยประสิทธิ์, พญา-นางพญาไก่ทอง, รูปหล่อองค์เหมือนครูบาน้อย, ยันต์โภคทรัพย์ บารมีครูบาน้อยยันต์ดวงพิชัยมงกุฎพระพุทธเจ้า พระอุปคุตผงว่าน 108 ฝังตะกรุดทองแดง 1 ดอก, ล็อกเกตจัมโบ้รูปครูบาน้อย, ล็อกเกตรูปครูบาน้อย, สร้อยประคำหินหยก 108 ตะกรุดกาสะท้อน และลอยองค์ครูบาน้อย 1 องค์, สร้อยกะลาตะกรุดพระพุทธคุณประจำวันเกิด, พระผงเกศาครูบาศรีวิชัยล่าสุดที่กำลังจะเตรียมการสร้าง คือ จตุคามรามเทพ รุ่นเพชรเศรษฐี มั่งมีทรัพย์ รายได้ทั้งหมดจะนำไปสมทบทุนสร้างเจดีย์ 9 คณาจารย์ ที่ยังสร้างค้างอยู่ให้แล้วเสร็จสำหรับพระพุทธรูปอุปคุต ในวัดศรีดอนมูล ถูกนำมาประดิษฐานไว้ 2 องค์ ในลักษณะนั่งอุ้มบาตร 1 องค์ และพระพุทธรูปอุปคุตแบบยืนส่วนคติธรรมคำสอน ครูบาน้อยเตือนสติศิษยานุศิษย์อยู่เสมอว่า "คิดก่อนทำ ไม่ใช่ทำแล้วคิด คิดก่อนพูด ไม่ใช่พูดแล้วคิด คิดก่อนไป ไม่ใช่ไปแล้วคิด คิดดีเพื่อดี คิดดีสู่ดี ของจริงทำจริง เห็นจริง ของดีทำดี เห็นดี คิดดีเพื่อดี คิดดีสู่ดี คิดชั่ว ทำชั่ว ได้ชั่ว ฉะนั้นให้ถึงพร้อมทานศีลภาวนา นิพพานัง ปรมัง สุขัง"

วันจันทร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2551

ท้าวเวสสุวรรณโณ

ประวัติของท่านท้าวเวสสุวรรณโณ (กุเวร)
ท่านท้าวเวสสุวรรณ ๑ใน ๔ ท้าวจตุโลกบาล โดยมีท้าวธตรฐดูแลพื้นที่อยู่ทางทิศตะวันออก ท้าววิรุฬหกดูแลรักษาพื้นที่อยู่ทางทิศใต้ ท้าววิรูปักข์ดูแลรักษาพื้นที่อยู่ทิศตะวันตก และท้าวเวสสุวรรณรักษาพื้นที่อยู่ทางทิศเหนือ โดยทั้ง ๔ ท่านมีหน้าที่แบ่งกันปกครองทั้งเหล่าคนธรรพ์ กินรี กินนร กุมภัณฑ์ นาค เทวดา และยักษ์ อยู่บนสวรรค์ชั้นจตุมหาราชิกา ในส่วนของท้าวเวสสุวรรณ ท่านจะปกครองเหล่าอสูร และยักษ์ ตลอดจนภูติผีปีศาจทั้งหลาย ตามตำนานกล่าวว่าเริ่มแรก ท่านท้าวเวสสุวรรณปกครองอยู่ เมืองลงกา ต่อมาได้ถูกทศกัณฑ์มายึด และขับไล่ให้ท่านไปอยู่ที่อื่นพร้อมทั้งแย่งบุษบก ( ของวิเศษที่พระพรหมมอบให้ ) ไปครอบครองอีก ท้าวเวสสุวรรณจึงได้มาสร้างเมืองใหม่อยู่บนสวรรค์ชั้นจตุมหาราชิกา โดยท่านมีหน้าที่ดูแล ปกครองเหล่าอสูร ยักษ์ ตลอดจนเหล่าภูติผีปีศาจทั้งหมด และยังเป็นเจ้าบัญชีพระกาฬใหญ่ ท่านท้าวเวสสุวรรณท่านเป็นยักษ์ที่ใจบุญ อีกทั้งยังให้ความเคารพนับถือในองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าเป็นอย่างยิ่ง ในสมัยพุทธกาล กล่าวว่ามีพระภิกษุสงฆ์ สามเณร ที่ออกเดินธุดงค์ไปตามป่าเขาลำเนาไพร เพื่อแสวงหาโมกขธรรม มีพระภิกษุสงฆ์บางรูปที่ยังไม่ได้สำเร็จอภิญญา มักจะโดนบรรดาภูติผีปีศาจ หลอกหลอนไม่เป็นอันได้ปฏิบัติกิจของสงฆ์ คือการเจริญสมาธิกรรมฐาน เพื่อชำระจิตใจให้สงบได้อย่างเต็มที่ ท่านท้าวเวสสุวรรณ ได้เสด็จลงมาจากเทวโลก เพื่อมากราบนมัสการ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า พร้อมทั้งถวายมนต์ “ภาณยักษ์” ให้ไว้ เพื่อเป็นมนต์ป้องกันเวลาพระภิกษุ สามเณร ที่ออกเดินธุดงค์ตามป่าเขา ถูกบรรดา ภูติผี ปีศาจ ยักษ์ เทวดา ที่เป็นมัจฉาทิฐิ หลอกหลอน ซึ่งมนต์ “ภาณยักษ์” บทนี้ยังนำมาใช้สวดกันอยู่จนถึงปัจจุบันนี้ โดยการสวดมนต์ “ภาณยักษ์” บทนี้มักจะทำเป็นพิธีการยิ่งใหญ่ ทุกวัดมักจะจัดให้มีการสวด “ภาณยักษ์” นี้ขึ้น เชื่อกันว่าใครที่ถูกคุณ ถูกของ หรือโดนผีเข้า เจ้าสิง เมื่อเข้าไปในบริเวณพิธีสวด “ภาณยักษ์” สิ่งอัปมงคลต่างๆ ที่มีอยู่ในตัวก็จะหมดไปด้วย มนต์ภาณยักษ์ อันวิเศษบทนี้ และนอกจากนี้ ท้าวเวสสุวรรณ ยังเป็นเทพเจ้าแห่งความร่ำรวย สัญญลักษณ์แห่งมหาเศรษฐี ในหนังสือเทวกำเนิดของพระยาสัจจาภิรมย์ ระบุชื่อท้าวเวสสุวรรณ ล้วนมุ่งหมายทางมหาเศรษฐีมั่งมีทรัพย์ อาทิ ท้าวรัตนครรถ (ผู้มีเพชรเต็มพุง) ท้าวกุเวรธนบดี (ผู้เป็นใหญ่ในทรัพย์) ท้าวธเนศวร (เจ้าทรัพย์) องค์อิฉาวสุ (ผู้มั่งมีได้ตามใจ) ท้าวเวสสุวรรณ (ยิ่งด้วยทอง) แม้แต่ชาวจีนก็ยกย่ององค์ท้าวเวสสุวรรณว่า เป็นเทพเจ้าแห่งโชคลาภและความร่ำรวยในนาม “องค์ไฉ่ซิงเอี้ย” ซึ่งมีบูชากันทุกบ้านร่ำรวยทุกคน ขับไล่ภูติผีปีศาจ วิญญาณร้าย แก้เสนียดจัญไร อัปมงคลคุณไสยต่างๆ หากท่านผู้ใดบูชาท่านท้าวเวสสุวรรณ ด้วยความเคารพศรัทธา จงเชื่อได้เลยว่าท่านจะประสบแต่ความโชคดี มีทรัพย์ ตลอดจนพ้นภัยจากบรรดาภูติผีปีศาจทั้งหลาย













