วันพุธที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2551

เทวปกรณัมกับตำนานหอย

เทวปกรณัมกับตำนานหอย

คราวนี้คนแก่ขอมานำเสนอเรื่องราวของหอยกับ "ปกรณัม" กันบ้าง หลายคนอาจจะงง
กับคำว่า ปกรณ์ หรือ ปกรณัม คืออะไร ปกรณ์ คือ เรื่องเล่ากล่าวขานกันต่อๆ มา ถ้าเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเทพเจ้า ก็เรียกว่า เทวปกรณัมขอรับ คนแก่ใคร่ขอนำเสนอเรื่องราวของหอยกับปกรณัม สักเล็กน้อยตามความรู้อันน้อยนิด
ที่คนแก่มี มาให้ท่านๆ ได้สดับรับชมกันขอรับ

The image “http://www.siamensis.org/images/webboard_images/OthersPics_reply_36117.jpg” cannot be displayed, because it contains errors.

เริ่มจาก หอยสังข์อินเดีย (Indian Chank : Turbinella pyrum)
สังข์เป็นหอยอีกชนิดหนึ่งที่มีความเกี่ยวพันกับขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมต่างๆ ที่เป็นมงคลของไทย ที่เห็นบ่อยๆ ได้แก่ การรดน้ำสังข์ในงาน แต่งงาน
หรือในงานพระราชพิธีต่างๆ ที่มีการอัญเชิญพระสังข์ พระมหาสังข์องค์ต่างๆ
เข้าประกอบพิธี เช่นพิธีโสกัณฑ์ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก หรือแม้กระทั่งที่ผ่านมาในงานพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีของในหลวงเรา ก็คงจะได้เห็นภาพที่พระราชครูวามเทพมุนี ถวายน้ำพระมหาสังข์แด่
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ พระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัย หรือแม้ในพงศาวดารหลาย
เรื่อง ก็มีการกล่าวถึงหอยสังข์ เช่น การใช้เปลือกหอยสังข์มาทำเป็นผังเมืองสำหรับ
สร้างเมืองหริภุญไชย หรือที่กล่าวไว้ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ในตอน
สร้างกรุงศรีอยุทธยา ในปี พ.ศ. 1893 พระเจ้าอู่ทอง (สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1) ทรงเห็นว่าทำเลบริเวณหนองโสนอยู่ในชัยภูมิที่เหมาะสม มีคูคลองล้อมรอบ จึงมีรับสั่งให้ชีพ่อพราหมณ์ตั้งพิธีกลบบาตสุมเพลิง จากนั้นจึงให้พนักงานขุดดินโดยรอบเพื่อเตรียมสร้างพระราชวัง และได้พบสังข์ทักษิณาวรรตสีขาวบริสุทธิ์ใต้ต้นหมันหนึ่งขอน อ้อ ลืมบอกไป
ขอรับ คำลักษณะนามที่ใช้เรียก “สังข์” นั้น เขาเรียกกันเป็น “ขอน” เดี๋ยวจะ
เข้าใจว่าเป็นขอนของต้นหมันไป ทรงถือเป็นศุภนิมิตร ทรงโปรดให้ปราสาทขึ้นเพื่อประดิษฐานสังข์ทักขินาวัฎขอนดังกล่าว ในปัจจุบันจังหวัดพระนครศรีอยุธยายังคงรูปสังข์ทักษิณาวรรตประดิษฐาน
อยู่ในพานทองใต้ต้นหมันเป็นตราประจำจังหวัด นอกจากนี้ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ก็ปรากฏว่ามีแขกคนหนึ่งชื่อนักกุดาสระวะสี ได้นำมหาสังข์ทักษิณาวรรต
มาถวายเป็นคนแรก จึงทรงพระกรุณาโปรดตั้งให้เป็นขุนนางมียศเป็น
หลวงสนิทภูบาล
หอยทากชรา