คาถาบูชาท่านท้าวเวสสุวรรณโณ

** จุดธูป ๙ ดอก และดอกกุหลาบแดง ๙ ดอก ตั้งนะโม ๓ จบ ระลึกถึงคุณ พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์ บิดา มารดา ครูบา อาจารย์ **

+++++++++++++++++++++

ปุตตะ กาโม ละเภปุตตัง ธะนะกาโมละ เภธะนัง อัตถิกาเย กายะ
ยายะ เทวานังปิยะตัง สุตวา อิติปิโส ภะคะวา ยมมะราชาโน ท้าวเวสสุวรรณโณ มรนังสุขัง
อะหังสุคะโต นะโม พุทธายะ ท้าวเวสสุวรรณโณ จตุมหาราชาชิกา ยักขะพันตาภัทภูริโต
เวสสะ พุสะ พุทธัง อรหัง พุทโธ ท้าวเวสสุวรรณโณ นะโม พุทธายะ

วันศุกร์ที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2551

น่าเสียดาย

น่าเสียดาย >> ท่าน ว.วชิรเมธี
























น่าเสียดาย ที่เรามีพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ
แต่เรากลับศรัทธาไสยศาสตร์หัวปักหัวปำ
น่าเสียดาย ที่เรามีพระมหากษัตริย์ที่แสนดี
แต่เรากลับมีคนโกงกินเต็มบ้านเต็มเมือง
น่าเสียดาย ที่เรามีวัดอยู่เกือบทุกหมู่บ้าน/ตำบล
แต่เรากลับมากด้วยคนขาดจริยธรรมอยู่ทั่วไป
น่าเสียดาย ที่เราสถาปนาประชาธิปไตยตั้งแต่ พ.ศ. 2475
แต่เรากลับมีปฏิวัติ/รัฐประหารมาแล้ว 14 ครั้ง
น่าเสียดาย ที่เรามีมหาวิทยาลัยมากมายติดอันดับโลก
แต่เรากลับโชคร้ายที่คนไทยชอบดูดวงบวงสรวงเทพยดา
น่าเสียดาย ที่เรามีป่าไม้-แม่น้ำ-ธรรมชาติอุดมสมบูรณ์
แต่เรากลับเทิดทูนการทำลายแทนการรักษา
น่าเสียดาย ที่เรามีศิลปวัฒนธรรมเป็นของตนเอง
แต่เรากลับเก่ง “การลอกเลียนแบบ” เป็นที่สุด
น่าเสียดาย ที่เรามีสื่อมวลชนมากมายไร้พรมแดน
แต่เจ็บปวดเหลือแสนเมื่อสื่อมวลชนมุ่งแต่การขายสินค้า
น่าเสียดาย ที่เรามีกฎหมาย
แต่เรากลับปล่อยให้มีการใช้กฎหมู่จนเป็นเรื่องธรรมดา
น่าเสียดาย ที่เรามีหนังสือมากมายหลายพันเล่มในห้องสมุด
แต่สถิติสูงสุดคือเราอ่านหนังสือกันปีละ 8 บรรทัด
น่าเสียดาย ที่เรามีอินเตอร์เน็ตใช้ก่อนประเทศในโลกที่สาม
แต่เรากลับเสื่อมทรามเพราะใช้ส่งภาพถ่ายคลิปโป๊
น่าเสียดาย ที่เรามีโทรทัศน์หลายสิบช่อง
แต่เรากลับจ้องจะดูแต่ละครน้ำเน่า
น่าเสียดาย ที่เรามีพ่อแม่อยู่ในบ้าน
แต่เรากลับปล่อยให้ท่านอยู่อย่างเปลี่ยวเหงา
น่าเสียดาย ที่เราสามารถกลับตัวเป็นคนดีได้
แต่เรากลับชอบใจที่จะเป็นคนเลวตลอดกาล
น่าเสียดาย ที่เราเป็นอิสระจากความอยากได้
แต่เรากลับพึงใจอยู่กับการสนองความอยาก
น่าเสียดาย ที่เราบรรลุนิพพานได้ในชาตินี้
แต่เรากลับยินดีอยู่แค่การทำบุญให้ทาน


ที่มา.... หนังสือ.. ธรรมะน้ำเอก

วันพฤหัสบดีที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2551

พระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้า 28 พระองค์
(นะโมฯ 3 จบ)
“ นะโม เม สัพพะพุทธานัง อุปปันนานัง มะเหสินัง
ตัณหังกะโร มะหาวีโร เมธังกะโร มะหายะโส
สะระณังกะโร โลกะหิโต ทีปังกะโร ชุตินธะโร
โกณฑัญโญ ชะนะปาโมกโข มังคะโล ปุริสาสะโภ
สุมะโน สุมะโน ธีโร เรวะโต ระติวัฑฒะโน
โสภิโต คุณะสัมปันโน อะโนมะทัสสี ชะนุตตะโม
ปะทุโม โลกะปัชโชโต นาระโท วาระสาระถี
ปะทุมมุตตะโร สัตตะสาโร สุเมโธ อัปปะฏิบุคคะโล
สุชาโต สัพพะโลกัคโค ปิยะทัสสี นะราสะโภ
อัตถะทัสสี การุณิโก ธัมมะทัสสี ตะโมนุโท
สิทธัตโถ อะสะโม โลเก ติสโส จะ วะทะตัง วะโร
ปุสโส จะ วะระโท พุทโธ วิปัสสี จะ อะนูปะโม
สิขี สัพพะหิโต สัตถา เวสสะภู สุขะทายะโก
กะกุสันโธ สัตถะวาโห โกนาคะมะโน ระณัญชะโห
กัสสะโป สิริสัมปันโน โคตะโม สักยะปุงคะโว”


*ที่ขีดเส้นได้คือกล่าวถึงพระนามพระพุทธเจ้า
บทสวดบูชาคุณองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 28 พระองค์
อานิสงส์ เหนือจะกล่าว นมัสการนำจิตอธิษฐานบารมีพุทธคุณ
นำความสุขความเจริญในทุกด้านของชีวิต…มุ่งจิตตามรอยธรรม