เรื่องราวที่เล่าขานมานี้ล้วน แต่แสดงให้เห็นว่าสังข์มีความเกี่ยวพันกับคนไทยมานานแล้ว หลายคนอาจจะสงสัยว่า ทำไมต้องใช้สังข์หลั่งน้ำในงานมงคลต่างๆ หรือเข้าประกอบ
ในงานมงคลต่างๆ นั้น เรื่องนี้มีที่มาขอรับ เรื่องของเรื่องมีอยู่ว่า เมื่อครั้งพระอิศวรสร้าง
เขาพระสุเมรุแล้ว พระองค์ก็มีประกาศิตให้พระพรหมธาดาขึ้นไปอยู่ในพรหมโลก ให้เป็นใหญ่กว่าพรหมทั้งหลาย ในครั้งนั้นบรรดาพรหมที่มีจิตใจริษยาต่างก็ไม่พอใจ ก็เลยจุติลงมาเป็นสังข์อสูรอยู่ใต้เขาพระสุเมรุ ครั้งนั้นพระพรหมธาดาได้นำเอาคัมภีร์
มาถวายพระอิศวร เมื่อมาถึงที่อยู่ของสังข์อสูรก็เกิดอาการร้อนรุ่มอยากสรงน้ำ จึงได้วางคัมภีร์ไว้ริมฝั่งแล้วเสด็จลงน้ำ ฝ่ายสังข์อสูรเมื่อเห็นเช่นนั้นจึงได้ให้ผีเสื้อน้ำ
ไปลักเอาคัมภีร์นั้นมา แล้วก็กลืนเข้าไว้ในท้องทั้งหมด ฝ่ายองค์พรหมเมื่อขึ้นมาจากน้ำ
ไม่เห็นคัมภีร์ จึงรีบไปเข้าเฝ้าพระอิศวรทูลเรื่องที่เกิดขึ้นให้ทรงทราบ เมื่อพระศิวะเจ้าเข้าฌานก็ทราบถึงสาเหตุ จึงได้เชิญพระนารายณ์มา และให้เป็นธุระในการนำเอาพระคัมภีร์กลับมา พระนารายณ์จึงได้แปลงกายเป็น
ปลากรายทอง นามว่า มัจฉาวตาร ไล่ล่าสังหารผีเสื้อน้ำ และเข้าโรมรันกับสังข์
อสูรเป็นสามารถ ในที่สุดก็เอาชนะสังข์อสูรได้ แล้วสำแดงองค์คืนร่างเป็นพระสี่กร ยื่นพระหัตถ์เข้าไปในปากสังข์อสูร เพื่อหยิบเอาพระคัมภีร์ บางตำนานก็ว่า ทรงแหวก
ปากของสังข์อสูรออก ทำให้หอยสังข์ในปัจจุบันมีรอยนิ้วของพระนารายณ์ปรากฏอยู่
จนทุกวันนี้ จากนั้นพระสี่กรจึงสาปสังข์อสูรว่า สังข์อสูรเป็นพรหมมาจุติ และกลืน
คัมภีร์พระเวทย์เข้าไว้ อีกทั้งยังมีรอยนิ้วพระหัตถ์แห่งพระองค์ปรากฏอยู่ด้วย นับว่า
เป็นมงคล ดังนั้น ถ้าผู้ใดจะทำการมงคลพิธีในภายภาคหน้าก็จงเอาสังข์เข้าอยู่ใน
พิธีนั้น ผู้ใดรดน้ำในอุทรสังข์ก็ให้เป็นมงคลกันอุบาทว์เสนียดจัญไร หรือเป่าก็ให้เป็น
มงคลไปจนสุดเสียงสังข์ ครั้นสาปแล้วพระนารายณ์ก็นำคัมภีร์ไปถวายพระอิศวร
และเสด็จกลับเกษียรสมุทร ตั้ง แต่นั้นเป็นต้นมา พราหมณ์จึงถือว่าหอยสังข์ที่ปาก
มีริ้ว 2-4 ริ้ว อันเกิดจากนิ้วพระหัตถ์ของพระสี่กรปรากฏอยู่นั้นเป็นสังข์สำคัญ
ภาพที่นำมาแสดงเป็นภาพตอนพิธีบรมราชาภิเษก ในหลวงรัชกาลปัจจุบันขอรับ
หอยทากชรา

อีกตำนานหนึ่ง ซึ่ง มีที่มาจากทางคชศาสตร์ โดยเกี่ยวพันกับเทพเจ้าแห่งช้างที่สำคัญ
สององค์ คือ “พระพิฆเนศ” และ “พระโกญจนาเนศวร” สำหรับพระพิฆเนศนั้น เชื่อว่า
หลายท่านคงรู้จักดี แล้วขออนุญาตไม่เล่าในที่นี้ขอรับ ถ้าอยากทราบประวัติของท่าน สามารถหาอ่านได้ในหนังสือ“อมนุษยนิยาย” ของ ส พลายน้อย ได้ขอรับ แต่เทพอีก
องค์คือ พระโกญจนาเนศวร นั้นมีพระนามปรากฏอยู่เฉพาะในตำราคชลักษณ์ ตาม
ตำนานกล่าวว่า ในไตรดายุค พระนารายณ์ทรงกระทำเทวฤทธิ์ให้เกิดดอกบัวผุดขึ้น
จากอุทร ดอกบัวดอกนั้นมีแปดกลีบ มีเกสร 172 เกสร แล้วนำไปถวายพระอิศวร ซึ่ง องค์เทวะเจ้าได้แบ่งเกสรดอกบัวออกเป็นสี่ส่วน หนึ่งส่วนเป็นขององค์ศิวะเจ้าเอง
หนึ่งส่วนขององค์พรหมา ส่วนหนึ่งเป็นของพระวิษณุ และส่วนที่สี่ให้แก่พระอัคนี
เพื่อให้เทวะ แต่ลงองค์ทรงบันดาลให้เกิดช้างสี่ตระกูล คือ อิศวรพงศ์, พรหมพงศ์,
วิษณุพงศ์ และอัคนิพงศ์ แล้วจึงสร้างพระเวทสี่ประการ ไว้ให้สำหรับชนทั้งหลายจะได้ปราบช้างทั้งสี่ตระกูลในโลก พระผู้ทรงจันทเศขร ทรงประสาทพรให้พระเพลิงกระทำเทวฤทธิ์ให้บังเกิดเปลวเพลิงออกจากช่อง
พระกรรณทั้งสอง และท่ามกลางเปลวเพลิงทางด้านขวา บังเกิดเป็นเทวกุมาร
องค์หนึ่ง มีพระพักตร์เป็นช้าง พระกรขวาทรงตรีศูล พระกรซ้ายทรงดอกบัว
มีอุรเคนทร์ (พญานาค) เป็นสังวาล นั่งชาณุมณฑล อยู่เบื้องขวาพระผู้เป็นเจ้า
ทั้งสาม ทรงพระนามว่า “ศิวบุตรพิฆเนศวร” ส่วนเบื้องซ้ายบังเกิดเป็นเทวกุมาร
มีพระพักตร์เป็นช้างสามเศียร มีหกพระกร ทรงพระนาม “โกญจนาเนศวร” ทรง
บันดาลให้เกิดเป็นช้างเอราวัณ ช้างเผือกผู้มี 33 เศียร อีกพระกรหนึ่ง บังเกิด
ช้างคิรีเมขละไตรดายุค ช้างเผือกผู้สามเศียร ช้างทั้งสองถือเป็น
“เทพยานฤทธิ์” ซึ่ง พระเป็นเจ้าทั้งสามประสาทพรไว้ให้เป็นเทพพาหนะของ
องค์อมรินทร์ พระกรอีกสองกรของพระโกญจนาเนศวร เกิดเป็นช้างเผือกซึ่ง
จะได้อุบัติในโลก สำหรับเป็นพาหนะของกษัตริย์อันมีอภินิหารอีกข้างละ
สามตระกูล คือ ช้างเผือกเอก โท ตรี และพระกรเบื้องขวาเป็นพลาย
อีกสองพระกรบังเกิดเป็น “สังข์ทักษิณาวรรต” เบื้องขวา “สังข์อุตราวัฏ”
เบื้องซ้าย ยืนอยู่เหนือกระพองศรีษะช้างเจ็ดเศียร บรรดาหมอช้างทั้งหลาย
จึงไหว้บูชา พระศิวบุตรพิฆเนศวร และพระโกญจนาเนศวร ด้วยเหตุนี้พระศิวบุตรทั้งสองก็ประจำอยู่ในโลกจนสิ้นภัทรกัปหนึ่ง
ช้างเผือกทั้งสามตระกูล และสังข์สองตระกูล จึงเป็นของมงคล เพราะเกิดจากกลางฝ่ามือของพระโกญจนาเนศวรศิวบุตรนั่นเอง ความเชื่อดังกล่าวทำให้การขึ้นระวางสมโภชช้างสำคัญในทุกรัชกาล จะทรงหลั่งน้ำพระมหาสังข์ทักขิณาวัฏเหนือศีรษะช้างสำคัญ อันเป็นพิธีใหญ่ และสำคัญมาก เทียบเท่าพระเจ้าลูกยาเธอชั้นเจ้าฟ้าเชียวนะขอรับ