๑.. พระพุทธเจ้าตัณหังกร - ผู้กล้าหาญ
๒. พระพุทธเจ้าเมธังกร - ยศใหญ่
๓. พระพุทธเจ้าสรณังกร - ผู้เกื้อกูลแก่โลก
๔. พระพุทธเจ้าทีปังกร - ผู้ทรงไว้ซึ่งปัญญาอันรุ่งเรือง
๕. พระพุทธเจ้าโกณฑัญญะ - ผู้เป็นประมุขแห่งหมู่ชน
๖. พระพุทธเจ้าสุมังคละ - ผู้เป็นบุรุษประเสริฐ
๗. พระพุทธเจ้าสมุนะ - ผู้เป็นธรีบุรุษมีพระหทัยงาม
๘. พระพุทธเจ้าเรวัต - ผู้เพิ่มพูนความยินดี
๙. พระพุทธเจ้าโสภิตะ - ผู้สมบูรณ์ด้วยพระคุณ
๑๐. พระพุทธเจ้าอโนมัทสส - ผู้อุดมอยู่ในหมู่ชน
๑๑. พระพุทธเจ้าปทุมะ - ผู้ทำให้โลกสว่าง
๑๒. พระพุทธเจ้านารทะ - ผู้เป็นสารถีประเสริฐ
๑๓. พระพุทธเจ้าปทุมุตตระ - ผู้เป็นที่พึ่งแก่หมู่สัตว์
๑๔. พระพุทธเจ้าสุเมธะ - ผู้หาบุคคลเปรียบมิได้
๑๕. พระพุทธเจ้าสุชาติ - ผู้เลิศกว่าสัตว์โลกทั้งปวง
๑๖. พระพุทธเจ้าปิยทัสสี - ผู้ประเสริฐกว่าหมู่นรชน
๑๗. พระพุทธเจ้าอัตถทัสสี - ผู้มีพระกรุณา
๑๘. พระพุทธเจ้าธัมมทัสสี - ผู้บรรเท่ามืด
๑๙. พระพุทธเจ้าสิทธัตถะ - ผู้หาบุคคลเสมอมิได้ในโลก
๒๐. พระพุทธเจ้าติสสะ - ผู้ประเสริฐกว่านักปราชญ์ทั้งหลาย
๒๑. พระพุทธเจ้าปุสสะ - ผู้ประทานธรรมอันประเสริฐ
๒๒. พระพุทธเจ้าวิปัสสี - ผู้หาที่เปรียบมิได้
๒๓. พระพุทธเจ้าสิขี - ผู้เป็นศาสดาเกื้อกูลแก่สรรพสัตว์
๒๔. พระพุทธเจ้าเวสสภู - ผู้ประทานความสุข
๒๕. พระพุทธเจ้ากกุสันธะ - ผู้นำสัตว์ออกจากกันดาร คือ กิเลส
๒๖. พระพุทธเจ้าโกนาคมนะ - ผู้หักเสียซึ่งข้าศึก คือ กิเลส
๒๗. พระพุทธเจ้ากัสสปะ - ผู้สมบูรณ์ด้วยสิริ
๒๘. พระพุทธเจ้าโคตมะ (พระสมณะโคดม) - ผู้ประเสริฐ
แห่งหมู่ศากยราช

1. องค์สมเด็จพระพุทธตัณหังกร - ผู้กล้าหาญ
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้านันทราช
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสุนันทราชาเทวี
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ได้ 10,000 ปี
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 7 วัน
พระวรกายสูง 18 ศอก
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 20,000 ปี
2. องค์สมเด็จพระพุทธเมธังกร – ผู้มียศใหญ่
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า เทโว
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนาง ยะสุนทราชาเทวี
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ได้ 80,000 ปี
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 15 วัน
พระวรกายสูง 18 ศอก
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี
3. องค์สมเด็จพระพุทธสรณังกร – ผู้เกื้อกูลแก่โลก
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า สุมาเลราชา
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนาง ยสะเทวี
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ได้ 10,000 ปี
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 2 เดือน กับ 20 วัน
พระวรกายสูง 18 ศอก
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 60,000 ปี
4. องค์สมเด็จพระพุทธทีปังกร – ผู้ทรงไว้ซึ่งปัญญาอันรุ่งเรือง
สถานที่ประสูติ กรุงรัมมวดีมหานคร
ประสูติเมื่อ วันเพ็ญ เดือน 8 อาสาฬหนักขัตฤกษ์
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า นรเทวราช(พระเจ้าสุเทพ)
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางเจ้า สุเมธา
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง ปทุมาราชเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระอสุภขันธกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ เมื่อพระชนมายุ 10,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ช้างพระที่นั่ง
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 9 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ต้นปิปผลิ
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 10 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระสุมังคลเถร และพระติสสเถร
พระอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระสาคตเถร
พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระนันทาเถรี และพระสุนันทาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า ตปุสสะ และภัลลิกะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฎฐายิกา ชื่อว่า นางสิริมา และนางโสณา มหาอุบาสิกา
มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 400,000 องค์
พระวรกายสูง 80 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 10 โยชน์
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 100,000 ปี
อายุพระศาสนา 100,000 ปี
5. องค์สมเด็จพระพุทธพระโกณฑัญญะ – ผู้เป็นประมุขแห่งหมู่ชน
สถานที่ประสูติ กรุงรัมมวดีมหานคร
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า สุนันทราช
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนาง สุชาดาราชเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง รุจิราชเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระวิชิตเสนกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ เมื่อพระชนมายุได้ 10,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา รถพระที่นั่งเทียมม้าอาชาไนยคู่
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งในวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 58 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ต้นพญารัง
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 10 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระภัททเถร และพระสุภัททเถร
พระอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระอนุรุทธเถร
พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระติสสาเถรี และพระอุปัสสนาเถรี
มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน แสนโกฏิ องค์
พระวรกายสูง 18 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลหาประมาณมิได้
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 200,000 ปี
อายุพระศาสนา 100,000 ปี
6. องค์สมเด็จพระพุทธพระสุมังคละ – ผู้เป็นบุรุษประเสริฐ
สถานที่ประสูติ อุตตรนคร
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า อุตตรมหาราช
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางอุตตรราชเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง ยสาวดี
พระราชโอรส พระนามว่า พระสีวระราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ เมื่อพระชนมายุ 70,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ม้าพระที่นั่ง
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งในวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 57 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ต้นนาคพฤกษ์(กากะทิง)
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระเทวเถร และพระธรรมเสนเถร
พระอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระปาลิตเถร
พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระสีวราเถรี และพระอโสกาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า นันทะ และวิสาขะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า อนุฬา และสุมนา มหาอุบาสิกา
พระวรกายสูง 80 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 10,000 จักรวาล
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี
7. องค์สมเด็จพระพุทธสุมนะ – ผู้เป็นธีรบุรุษมีพระหทัยงาม
สถานที่ประสูติ เมขละนคร
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า สุทัตตมหาราชา
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางเจ้า สิริมา
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง ฏังสกี
พระราชโอรส พระนามว่า พระอนุปมราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ อยู่นาน 9,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ช้างพระที่นั่ง
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งในวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 60 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ต้นนาคพฤกษ์(กากะทิง)
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 10 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระสรณเถร และพระภาวิตัตตเถร
พระอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระอุเทนเถร
พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระโสณาเถรี และพระอุปโสณาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า วรุณะ และสรณะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า จารา และอุปจารา มหาอุบาสิกา
พระวรกายสูง 90 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลหาประมาณมิได้
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี
อายุพระศาสนา 90,000 ปี

8. องค์สมเด็จพระพุทธเรวตะ – ผู้เพิ่มพูนความยินดี
สถานที่ประสูติ สุธัญญวดีนคร
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าวิปุลราชา
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางวิปุลาราชเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง สุทัสนา
พระราชโอรส พระนามว่า พระวรุณราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสอยู่ 6,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา รถพระที่นั่งเทียบม้าอาชาไนย
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งในวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 53 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า นาคพฤกษ์
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 7 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระวรุณเถร และพรหมเทวะเถร
พระอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระสัมภวะเถร
พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระภัททราเถรี และพระสุภัททราเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า วรุณ และสรภะมหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า ปาลา และอุปปาลา มหาอุบาสิกา
พระวรกายสูง 80 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 1 โยชน์
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 60,000 ปี

9. องค์สมเด็จพระพุทธโสภิตะ – ผู้สมบูรณ์ด้วยพระคุณ
สถานที่ประสูติ สุธรรมนคร
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าสุธรรมราช
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนาง สุธรรมาเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง มจิลาราชเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระสีหราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสอยู่ 9,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ปราสาทที่ลอยไปในอากาศ
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 38 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า นาคพฤกษ์ (ไม้กากะทิง)
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 7 วัน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระอสมเถร และ สุเมธเถร
พระอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระอโนมเถร
พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระนกุฬาเถรี และพระสุชาตาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า นายรัมมะ และ นายสุเนตตะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางนกุฬา และนางสุชาตา มหาอุบาสิกา
พระวรกายสูง 58 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลหาประมาณมิได้
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี

10. องค์สมเด็จพระอโนมทัสสีพุทธเจ้า – ผู้อุดมสูงสุดในหมู่ชน

สถานที่ประสูติ จันทวดีนคร
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า ยศวราช
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางยโสธรา
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง สิริมา
พระราชโอรส พระนามว่า พระอุปสารราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ได้ เมื่อพระชนมายุ 10,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา สีวิกากาญจนมาศ (วอทอง)
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 38 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ต้นอชุนะ (ไม้รกฟ้า)
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 10 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระนิสภเถร และอโนมเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระวรุณเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระสุนทราเถรี และพระสุมนาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า นายนันทิวัฒนะ และสิริวัฑฒะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางอุปรา และนางปทุมา มหาอุบาสิกา
พระวรกายสูง 58 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 80 ศอก
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 100,000 ปี

11.องค์สมเด็จพระพุทธปทุมะ – ผู้ทำให้โลกสว่าง
สถานที่ประสูติ จัมปานคร
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า อสมราช
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางอสมาราชเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง อุตตราเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระรัมมราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาส อยู่ 10,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา รถพระที่นั่งเทียมม้าอาชาไนย
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งในวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 38 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า มหาโสณพฤกษ์
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระสาลเถร และพระอุปสาลเถร
พระอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระวรุณเถร
พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระราธาเถรี และพระสุราธาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า นายสภิยะ และนายอสมะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางรุจิ และนางนันทิมาลา มหาอุบาสิกา
พระวรกายสูง 58 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลหาประมาณมิได้
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 100,000 ปี

12. องค์สมเด็จพระพุทธนารทะ – ผู้เป็นสารถีประเสริฐ
สถานที่ประสูติ ธัญญวดีมหานคร
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า สุเมธราชา
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางอโนมาเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง วิชิตเสนาเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระยันทุตรราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ได้ 9,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ทรงดำเนินไปด้วยพระองค์เอง
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 57 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า มหาโสณพฤกษ์
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 7 วัน ตรง
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระภัททสาลเถร และพระพิชิตมิตตเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระวาเสฏฐเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระอุตตราเถรี และพระผักขุนีเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า อุตรินท์ และวสะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางอินทอรี และนางคัณฑี มหาอุบาสิกา
มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 100,000 องค์
พระวรกายสูง 88 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 1 โยชน์
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี
อายุพระศาสนา 1 อสงไขย
13. องค์สมเด็จพระพุทธปทุมุตระ – ผู้เป็นที่พึ่งของหมู่สัตว์
สถานที่ประสูติ หงสวดีนคร
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า อานันทมหาราช
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสุชาดาราชเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง สุละทัคคเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระอุตตรราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสอยู่ 90,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ปราสาทที่ลอยไปในอากาศ
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 38 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ต้นสาละ หรือต้นรัง
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 7 วัน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระเทวลเถร และพระสุชาตเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระสุมนเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระอมิตตาเถรี และพระอสมาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า อมิตตะ และติสสะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางหัตถา และนางสุจิตตา มหาอุบาสิกา
พระวรกายสูง 58 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 12 โยชน์
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 100,000 ปี
อายุพระศาสนา 30,000 กัลป์
14. องค์สมเด็จพระพุทธสุเมธะ – ผู้หาบุคคลเปรียบมิได้
สถานที่ประสูติ สุทัสสนนคร
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า สุทัสสนมหาราช
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสุทัตตาราชเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง สุมนาเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระปุนัพพราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ได้ 9,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ช้างพระที่นั่ง
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 20 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้มหานิมพะ (ไม้สะเดา)
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระสุมนเถร และพระสัพพกามเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระสาครเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระรามาเถรี และพระสุรมาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า อุรุเวฬ และยสวา มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางยสา และนางสิริมา มหาอุบาสิกา
พระวรกายสูง 88 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 1 โยชน์
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี
15. องค์สมเด็จพระพุทธสุชาตะ - ผู้เลิศกว่าสัตว์โลกทั้งปวง
สถานที่ประสูติ สุมังคลนคร
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าอุคคตราช
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางปภาวดีราชเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางสิรินันทาเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระอุปเสนราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ เมื่อพระชนมายุ 9,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ม้าพระที่นั่ง ชื่อ หังสวาสภราชา
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 33 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้มหาเวฬุ (ไม้ไผ่ใหญ่)
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 9 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระสุสุทัสสนเถร และพระสุเทวเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระนารทเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระนาคาเถรี และพระนาคสมาราเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า สุทัตต และจิตต มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางสุภัททา และนางปทุมา มหาอุบาสิกา
พระวรกายสูง 50 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลกาประมาณมิได้
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี

16. องค์สมเด็จพระพุทธปิยทัสสี – ผู้ประเสริฐกว่าหมู่นรชน
สถานที่ประสูติ สุธัญญราชธานี
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าสุทัตตราช
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางจันทราราชเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางวิมาลาเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระกัญจนเวฬกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ เมื่อพระชนมายุ 9,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา รถพระที่นั่ง
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 53 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้กุ่ม
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 6 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระปาลิตเถร และพระสัพพทัสสีเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระโสภิตเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระสุชาดาเถรี และพระธัมมทินนาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า สันตกะ และธัมมิก มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางวิสาขา และนางธัมมทินนา มหาอุบาสิกา
พระวรกายสูง 80 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลหาประมาณมิได้
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี

17. องค์สมเด็จพระพุทธอัตถทัสสี – ผู้มีพระกรุณา
สถานที่ประสูติ สุจิรัตถราชอุทยานแห่งสาครราชธานี
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าสาครราช
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสุทัสสนาราชเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางวิสาขาราชเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระเสลราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสได้ 10,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ม้าพระที่นั่ง
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 53 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้จำปา
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระสันตเถร และพระอุปสันตเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระอภัยเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระธรรมาเถรี และพระสุธรรมาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า นกุละ และนิสภะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางมจิลา และนางสุนันทา มหาอุบาสิกา
มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 9 โกฏิ
พระวรกายสูง 80 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 100 โยชน์
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 100,000 ปี

18. องค์สมเด็จพระพุทธธรรมทัสสี – ผู้บรรเทามืด
สถานที่ประสูติ สรณราชอุทยานแห่งสรณราชธานี
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าสรณราชา
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสุนันทาราชเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางวิจิโกลี
พระราชโอรส พระนามว่า พระวัฒนราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสได้ 8,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ปราสาทที่ลอยไปในอากาศ
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 50 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้ไทรย้อย
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 วัน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระปทุมเถร และปุสสเทวเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระสุเนตตเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระเขมาเถรี และพระสัจจนามาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า สุภัททะ และกฏิสหะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางสาฬสา และนางกฬิสสา มหาอุบาสิกา
พระวรกายสูง 80 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 10,000 โยชน์
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 100,000 ปี

19. องค์สมเด็จพระพุทธสิทธัตถะ – ผู้หาบุคคลเสมอมิได้ในโลก
สถานที่ประสูติ เวภารนคร
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าอุเทน
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสุผัสสาเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางสุมนาราชเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระอนุปนราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสได้ 10,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา สีวิกากาญจมาศ (วอทอง)
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 40 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ต้นกรรณิการ์
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 10 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระสัมพลเถร และพระสุมิตตเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระเรวตเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระสิวลาเถรี และพระสุรามาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า สุปิยะ และสัมพุทธะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางรัมมา และนางสุรัมมา มหาอุบาสิกา
มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 100,000 โกฏิ
พระวรกายสูง 60 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 10,000 โยชน์
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 100,000 ปี
20. องค์สมเด็จพระพุทธติสสะ – ผู้ประเสริฐกว่านักปราชญ์ทั้งหลาย
สถานที่ประสูติ อโนมราชอุทยานแห่งเขมราชธานี
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าชนสันธราช
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางปทุมาเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางสุภัทราเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระอานนทราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสได้ 8,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ม้าพระที่นั่ง
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 40 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้อาสนะ (ต้นประดู่)
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 15 วัน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระพรหมเทพเถร และพระอุทัยเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระสัมภวเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระปุสสาเถรี และพระสุทัตตาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า สัมภระ และสิริ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางกีสาโคตมี และนางอุปเสนา มหาอุบาสิกา
มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 100,000 องค์
พระวรกายสูง 60 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลหาประมาณมิได้
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 100,000 ปี
21. องค์สมเด็จพระพุทธปุสสะ – ผู้ประทานธรรมอันประเสริฐ
สถานที่ประสูติ กาสีราชธานี
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าชัยเสน
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสิริมาราชเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางกีสาโคตมีราชเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระอานนทราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสได้ 9,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ช้างพระที่นั่ง
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 38 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้มลกะ (ไม้มะขามป้อม)
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 7 วัน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระสุรักขิตเถร และพระธัมมเสนเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระโสภิยเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระจาลาเถรี และพระอุปจาลาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า นายธนัญชัย และนายวิสาข มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางปทุมา และนางสิรินาคา มหาอุบาสิกา
มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 400,000 องค์
พระวรกายสูง 58 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลหาประมาณมิได้
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี
อายุพระศาสนา 91 กัลป์
22. องค์สมเด็จพระพุทธวิปัสสี – ผู้หาที่เปรียบมิได้
สถานที่ประสูติ พันธุมดีราชธานี
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าพันธุมหาราชา
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางพันธุมดีราชเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางสุทัสสนาราชเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระสมวัตตขันธราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสได้ 8,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา รถพระที่นั่ง
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 50 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้แคฝอย
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระขันธเถร และพระติสสเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระอโสกเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระจันทราเถรี และพระจันทมิตตาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า ปุณณสุมิตต และนาคะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางสิริมา และนางอุตตรา มหาอุบาสิกา
มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 84,000 องค์
พระวรกายสูง 80 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 7 โยชน์
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 80,000 ปี
อายุพระศาสนา 49 กัลป์

23. องค์สมเด็จพระพุทธสิขี – ผู้เป็นศาสดาเกื้อกูลแก่สัตว์
สถานที่ประสูติ มิสกราชอุทยานแห่งอรุณวดีนคร
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าอรุณราชา
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางปภาวดีราชเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางสัพพกามาเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระอตุลราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสได้ 7,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ช้างพระที่นั่ง
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 24 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ต้นปุณฑริกะ (ไม้ซึก) คล้ายกับไม้ปาตลี
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระอภิภูเถร และพระสัมภวเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระเขมังกรเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระเขมาเถรี และพระประทุมเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า สิริวัฒนะ และนันทะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางจิตรา และนางสุจิตรา มหาอุบาสิกา
มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 70,000 องค์
พระวรกายสูง 70 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 3 โยชน์
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 70,000 ปี
24. องค์สมเด็จพระพุทธเวสสภู – ผู้ประทานความสุข
สถานที่ประสูติ อโนมนคร
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าสุปตีตราชา
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางยสวดีราชเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางสุจิตราเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระสุปปพุทธราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ เมื่อพระชนมายุ 6,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา สีวิกากาญจนมาศ (วอทอง)
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 40 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้รัง
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 6 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระโสณเถร และพระอุตตรเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระอุปสันตเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระรามาเถรี และพระสุมาลาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า โสตถิกะ และรัมมะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางโคตมี และนางสิริมา มหาอุบาสิกา
มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 40,000 องค์
พระวรกายสูง 60 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลประมาณมิได้
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 60,000 ปี
อายุพระศาสนา 70,000 ปี

25. องค์สมเด็จพระพุทธกุกกุสันธะ – ผู้นำสัตว์ออกจากกันดาร คือ กิเลส
สถานที่ประสูติ เขมวันราชอุทยานแห่งเขมนคร
ประสูติในตระกูล พราหมณ์
พระพุทธบิดา พระนามว่า อัคคิทัตตพราหมณ์
พระพุทธมารดา พระนามว่า วิสาขาพราหมณี
พระอัครมเหสี พระนามว่า โสภิณีพราหมณี
พระราชโอรส พระนามว่า อุตตรกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสอยู่ 4,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา รถเทียมม้าอาชาไนย
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 80 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้ซึกใหญ่
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระวิธูรเถร และพระสัญชีวเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระพุทธิยะเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระสามาเถรี และพระจัมปนามาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า อัจจุคาตะ และสุมนะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางนันทา และนางสุนันทา มหาอุบาสิกา
มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 40,000 องค์
พระวรกายสูง 40 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 11 โยชน์
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 40,000 ปี

26. องค์สมเด็จพระพุทธโกนาคมนะ – ผู้หักเสียซึ่งข้าศึก คือ กิเลส
สถานที่ประสูติ โสภวดีราชอุทยานแห่งโสภวดีนคร
ประสูติในตระกูล พราหมณ์
พระพุทธบิดา พระนามว่า ยัญญทัตตพราหมณ์
พระพุทธมารดา พระนามว่า อุตตราพราหมณี
พระอัครมเหสี พระนามว่า รุจิคัตตาพราหมณี
พระราชโอรส พระนามว่า สัททวาหกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสอยู่ได้ 3,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ช้างพระที่นั่ง
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 20 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้อุทุมพร (ไม้มะเดื่อ)
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 6 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระภิโยสเถร และพระอุตตรเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระโสทิชเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระสมุทาเถรี และพระอุตตราเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า อุคคะ และโสมเทว มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางวรา และนางสามา มหาอุบาสิกา
มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 30,000 องค์
พระวรกายสูง 30 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลประมาณมิได้
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 30,000 ปี
27. องค์สมเด็จพระพุทธกัสสปะ – ผู้สมบูรณ์ด้วยสิริ
สถานที่ประสูติ อิสิปตนมิคทายวันแห่งนครพาราณสี
ประสูติในตระกูล พราหมณ์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พรหมทัตตพราหมณ์
พระพุทธมารดา พระนามว่า ธนวดีพราหมณี
พระอัครมเหสี พระนามว่า สุนันทาพราหมณี
พระราชโอรส พระนามว่า วิชิตเสนกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสอยู่ได้ 2,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ปราสาทที่ลอยไปในอากาศ
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 15 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้นิโครธ
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 7 วัน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระติสสเถร และพระภารทวาชเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระสัพพมิตตเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระอนุฬาเถรี และพระอุรุเวลาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า สุมังคละ และฆฏิการะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางวิชิตเสนา และนางภัตรา มหาอุบาสิกา
มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 1 โกฏิ
พระวรกายสูง 20 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลหาประมาณมิได้
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 20,000 ปี
28. องค์สมเด็จพระพุทธโคตมะ – ผู้ประเสริฐแห่งหมู่ศากยราช
สถานที่ประสูติ กรุงกบิลพัสดุ์
ประสูติเมื่อ วันเพ็ญ เดือน 6
ประสูติในตระกูล กษัตริย์ แห่งศากยวงศ์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าสุทโธทน
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสิริมหามายา
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางยโสธรา
พระราชโอรส พระนามว่า พระราหุลราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสอยู่ได้ 29 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ม้าอัศวราช
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 14 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้อัสสัตถะ (ไม้ปาเป้ง)
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 6 ปี
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระติสสเถร และพระโกลิตเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระอานนทเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระเขมาเถรี และพระอุบลวัณณาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า จิตตะ และหัตถอาฬวก มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางนันทมาตา และนางอุตตรา
มหาอุบาสิกา พระวรกายสูง 16 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 1 วา
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 80 ปี
อายุพระศาสนา 5,000 ปี