ภาพที่แสดงเป็นภาพพระโกญจนาเนศวรขอรับ
หอยทากชรา
เทวปกรณัมที่เล่ามา หลายคนอาจจะสงสัย พระสังข์ทักษิณาวรรต หรือ ถ้าแปลเป็นภาษาง่ายๆ จะแปลว่าหอยเวียนขวา ส่วนพระสังข์อุตราวัฏ หรือหอยเวียนซ้ายนั้น จะดูอย่างไร ว่าสังข์ขอนไหนที่เป็นเวียนขวา หรือว่าเวียนซ้าย ก่อนอื่นเราคงต้องมาทำความเข้าใจกัน
ก่อนนะขอรับ ว่าการดูว่าเปลือกหอยเปลือกไหน เวียนขวาหรือว่าเวียนซ้ายนั้น มีการมองอยู่
สองแบบ แบบหนึ่งเป็นไปตามหลักการทางด้านสังขวิทยา ส่วนอีกแบบเป็นไปตามคติของ
พราหมณ์ เราลองมาเปรียบเทียบทั้งสองแบบดูนะขอรับ เอาแบบทางด้านสังขวิทยาก่อน
แล้วกันนะขอรับ ถ้าตอนนี้ใครมีเปลือกหอยทะเลในมือ (ขอเป็นหอยฝาเดียวนะขอรับ
หอยสองฝาเดี๋ยว ไว้มีเวลากระผมค่อยบอกว่าดูยังไงเป็นฝาซ้ายหรือว่าฝาขวา) ทีนี้ลองยกเปลือกหอยขึ้นมาดูนะขอรับ ให้เอาด้านที่เป็นปลายแหลมชี้ขึ้นข้างบน แล้วหันเอาด้านที่เป็นปากเปิด (aperture) หันเข้าหาตัว ถูกต้องแล้วขอรับ ทีนี้ให้สังเกต
ด้านปากเปิด ถ้าปากเปิดอยู่ด้านขวามือเรา แสดงว่าเป็นหอยเวียนขวา
(right-hand coiling : Dextral) แต่ ถ้าปากเปิดอยู่ด้านซ้ายก็เป็นหอยเวียนซ้าย
(left-hand coiling : Sinistral) ขอรับ ซึ่ง ในหอยทะเล 99.99 % เป็นหอยเวียนขวา
และ 0.01 %เป็นหอยเวียนซ้ายเอาล่ะขอรับทีนี้เรามาลองดูการขดวนของหอย
แบบทางคติพราหมณ์บ้างขอรับ ในทางพราหมณ์นั้น เขาไม่ได้มองการขดวนเหมือนทาง
วิชาการแต่ดูจากเวลาใช้สังข์รดน้ำ ลองนึกภาพตอนที่เรารดน้ำสังข์ในงานแต่งงาน
สิขอรับ เราทำอย่างไร เราจะหันเอาด้านปลายแหลมเข้าหาตัว แล้วก็เอาด้านที่เป็นช่องที่ใส่น้ำออกจากตัวใช้ไหมขอรับ ในกรณีนี้
ถ้าปากเปิด หรือช่องที่ใช้รดน้ำนั่นแหละขอรับ อยู่ทางด้านซ้ายมือเรา
ก็จะเรียกว่า หอยเวียนซ้าย หรือสังข์อุตราวรรต แต่ ถ้าปากเปิดอยู่ทางด้าน
ซ้ายมือ ก็จะเป็นหอยเวียนขวา หรือสังข์ทักขิณาวรรต ทีนี้เอาใหม่นะขอรับ
เราลองเอาสังข์อุตราวรรต มาดูการขดวนแบบทางวิชาการดู สังเกตเห็น
อะไรไหมขอรับ ใช่แล้วขอรับ สังข์อุตราวัฏก็จะกลายเป็นหอยเวียนขวา
ในทางวิชาการ และในทำนองเดียวกัน สังข์ทักขิณาวรรต ก็จะกลายเป็น
หอยเวียนซ้าย เพราะฉะนั้นอย่าได้สับสนนะขอรับ ให้เข้าใจว่า ถ้าพูด
ถึงสังข์ หรือพระมหาสังข์ทักษิณาวรรตแล้วล่ะก็จะหมายถึงหอยที่มี
การขดวนของเปลือกเป็นแบบเวียนซ้ายส่วนสังข์หรือพระสังข์อุตราวัฏจะ
หมายถึงหอยที่มีการขดวนของเปลือกเป็นแบบเวียนขวาขอรับ ขออนุญาต
นอกเรื่องสักนิดขอรับ ในประเทศอินเดีย เราคงทราบดีอยู่แล้วว่ามี
การปกครองแบบแบ่งวรรณะ (varna) ต่างๆ สี่วรรณะ เชื่อหรือไม่ขอรับว่า
แม้ แต่สังข์เองก็ยังแบ่งออกเป็นสีในการใช้ตามวรรณะด้วยเช่นกัน โดย
วรรณะพราหมณ์ ใช้สังข์สีขาว วรรณะกษัตริย์ ใช้สังข์สีแดงหรือสีน้ำตาล
หรือชมพู วรรณไวศยะ ซึ่ง ได้แก่ คหบดี หรือพ่อค้า ใช้สังข์สีเหลือง
และวรรณะสุดท้ายคือ ศูทร ได้แก่ ชาวไร่ ชาวนา ผู้ใช้แรงงาน
ใช้สังข์สีเทา หรือสีดำ ขอรับ

เพื่อความเข้าใจง่ายๆ เลยเอารูปมาลงให้ดูอีกทีขอรับ
หอยทากชรา



The image “http://www.siamensis.org/images/webboard_images/OthersPics_reply_36118.jpg” cannot be displayed, because it contains errors.


เรื่องของสังข์นี่ ถ้าจะให้เล่ากันล่ะก็คงเล่าได้ไม่รู้จบ เอาเป็นว่าเราพอจะสรุปได้ว่า วิถีชีวิตคนไทยเราผูกพันกับสังข์มานาน และแม้ แต่ในปัจจุบันก็ยังมีพิธีกรรมต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องกับสังข์ ดังเช่นงานพระราชพิธีต่างๆ ที่กล่าวถึงในตอนต้น และสำหรับเราเหล่าสามัญชนแล้วล่ะก็ที่ยังเห็นได้บ่อยๆ คือการรดน้ำสังข์ในงาน
แต่งงานนั่นเอง ทั้งนี้ทั้งนั้นล้วน แต่มาจากคติความเชื่อที่ว่า สังข์เป็นของมงคล และน้ำที่หลั่งจากสังข์ช่วยปัดเป่าสิ่งที่ไม่ดีออกไปได้ พอพูดถึงเรื่องนี้คนแก่เองก็
อยากทราบเหมือนกันว่า คนกรุงเทพฯ เรานี่จะมีสักกี่คนที่ทราบว่า หอยสังข์อุตรา
วัฎสัมฤทธิ์ขนาดใหญ่ ใน “สวนรมณีนาถ” ซึ่ง สร้างในวโรกาสที่
สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมายุครบ 60 พรรษานั้น ภายในสังข์นั้นบรรจุแผ่นยันต์มหาโสฬสมงคล และองค์สังข์จริง ซึ่ง ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประดิษฐานไว้ในสังข์สำริด ทำให้น้ำพุที่ไหลผ่านกลายเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ไปด้วย ถ้าจะให้เล่าเรื่องสังข์แล้วล่ะก็มีเรื่องราวให้กล่าวขานกันอีกมากมาย
แต่เอาไว้แค่นี้ก่อนแล้วกัน ไว้มีเวลาค่อยมาว่ากันใหม่ขอรับ

กระผมเอาภาพหอยสังข์ที่ยังมี periostracum มาให้ยลขอรับ

ถ้าไม่ลืมคราวหน้าจะเอาเรื่องชื่อสกุลของหมึกงวงช้างกระดาษ Argonauta
มาเล่าให้ฟังว่า มีที่มาอย่างไร แต่ ถ้าลืม รบกวนเตือนคนแก่ด้วยขอรับ
หมู่นี้ชักเลอะเลือน ลืมบ่อยขอรับ แก่แล้วก็อย่างนี้แล -_-"
หอยทากชรา

The image “http://www.siamensis.org/images/webboard_images/OthersPics_reply_36134.jpg” cannot be displayed, because it contains errors.

เรียน ampelisciphotis น้องท่าน อันปัญหานี่ตัวเราเองก็เฝ้าเพียรหาคำตอบอยู่
เพราะเคยได้ยิน แต่เขากล่าวเล่าขาน หาภาพมายลก็มี แต่สีขาว ชะรอยต้องไป
อินเดียสักคราเพื่อหาคำตอบ ไว้มีข้อมูลที่เชื่อถือได้มายืนยันเมื่อใด เราจักรีบบอก
โดยเร็วพลัน
ไหนๆ ก็เข้ามาแล้ว ใคร่นำเสนอหอยสังข์เวียนซ้าย ที่มักจะหลอกขายคน
ที่อยากซื้อสังข์ทักขิณาวัฏ ทาง net หรือนายหน้าบ่อยๆ หอยชนิดนี้
เวียนซ้าย (sinistral) เป็นปกติใน species คนที่ไม่รู้ก็คิดว่าได้สังข์ทักษิณา
วัตรของแท้ไป ใครอยากได้สังข์ทักษิณาวัตรไว้ครอบครองก็จุ่งดูให้ดีนะขอรับ
มีคำกล่าวไว้ว่า พระมหาสังข์จักเลือกผู้เป็นเจ้าของเอง ถ้าท่านมีวาสนาคงได้
ไว้ครองสักขอนหนึ่งกระมัง หึ หึ
หอยทากชรา


The image “http://www.siamensis.org/images/webboard_images/OthersPics_reply_36137.jpg” cannot be displayed, because it contains errors.