ไม้ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า 28พระองค์

สืบค้นข้อมมูลมาเพื่อรับทราบไว้พิจารณา นะครับ
เพื่อประโยชน์ในกาลข้างหน้า และเพื่อการเทียบเคียง
และเพื่อระลึกถึงพระพุทธคุณ ในอดีตกาล

ที่
ชื่อต้นไม้
1พระตัณหังกรพุทธเจ้า (ผู้กล้าหาญ)ต้นตีนเป็ดขาว (ต้นสัตตบรรณ)
2พระเมธังกรพุทธเจ้า (ผู้มียศใหญ่)ต้นทองกวาว (ต้นกิงสุกะ)
3พระสรณังกรพุทธเจ้า (ผู้เกื้อกูลแก่ชาวโลก) ต้นแคฝอย (ต้นปาตลี)
4พระทีปังกรพุทธเจ้า (ผู้ทรงไว้ซึ่งปัญญาอันรุ่งเรือง)ต้นเลียบ (ต้นปิปผลิ)
5พระโกณฑัญญพุทธเจ้า (ผู้เป็นประมุขแห่งหมู่ชน) ต้นสาละใหญ่ (ต้นมหาสาละ)
6พระมังคลพุทธเจ้า (ผู้เป็นบุรุษประเสริฐ) ต้นกากะทิง (ต้นนาคะ)
7พระสุมนพุทธเจ้า (ผู้เป็นวีรบุรุษมีพระหฤทัยงาม)ต้นกากะทิง (ต้นนาคะ)
8พระเรวตพุทธเจ้า (ผู้เพิ่มพูนความยินดี)ต้นกากะทิง (ต้นนาคะ)
9พระโสภิตพุทธเจ้า (ผู้สมบูรณ์ด้วยพระคุณ)ต้นกากะทิง (ต้นนาคะ)
10พระอโนมทัสสีพุทธเจ้า (ผู้สูงสุดในหมู่ชน)ต้นกุ่ม (ต้นกักกุธะ)
11พระปทุมพุทธเจ้า (ผู้ทำให้โลกสว่าง)ต้นอ้อยช้างใหญ่ (ต้นมหาโสณกะ)
12พระนารทพุทธเจ้า (ผู้เป็นสารภีประเสริฐ) ต้นอ้อยช้างใหญ่ (ต้นมหาโสณกะ)
13พระปทุมุตรพุทธเจ้า (ผู้เป็นที่พึ่งของหมู่สัตว์)ต้นสน (ต้นสลฬะ)
14พระสุเมธพุทธเจ้า (ผู้หาบุคคลเปรียบมิได้)ต้นสะเดา (ต้นนิมพะ)
15พระสุชาตพุทธเจ้า (ผู้เลิศกว่าสัตว์โลกทั้งปวง)ต้นไผ่ใหญ่ (ต้นมหาเวฬุ)
16พระปิยทัสสีพุทธเจ้า (ผู้ประเสริฐกว่าหมู่นรชน)ต้นกุ่ม (ต้นกักกุธะ)
17พระอัตถทัสสีพุทธเจ้า (ผู้มีพระกรุณา) ต้นจำปาป่า (ต้นจัมปกะ)
18พระธัมมทัสสีพุทธเจ้า (ผู้บรรเทาความมืด)ต้นมะพลับ (ต้นพิมพชาละ)
19พระสิทธัตถพุทธเจ้า (ผู้หาบุคคลเสมอมิได้ในโลก)่ ต้นกรรณิการ์ (ต้นกณิการระ)
20พระติสสพุทธเจ้า (ผู้ประเสริฐกว่านักปราชญ์ทั้งหลาย) ต้นประดู่ลาย (ต้นอสนะ)
21พระปุสสพุทธเจ้า (ผู้ประทานธรรมอันประเสริฐ) ต้นมะขามป้อม (ต้นอามัณฑะ)
22พระวิปัสสีพุทธเจ้า (ผู้หาที่เปรียบมิได้) ต้นแคฝอย (ต้นปาตลี)
23พระสิขีพุทธเจ้า (ผู้เป็นศาสดาเกื้อกูลแก่สรรพสัตว์)ต้นกุ่ม (ต้นกักกุธะ)
24พระเวสสภูพุทธเจ้า (ผู้ประทานความสุข)ูต้นอ้อยช้างใหญ่ (ต้นมหาโสณกะ)
25พระกุกกุสันธพุทธเจ้า (ผู้นำสัตว์ออกจากกันดารตัวกิเลส)ต้นซึก (ต้นสิรีสะ)
26พระโกนาคมนพุทธเจ้า (ผู้หักเสียซึ่งข้าศึกคือกิเลส) ต้นมะเดื่อ (ต้นอุทุมพร)
27พระกัสสปพุทธเจ้า (ผู้สมบูรณ์ด้วยสิริ)ต้นไทรหรือกร่าง (ต้นนิโครธ)
28พระโคตมพุทธเจ้า (ผู้ประเสริฐแห่งหมู่ศากยราช)ต้นโพธิ์ (ต้นอัสสัตถะ)


ตัณหังกะราทะโย พุทธาอัฏฐะวีสะติ นายะกา
สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเก เต มุนิสสะรา.


คำแปล มี ๒๘ พระองค์ คือ พระผู้ทรงพระนามว่าตัณหังกรเป็นอาทิ พระพุทธเจ้าผู้จอมมุนีทั้งหมดนั้น

ขุททกนิกาย อปทาน-พุทธวงศ์-จริยาปิฎก ดังนี้คือ(ขุ.อป.๓๓/๒๗/๓๖๖ ฉบับกรมการศาสนา ๔๕ เล่ม)

ในกัปอันประมาณมิได้แต่ภัทรกัปนี้ (คือย้อนหลังไปสี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป)
๑)พระตัณหังกรสัมพุทธเจ้า ๑
๒)พระเมธังกรสัมพุทธเจ้า ๑
๓)พระสรณังกรสัมพุทธเจ้า ๑ และ
๔พระทีปังกรสัมพุทธเจ้า ๑ ท่านเหล่านั้นเสด็จอุบัติในกัปเดียวกัน ต่อจากที่พระทีปังกรสัมพุทธเจ้า
๕)พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโกณฑัญญะพระองค์เดียวเสด็จอุบัติกัปหนึ่ง
ทรงช่วยให้หมู่ชนข้ามพ้นวัฏสงสารได้มากมาย

ระหว่างพระผู้มีพระภาคทีปังกร และพระโกณฑัญญะบรมศาสดา เป็นอันตรกัป โดยจะคำนวณนับมิได้

ต่อจากพระโกณฑัญญะบรมศาสดา
๖)มีพระพุทธเจ้าพระนามว่ามังคละ
แม้ระหว่างพระโกณฑัญญะและพระมังคละพุทธเจ้านั้น ก็เป็นอันตรกัป โดยจะคำนวณนับมิได้
๗)สุมนะ
๘)เรวตะ
๙)และโสภิตะ ผู้เป็นมุนี มีจักษุ มีพระรัศมีสว่างไสว

แม้พระพุทธเจ้า ๔ พระองค์นั้นก็เสด็จอุบัติขึ้นในกัปเดียวกันต่อจากพระโสภิตพุทธเจ้ามี
๑๐)พระมหามุนีพระนามว่าอโนมทัสสี
แม้ระหว่างพระพุทธเจ้าพระนามว่าโสภิตะ และอโนมทัสสีนั้นก็เป็นอันตรกัป โดยจะคำนวณนับมิได้
๑๐)พระพุทธเจ้าพระนามว่าอโนมทัสสี
๑๑)ปทุมะ
๑๒)และนารทะ ผู้เป็นมุนีกระทำที่สุดความมืด ก็เสด็จอุบัติขึ้นในกัปเดียว

๑๓)มีพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตระ เสด็จอุบัติในกัปหนึ่ง
แม้ระหว่างพระผู้มีพระภาคนารทะและพระปทุมุตรศาสดานั้น ก็เป็นอันตรกัปโดยจะคำนวณนับมิได้

ในแสนกัป (แต่กัปนี้) มีพระมหามุนีพระองค์เดียว คือ พระปทุมุตระผู้รู้แจ้งโลก ผู้สมควรรับเครื่องบูชา

ในสามหมื่นกัปต่อจากพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตระ มีพระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ คือ
๑๔)พระสุเมธะ
๑๕)และพระสุชาตะ

ในพันแปดร้อยกัป (แต่กัปนี้) มีพระพุทธเจ้า ๓ พระองค์ คือ
๑๖)พระปิยทัสสี
๑๗)พระอัตถทัสสี
๑๘)และพระธรรมทัสสี

ต่อจากพระสุชาตพุทธเจ้า พระสัมพุทธเจ้าผู้อุดมกว่าสัตว์ ผู้ไม่มีบุคคลเปรียบในโลก ๓ พระองค์นั้น เสด็จอุบัติในกัปเดียวกัน

ในกัปที่ ๙๔ แต่ภัทรกัปนี้ มีพระมหามุนีพระองค์เดียว คือ
๑๙)พระสิทธัตถะ ผู้ทรงรู้แจ้งโลก ยอดเยี่ยมโดยมีบุญสิริ
ในกัปที่ ๙๒ แต่ภัทรกัปนี้ มีพระสัมพุทธเจ้า ๒ พระองค์ คือ
๒๐)พระติสสะ
๒๑)และพระปุสสะ ผู้ไม่มีบุคคลเปรียบเสมอ

ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ มีพระพุทธเจ้าผู้เป็นนายกของโลกผู้มีพระกรุณาพระนามว่า
๒๒)วิปัสสี

ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ มีพระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ คือ
๒๓)พระสิขี
๒๔)และพระเวสสภู ผู้ไม่มีบุคคลเปรียบเสมอ

ในภัทรกัปนี้ มีพระพุทธเจ้า ๓ พระองค์ คือ
๒๕)พระกุกกุสันธะ
๒๖)พระโกนาคมนะ
๒๗)และพระกัสสปะ


และจักมีพระเมตไตรย์สัมพุทธเจ้า แม้พระพุทธเจ้า ๕ พระองค์นี้ ก็เป็นนักปราชญ์ อนุเคราะห์โลก

บรรดาพระพุทธเจ้าผู้เป็นธรรมราชาเหล่านี้ พระเมตไตรย์สัมพุทธเจ้าจักตรัสบอกมรรคานั้นแก่ผู้อื่นหลายโกฏิ
แล้วจักเสด็จนิพพานพร้อมด้วยพระสาวก ฉะนี้แล.

หมายเหตุ

ในความจริงแล้วจำนวนพระพุทธเจ้า (ทั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้า) ผู้ทรงตรัสรู้มาแล้วในอดีตนั้น มีจำนวนมากมายไม่อาจประมาณได้

การนับจำนวนพระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์นั้น เป็นการนับเริ่มแต่ พระพุทธเจ้าทีปังกร เป็นต้นมา เพราะทรงเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์แรกที่ทรงพยากรณ์ว่าพระพุทธเจ้าศากยมุนีโคดมของเรานั้นจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า จนถึง พระพุทธเจ้าศากยมุนีโคดมของเรา รวมเป็น ๒๕ พระองค์

บางครั้งก็นิยมนับจำนวนพระพุทธเจ้าเป็น ๒๘ พระองค์ ซึ่งเป็นการนับรวมพระพุทธเจ้าตัณหังกร เมธังกร และสรณังกร เข้าไว้ด้วย เพราะเหตุว่า พระพุทธเจ้าทั้ง ๓ พระองค์นั้น ก็ทรงอุบัติขึ้นในกัปเดียวกันกับพระพุทธเจ้าทีปังกร

การนับจำนวนพระพุทธเจ้าที่พระพุทธองค์ของเราได้เคยประสบมาและได้รับการพยากรณ์นั้น ไม่นับรวมพระศรีอริยเมตไตรย์ที่จะมาตรัสรู้ในกาลข้างหน้า แม้จะมาอุบัติในกัปนี้เช่นเดียวกัน ด้วยเหตุว่า พระองค์ยังมิได้ทรงเป็นพระพุทธเจ้า ยังเป็นเพียงพระโพธิสัตว์ที่จะมาตรัสรู้เท่านั้น ...

วามแตกต่างขององค์สมเด็จพระสัมาสัมพุทธเจ้าแต่ละพระองค์

1. วรรณะของพระองค์ (เท่าที่พบ มี พราหมณ์ และ กษัตริย์)
2. พุทธลักษณะ ขนาดพระวรกาย
3. พาหนะที่ทรงเสด็จออกบรรพชา
4. ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้
5. ระยะเวลา ที่ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้
6. พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย
7. จำนวนพระอรหันต์ ที่เป็นพุทธบริวารแวดล้อมตามเสด็จ
8. พระชนมายุของพระพุทธองค์
9. อายุ การประกาศพระศาสนา

อรรถกถาขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ปธานเวมัตตะ ความแตกต่างกันแห่งการตั้งความเพียร

พระพุทธเจ้าคือพระทีปังกร พระโกณฑัญญะ พระสุมนะ พระอโนมทัสสี.พระสุชาตะ พระสิทธัตถะและพระกกุสันธะ ทรงบำเพ็ญเพียร ๑๐ เดือน.

พระพุทธเจ้าคือพระมังคละ พระสุเมธะ พระติสสะและพระสิขี ทรงบำเพ็ญเพียร ๘ เดือน

พระเรวตพุทธเจ้า ๗ เดือน.
พระโสภิตพุทธเจ้า ๔ เดือน.
พระพุทธเจ้าคือ พระปทุมะ พระอัตถทัสสีและพระวิปัสสี ครึ่งเดือน.
พระพุทธเจ้าคือ พระนารทะ พระปทุมุตตระ พระธัมมทัสสีและพระกัสสปะ ๗ วัน.
พระพุทธเจ้าคือ พระปิยทัสสี พระปุสสะ พระเวสสภู และพระโกนาคมนะ ๖ เดือน.
พระพุทธเจ้าของเราทรงบำเพ็ญเพียร ๖ ปี.

รัศมีเวมัตตะ

ที่ชื่อว่ารัศมีเวมัตตะ ความแตกต่างกันแห่งพระรัศมี ได้ยินว่า พระมังคลสัมมาสัมพุทธเจ้า มีพระรัศมีแห่งพระสรีระ แผ่ไปในหมื่นโลกธาตุ
.พระปทุมุตตรพุทธเจ้า แผ่ไป ๑๒ โยชน์.
พระวิปัสสีพุทธเจ้า แผ่ไป ๗ โยชน์.
พระสิขีพุทธเจ้า แผ่ไป ๓ โยชน์.
พระกกุสันธพุทธเจ้า แผ่ไป ๑๐ โยชน์.
พระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา ประมาณหนึ่งวาโดยรอบ.
พระพุทธเจ้านอกนั้น ไม่แน่นอน.
นี้ชื่อว่า รัศมีเวมัตตะ.