ใช้คำว่า "องค์" ครับ ถ้าเป็นสังข์ธรรมดา ถึงจะเรียกว่า ขอน ขอรับ ยิ่ง ถ้าเป็นสังข์ทักษิณาวัตร
ด้วย และมีความสำคัญก็จะเรียกว่า พระมหาสังข์ เช่น พระมหาสังข์เพชรน้อย ที่รัชกาลที่ 4 ถวายเป็นพุทธบูชา แด่พระแก้วมรกต ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหรือ ผู้แทนพระองค์ที่ทรงโปรดเกล้าฯ (ที่ต้องใส่ไปยาลน้อย เพราะมาจากคำเต็มที่ว่า "โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม" ขอรับ) ก็จะทรงน้ำพระแก้วมรกตก่อนเปลี่ยนเครื่องทรง ด้วยน้ำจากพระมหาสังข์องค์นี้แหละขอรับ ปัจจุบันพระมหาสังข์องค์นี้จะประดิษฐานไว้หน้าองค์พระแก้วมรกต ถ้าใครไปวัดพระแก้ว แล้วไปนมัสการพระแก้ว ลองสังเกตสักนิดจะเห็นขอรับ (มีภาพที่พอดูได้ ซึ่ง ไอ้กระผม
ถ่ายเอง มาให้ชม ว่า แต่ว่าเห็นองค์พระมหาสังข์กันไหมเอ่ย หุ หุ) แต่ในปัจจุบันจะมี
พระมหาสังข์อีกองค์หนึ่ง ชื่ออะไร กระผมจำไม่ได้จริงๆ ขอติดไว้ก่อน พรุ่งนี้จะมาบอก
ขอรับ ที่นำมาเข้าร่วมในการเปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกตด้วย รายละเอียดเพิ่มเติม
จะบอกพรุ่งนี้กับ เอกสารไม่อยู่กะตัวกลัวพลาด
หอยทากชรา

ได้เอกสารมาแล้วขอรับ แต่ก่อนอื่นขอตอบคำถาม คุณเสือหัวดำ กะคุณ aris
ก่อนแล้วกันครับ ข้อมูลด้านเทวปกรณ์ส่วนใหญ่ผมก็หาอ่านจากหนังสือทั่วๆ ไปแบบเก็บเล็กผสมน้อยไปเรื่อยๆ ตามประสาคนแก่น่ะขอรับ ที่อ่านๆ แล้ว
ชอบก็มีของ ส. พลายน้อย ที่ท่านมี series พวก สัตวนิยาย พฤกษนิยาย
อัญมณีนิยาย เทวนิยาย อมนุษยนิยาย จันทรคตินิยาย เป็นต้น ซึ่ง หนังสือ
เหล่านี้ก็มีพิมพ์ใหม่มาเรื่อยอ่ะครับ กระผมว่างานสัปดาห์หนังสือน่าจะมีขาย
อ่ะครับ หรือไม่ก็ร้านพวกแพร่พิทยา อะไรประมาณเนี๊ยน่าจะพอหาซื้อได้ขอรับ
ส่วนพวกคัมภีร์ปุราณะ เช่น วิษณุปุราณะ ฯ ลฯ พวกนี้กระผมไม่สามารถเข้าถึง
แหล่งข้อมูลอ่ะครับ แต่คิดว่าคณะที่เกี่ยวกับทางโบราณคดี หรืออักษรศาสตร์
น่าจะมีกระมัง เพราะดูๆ แล้วน่าจะเกี่ยวกับพวกเทววิทยา (theology, mythology) หรือไม่ก็ลองไปคุยกับพราหมณ์ที่โบสถ์พราหมณ์อาจจะได้อะไรดีๆ นะขอรับ
อย่างเรื่องสังข์ทักษิณาวัตรกับอุตราวัฏนี่กระผมก็ได้ความรู้จากท่านพราหมณ์
ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับเรื่องราวในวังท่านหนึ่งช่วยกรุณาอรรถาธิบายให้ฟังขอรับ
หอยทากชรา

โอ๊ะ ลืมเขียนต่อ ขออภัยขอรับ คงไม่ถือสาคนแก่คนเฒ่า เอหรือว่าเป็นหอยแก่
หอยเฒ่าดีหว่า กลับมาที่เรื่องของพระมหาสังข์ที่เขียนไว้ตอนต้นเกี่ยวกับ
พระแก้วมรกตนิดนึงขอรับ ที่บอกไว้ตอนแรกว่ามี 2 องค์ พอดีไปค้นข้อมูลมา
มีที่ต้องแก้ไขเล็กน้อยขอรับ รายละเอียดทั้งหมดมีดังนี้ขอรับ
พระมหาสังข์ที่ใช้ในพระราชพิธีเปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกต
ปัจจุบันมี 2 องค์ คือ
- พระมหาสังข์เพชรน้อย เป็นพระสังข์ทักขิณาวรรต ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่า
สร้างในรัชสมัยใด สังข์องค์นี้ใช้ประจำสำหรับองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
สรงน้ำพระแก้วมรกต ในพระราชพิธีเปลี่ยนเครื่องทรงประจำฤดูกาล และทรงใช้สังข์นี้บรรจุน้ำพระพุทธมนต์จากที่สรงน้ำพระแก้วมรกตหลั่งลง
ที่พระเศียรของพระองค์เอง แล้วหลั่งพระราชทานพระราชวงศ์ตั้งแต่ชั้น
หม่อมเจ้าขึ้นไป ที่มาเข้าเฝ้าในพระราชพิธี นอกจากนี้พระสังข์องค์นี้
ยังใช้ในพิธีสรงน้ำมูรธาภิเษก ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกและเป็น
พระมหาสังข์สำหรับถวาย
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
และสมเด็จพระเทพพระรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงใช้หลั่งน้ำพระราชทานในงานพระราชพิธีมงคลต่างๆ เช่น อภิเษกสมรส เป็นต้น
- พระมหาสังข์ประจำพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร เป็นพระสังข์ทักษิณาวรรต
สร้างในรัชกาลที่ 4 ทรงถวายเป็นพุทธบูชาสำหรับถวายน้ำสรงพระแก้วมรกต
โดยเฉพาะเมื่อเวลาเปลี่ยนเครื่องทรงตามฤดูกาล เป็นสังข์ทักษิณาวรรต
(ขออนุญาตไม่ใช้ว่า เวียนขวาหรือซ้าย เพราะจะสับสนกับคำเรียกทางวิชาการ
ของชาวหอย malacologist ขอรับ) ประดิษฐานอยู่หน้าบุษบกที่ประดิษฐาน
พระแก้วมรกต (ตามรูปที่ลงให้ดูตอนแรกน่ะขอรับ)

สำรับพระมหาสังข์ที่สำคัญที่ใช้ในงานพระราชพิธีต่างๆ ประกอบด้วยด้วย
พระมหาสังข์สำคัญ ตั้ง แต่รัชกาลที่ 1 จนถึงรัชกาลปัจจุบัน มีจำนวน 16 องค์ เป็นพระมหาสังข์ทักษิณาวรรตเจ็ดองค์ ส่วนพระมหาสังข์สำคัญองค์อื่นๆ
เป็นสังข์อุตราวัฏ แต่ครั้นจะให้ชื่อ และข้อมูลไปก็กลัวท่านๆ ทั้งหลายจะเบื่อ
ด้วยว่าเอา แต่เรื่องวิชาการเกินไปมาลง เอาไว้ ถ้ามีท่านใดอยากทราบก็
แจ้งแล้วกันขอรับ จะเอามาลงให้ขอรับ
หอยทากชรา

วันศุกร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2551

การไหว้บูชาขอขมา 7 ครั้งก่อนนอน จากสมเด็จโต

การไหว้บูชาขอขมา 7 ครั้งก่อนนอน จากสมเด็จโต



1. ไหว้ครั้งแรก เพื่อบูชาและขอขมาพระพุทธเจ้า น้อมระลึกถึงคุณงามความดีของท่านที่ช่วยชี้ทางสว่างให้สัตว์โลก พร้อมสำนึกน้อมรับในสิ่งที่พระพุทธองค์ฝากเราไว้ให้ปฏิบัติได้แก่ ทาน ศีล ภาวนา



2. ไหว้ครั้งที่สอง เพื่อบูชาและขอขมาพระธรรม น้อมระลึกถึงคุณงามความดีของพระธรรมคำสั่งสอนที่เป็นสัจธรรมที่ช่วยรื้อถอน
กิเลสให้สัตว์โลกและนำพาสัตว์โลกสู่ความสุขอย่างแท้จริง พร้อมสำนึกและน้อมรับพระธรรมที่พอจะนึกออกมาพิจารณาเนือง ๆ



3. ไหว้ครั้งที่สาม เพื่อบูชาขอขมาพระสงฆ์ สาวกผู้มีพระคุณสานต่อจาก
พระพุทธเจ้าในการช่วยกันนำพาสัตว์โลกสู่ทางสว่าง ระลึกถึงพระที่ท่านเคารพรักนับถือแล้วอธิษฐานให้มาเป็นครูบาอาจารย์เพื่อ
ปกปักรักษาท่าน พร้อมสำนึกและน้อมรับในการช่วยส่งเสริมสถาบันสงฆ์
เพื่อช่วยการสานต่อศาสนาเช่น บำรุงสงฆ์ น้อมรับคำสอน ทำบุญตักบาตร
และช่วยเผยแพร่ธรรม เป็นต้น



4. ไหว้ครั้งที่สี่ เพื่อกราบไหว้บูชาขอขมาพ่อแม่ ไม่ว่าท่านทั้งสองจะล่วงลับ
หรือยังอยู่ การกราบไหว้ท่านก่อนนอนเป็นประจำจะช่วยสร้างสิริมงคลให้ชีวิตและ
ส่งเสริมให้ผู้กราบได้บุตรที่ดีในอนาคต การงานและชีวิตส่วนตัวของผู้กราบจะเจริญ
รุ่งเรือง ด้วยอานุภาพแห่งความกตัญญู
ขอให้ท่านน้อมระลึกถึงพระคุณของพ่อแม่ในขณะที่กราบพร้อมขอขมาท่านด้วยใจจริง น้อมสำนึกว่าจะไม่ทำความผิดต่อพ่อแม่อีกทั้งในภพนี้และภพหน้า



5. ไหว้ครั้งที่ห้า เพื่อกราบไหว้บูชาขอขมาพระสยามเทวาธิราชและพระมหากษัตริย์ ท่านเหล่านี้ล้วนมีบุญบารมีในการปกปักรักษาบ้านเมือง บำบัดทุกข์บำรุงสุขให้บ้านเมือง
ของพวกเรา พึงกราบไหว้ก่อนนอนเพื่อขอขมาและขอบารมีท่านมาปกปักรักษาสร้างสิริมงคล
ให้ชีวิต ขณะกราบพึงน้อมระลึกสำนึกในหน้าที่ที่ท่านต้องทำเพื่อประเทศชาติ สิ่งศักดิ์สิทธิ์จะมาอนุโมทนาและคอยส่งเสริมกิจการงานท่านให้เจริญรุ่งเรือง





6. ไหว้ครั้งที่หก เพื่อกราบไหว้บูชาขอขมาครูบาอาจารย์ทั้งทางโลกและทางธรรมทั้งหลาย ไม่ว่าท่านเหล่านั้นจะมาในรูปแบบไหน ( เช่น เป็นเพื่อน เป็นครู เป็นคนรู้จัก เป็นเจ้านาย ฯลฯ ) พึงน้อมระลึกสำนึกในบุญคุณของพวกท่านเหล่านั้นและขอขมาต่อสิ่งที่ได้ทำผิดพลาด
ลงไป