ยานเวมัตตะ

ที่ชื่อว่ายานเวมัตตะ ความแตกต่างกันแห่งพระยาน ได้แก่ พระพุทธเจ้าบางพระองค์ออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือช้าง บางพระองค์ด้วยยานคือม้า บางพระองค์ด้วยยานคือรถ ดำเนินด้วยพระบาท ปราสาทและวอเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง
.พระพุทธเจ้าคือพระทีปังกร พระสุมนะ พระสุเมธะ
พระปุสสะ พระสิขิ และพระโกนาคมนะ ออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือช้าง
พระโกณฑัญญะ พระเรวตะ พระปทุมะ พระปิยทัสสี พระวิปัสสีและพระกกุสันธะ ด้วยยานคือรถ.
พระมังคละ พระสุชาตะ พระอัตถทัสสี พระติสสะ และพระโคตมะด้วยยานคือม้า.
พระอโนมทัสสี พระสิทธัตถะ พระเวสสภู ด้วยยานคือวอ.
พระนารทะเสด็จออกอภิเนษกรมณ์ด้วยพระบาท.
พระโสภิตะ พระปทุมุตตระ พระธัมมทัสสีและพระกัสสปะออกอภิเนษกรมณ์ด้วยปราสาท.
นี้ชื่อว่า ยานเวมัตตะ.

เรื่องสถานที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงละ

ก็พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ไม่ทรงละสถานที่ ๔ แห่ง. จริงอยู่ โพธิบัลลังก์ พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ไม่ทรงละ เป็นสถานที่แห่งเดียวกันนั่นเอง,ไม่ทรงละการประกาศพระธรรมจักร ณ ป่าอิสิปตนะมิคทายวัน, ไม่ทรงละสถานที่เหยียบพระบาทครั้งแรก ใกล้ประตูสังกัสสนคร ครั้งเสด็จลงจากเทวโลก,ไม่ทรงละสถานที่วางเท้าเคียง ๔ เท้าแห่งพระคันธกุฎีในพระวิหารเชตวัน.พระวิหารเล็กก็มี ใหญ่ก็มี ทั้งพระวิหารก็ไม่ละ ทั้งพระนคร

เรื่องการกำหนดสหชาตและกำหนดนักษัตร์

ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย แสดงกำหนดสหชาต และกำหนดนักษัตร ของพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราเท่านั้น. สิ่งที่เกิดร่วมกันกับพระสัพพัญญูโพธิสัตว์ของเรามี ๗ เหล่านี้ คือ พระมารดาพระราหุล ๑พระอานันทเถระ ๑ พระฉันนะ ๑ พระยาม้ากัณฐกะ ๑ หม้อขุมทรัพย์ ๑ พระมหาโพธิ ๑ พระกาฬุทายี ๑ นี้ชื่อว่ากำหนดสหชาต.

โดยนักษัตรคือดาวฤกษ์ในเดือนอุตตราสาธ พระมหาบุรุษ ลงสู่พระครรภ์พระชนนี เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ ทรงประกาศพระธรรมจักรทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์, โดยนักษัตรคือดาวฤกษ์ในเดือนวิสาขะ ประสูติตรัสรู้ และปรินิพพาน, โดยนักษัตรคือดาวฤกษ์เดือนมาฆะ พระองค์ทรงประชุมพระสาวก และทรงปลงอายุสังขาร, โดยนักษัตรคือดาวฤกษ์เดือนอัสสยุชะเสด็จลงจากเทวโลก นี้ชื่อว่า กำหนดนักษัตร.

เรื่องธรรมดาของพระพุทธเจ้า

บัดนี้ เราจะประกาศธรรมดาทั่วไปของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ธรรมดาของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ มี ๓๐ ถ้วน คือ
๑. พระโพธิสัตว์ผู้มีภพสุดท้าย มีสัมปชัญญะรู้ตัว ลงสู่พระครรภ์ของพระชนนี
๒. พระโพธิสัตว์นั่งขัดสมาธิในพระครรภ์ของพระชนนีหันพระพักตร์หันพระพักตร์ออกไปภายนอก
๓. พระชนนีของพระโพธิสัตว์ยืนประสูติ
๔. พระโพธิสัตว์ออกจากพระครรภ์พระชนนีในป่าเท่านั้น
๕. พระโพธิสัตว์วางพระบาทลงบนแผ่นทอง หันพระพักตร์ไปทางทิศเหนือ ย่างพระบาท ๗ ก้าว เสด็จไปตรวจดู ๔ ทิศแล้วเปล่งสีหนาท
๖. พระมหาสัตว์ พอพระโอรสสมภพ ก็ทรงเห็นนิมิต ๔ แล้วออกมหาภิเนษกรมณ์
๗. พระมหาสัตว์ ทรงถือผ้าธงชัยแห่งพระอรหันต์ ทรงผนวช ทรงบำเพ็ญเพียรกำหนดอย่างต่ำที่สุด ๗ วัน
๘. เสวยข้าวมธุปายาส ในวันที่ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณ
๙. ประทับนั่งเหนือสันถัตหญ้าบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ
๑๐.ทรงบริกรรมอานาปานัสสติกัมมัฏฐาน
๑๑. ทรงกำจัดกองกำลังของมาร
๑๒. ณ โพธิบัลลังก์นั่นเอง ทรงได้คุณมีอสาธารณะญาณ ตั้งแต่วิชชา ๓ เป็นต้นไปเป็นอาทิ
๑๓. ทรงยับยั้งใกล้โพธิพฤกษ์ ๗ สัปดาห์
๑๔. ท้าวมหาพรหมทูลอาราธนาเพื่อให้ทรงแสดงธรรม
๑๕. ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ ป่าอิสิปตนะ มิคทายวัน
๑๖. ในวันมาฆบูรณมี ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงในที่ประชุมสาวกประกอบด้วยองค์ ๔
๑๗. ประทับอยู่ประจำ ณ ที่พระวิหารเชตวัน
๑๘. ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ใกล้ประตูกรุงสาวัตถี
๑๙. ทรงแสดงพระอภิธรรม ภพดาวดึงส์
๒๐. เสด็จลงจากเทวโลก ใกล้ประตูสังกัสสนคร
๒๑. ทรงเข้าผลสมาบัติต่อเนื่องกัน
๒๒. ทรงตรวจดูเวไนยชน ๒ วาระ
๒๓. เมื่อเรื่องเกิดขึ้น จึงทรงบัญญัติสิกขาบท
๒๔. เมื่อเหตุต้นเรื่องเกิดขึ้น จึงตรัสชาดก
๒๕. ตรัสพุทธวงศ์ในสมาคมพระประยูรญาติ
๒๖. ทรงทำปฏิสันถารกับภิกษุอาคันตุกะ
๒๗. พวกภิกษุจำพรรษาแล้วถูกนิมนต์ ไม่ทูลบอกลาก่อน ไปไม่ได้
๒๘. ทรงทำกิจก่อนและหลังเสวย ยามต้น ยามกลางและยามสุดท้ายทุก ๆ วัน
๒๙. เสวยรสมังสะ ในวันปรินิพพาน
๓๐. ทรงเข้าสมาบัติยี่สิบสี่แสนโกฏิสมาบัติแล้วจึงปรินิพพาน