7. ไหว้ครั้งที่เจ็ด เพื่อกราบไหว้ขอขมาเจ้ากรรมนายเวร ทั้งที่ยังมีชีวิตอยู่และเป็นดวงวิญญาณจากหลายภพหลายชาติ ( แม้แต่สัตว์ที่ท่านทานเข้าไป ) ให้ท่านน้อมระลึกในความทุกข์ของท่านที่กำลังประสบอยู่ ยิ่งทุกข์มาก แสดงว่ากรรมท่านก็มาก เพราะเคยทำผิดไว้มาก ตามกฏแห่งกรรมธรรมดาโลก ให้ท่านขอขมาเจ้ากรรมนายเวรทั้งหลายที่ท่านเคยล่วงเกินไว้ไม่ว่าจะในภพนี้หรือภพที่ผ่านๆมา เพื่อขออโหสิกรรมจากเจ้ากรรมนายเวร พึงน้อมสำนึกว่าจะไม่ก่อกรรมร้ายใดๆอีกตราบเท่าที่จะพยายามทำได้เพื่อไม่ให้เป็นภาระในกาล
ข้างหน้าอีก ( การไม่ก่อกรรมชั่ว คือการไม่สร้างหนี้สินให้ตัวเอง )



หลังจากไหว้ครบ 7 ครั้ง พึงน้อมจิตแผ่เมตตาดังนี้



“ พรหมโลก เทวโลก มนุษยโลก นรกโลก มารโลก ตลอดทั่วขอบรอบจักรวาล ทุกรูปทุกนาม จงเป็นสุขเป็นสุขเถิด อย่าได้มีเวรซึ่งกันและกันเลย ขอให้ทุกรุปทุกนาม จงมีแต่ความสุขกาย
สุขใจ อย่าได้มีความทุกข์กายทุกใจเลย ขอให้ทุกรุปทุกนาม จงมีแต่ความสบายจิตสบายใจ รักษาตนให้พ้นจากทุกข์ภัยทั้งหลายทั้งสิ้นเทอญ ”



อานิสงค์จากการไหว้บูชาขอขมา 7 ครั้งก่อนนอน



1. ทำให้เป็นที่รักใคร่ของมวลสัตว์โลก และโลกวิญญาณทั้งเบื้องล่างและเบื้องบน

2. หน้าที่การงานเจริญรุ่งเรือง ทำมาค้าขึ้น ยศตำแหน่งรุ่งเรือง เจ้านายเมตตา

3. สิ่งศักดิ์สิทธิ์คุ้มครอง ไปที่ไหนก็แคล้วคลาดจากอันตรายต่าง

4. จิตแจ่มใส มีสติ มีความเมตตาและความอ่อนโยนอยู่เนือง ๆ

5. สติปัญญาดี ไม่อับจนหนทาง

6. ปราศจากเจ้ากรรมนายเวรอาฆาตพยาบาท

7. เงินทองไหลมาเทมาด้วยอานุภาพของสิ่งทั้ง 7 ที่กราบไหว้

8. จิตเกิดสมาธิได้เร็ว จิตไม่มีมารมาคอยทำให้ฟุ้งซ่าน

9. ปัญหาชีวิตคลี่คลาย จากหนักเป็นเบา

10. ครอบครัวเจริญรุ่งเรือง รักใคร่ปรองดอง


www.agalico.com/board/showthread.php?t=1092

วันอังคารที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2551

ประวัติองค์พระศิวะ

ประวัติองค์พระศิวะ




พระอิศวร (ศิวะ) มหาเทพแห่งการทำลาย

บทบาท ความสำคัญ พระศิวะทรงเป็นมหาเทพผู้เป็นใหญ่ในจักรวาล พระองค์จะทรงประทานพรวิเศษให้แก่คนผู้หมั่นกระทำความดี และยึดมั่นในศีลธรรมเท่านั้น หากผู้ใดประพฤติเพื่ออุทิศถวายแก่พระองค์แล้วปรารถนาสิ่งวิเศษใด ๆ ก็ให้พรนั้น พระศิวะจะประทานสิ่งวิเศษให้ในไม่ช้า แต่เมื่อได้พรสมปรารถนาแล้ว วันหน้าหากกระทำผิดไปจากความดีงามคนผู้นั้นจะเกิดวิบัติในชีวิต พระศิวะเทพผู้จะกลายเป็นเทพผู้ทำลายทันที มีความเชื่อกันว่าพระศิวะนั้นสามารถช่วยปัดเป่ารักษาเยียวยาอากาศเจ็บไข้ได้ ป่วยต่าง ๆได้อย่างมหัศจรรย์นัก หากผู้ใดที่เจ็บป่วยหรือต้องการขอพรให้คนในครอบครัวหายเจ็บไข้ได้ป่วย หากบวงสรวงบูชาและขอพรจากพระศิวะ ก็มักปรากฏว่าความเจ็บไข้ได้ป่วยนั้นจะถูกปัดเป่าให้หายไปได้โดยสิ้นในเร็ว วัน ผู้ที่มีความทุกข์ไม่ว่าจะเป็นในทางใด หากบวงสรวงบูชา ขอพรให้พ้นทุกข์ พระศิวะก็จะประทานพรให้ผู้นั้นได้พ้นจากห้วงแห่งความทุกข์ได้เช่นกัน

ลักษณะของพระอิศวร (ศิวะ)

รูป ลักษณ์ของพระศิวะนั้นมีปรากฏมากมายหลายลักษณะด้วยกัน แต่จุดเด่นที่ถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของพระศิวะก็คือ รูปพระจันทร์เสี้ยวและดวงตาดวงที่ ๓ บนหน้าผาก สร้อยประคำที่เป็นหัวกะโหลกและงูที่คล้องพระสอหรือคอของพระองค์อยู่นั้น ก็ถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของพระศิวะที่เป็นที่รู้จักกันแพร่หลาย เล่ากันว่า ที่มาของงูพิษที่พระศิวะทรงคล้องคอไว้ประดับองค์เป็นเอกลักษณ์พิเศษนั้นไม่ ธรรมดาเลยทีเดียวเพราะพระองค์ไม่ได้ไปจับมาจากพงหญ่าป่าใหญ่ที่ไหน แต่มีผู้ส่งมามาให้พระองค์โดยเฉพาะ คนผู้นั้นก็คือนักบวชผู้นี้มีภรรยาหลายคนแต่บรรดาภรรยาของเขาเกิดมาหลงใหลใน เสน่ห์อันล้ำลึกขององค์พระศิวะ ด้วยความไม่พอใจเป็นอย่างยิ่ง นักบวชจึงส่งเสือร้ายตัวโตไปจัดการสังหารพระศิวะ แต่ว่าพระศิวะเป็นกลับเป็นฝ่ายพิชิตเสือด้วยพระหัตถ์ของพระองค์อย่างสบาย ๆ แถมยังฉีกเอาหนังสือมาเป็นที่ปูพื้นไว้รองนั่งอีกด้วย เมื่อส่งเสือมาไม่ได้ผล นักบวชผู้เคียดแค้นแสนริษยาก็ส่งอสรพิษร้ายตัวใหญ่มาจัดการพระศิวะ แต่อสรพิษร้ายกับถูกพระศิวะร่ายเวทมนต์สยบเอาไว้ได้โดยที แล้วพระองค์ก็จับเอางูพิษนั้นมาคล้องคอเป็นเครื่องประดับสุดพิศดารไม่ซ้ำแบบ ใคร นักบวชผู้ไม่ยอมแพ้ยังคงคิดลองของ ส่งอสูรร้ายมาสังหารพระศิวะในเวลาต่อมา และพระศิวะก็ทรงสยบอสูรร้ายตนนั้นได้ด้วยท่าทีลีลาร่ายรำอันน่าพรั่นพรึง ซึ่งสะท้านสวรรค์สะเทือนดิน แม้แต่บรรดาทวยเทพทั้งปวงก็พากันมาเคารพนบนอบยอมรับในความยิ่งใหญ่ของมหาเทพ องค์นี้ มหาเทพองค์อื่น ๆ นั้น ก็ล้วนแล้วแต่รูปลักษณ์มากมายหลายรูปที่แตกต่างกันไป แต่ในรูปที่แตกต่างนั้นก็จะมีส่วนที่ละม้ายคล้ายคลึงกันบ้าง ในรายละเอียดของสีพระวรกายหรือสิ่งของที่ทรงถือไว้ในพระหัตถ์ แต่สำหรับพระศิวะนั้น กล่าวได้ว่ารูปลักษณ์ของพระองค์นั้นค่อนข้างจะมีเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่สามารถ สังเกตได้ง่ายไม่สับสนวุ่นวายเหมือนกับจดจำรูปลักษณ์ของมหาเทพองค์อื่น ๆ เป็นแน่ พระศิวะนั้นเป็นเทพที่นิยมประพฤติองค์เป็นโยคีหรือผู้ถือศีล ดังนั้นรูปของพระองค์จึงมักปรากฏเป็นเทพที่ทรงเครื่องแบบที่ค่อนข้างติดดิน สักหน่อย เป็นต้นว่า ทรงแต่งองค์คล้าย ๆ พวกโยคะหรือพวกฤาษีสยายผมยาวแล้วม่นมวยผมเป็นชฎาบนศีรษะ ทรงนุ่งห่มด้วยหนังกวางบ้าง หนังเสือบ้าง คัมภีร์โบราณหลายเล่มนั้น กล่าวถึงสีพระวรกายของพระศิวะแตกต่างกันไป บางคัมภีร์ระบุว่าพระวรกายของพระศิวะนั้นเป็นสีแดงเข้มราวกับเปลวไฟหรือ โลหิต บางคัมภีร์ว่าพระวรกายขององค์พระศิวะนั้นเป็นสีขาว นวล บริสุทธิ์ ดั่งสีของพระจันทร์ แต่หลาย ๆ คัมภีร์กล่าวไว้ตรงกันว่า พระศิวะนั้นเป็นเทพที่มีพระเนตร ๓ ดวง คือดวงที่ ๓ นั้นจะปรากฏขึ้นอยู่บนหน้าผากขององค์โดยปรากฏเป็นดวงตารูปแนวนอนบ้าง รูปตั้งทรงพุ่มช้างบิณฑ์บ้าง และดวงตาที่ ๓ นี้สามารถมองเห็นอดีตและอนาคตได้อีกด้วย รูปลักษณ์ของพระศิวะนั้น มีรายละเอียดแตกต่างกันไปตามแต่ละปาง

อาวุธของพระอิศวร (ศิวะ)

อาวุธ ในปางต่าง ๆ ที่มีอยู่มากมายหลายสิบปางนั้น มักจะปรากฏพระกรแต่ละข้างของพระศิวะนั้นทรงถืออาวุธที่แตกต่างกันไป แต่ส่วนใหญ่อาวุธที่ถือได้ว่าเป็นเอกลักษณ์ของพระองค์นั้น คือคทา - ที่ยอดเป็นรูปหัวกะโหลก ชื่อ ชัฏวางค์ตรีศูล - ชื่อ ปีนากคันศร - ชื่อ อชคพนอกจากนั้นอาวุธของพระศิวะที่ปรากฏว่าทรงถืออยู่ในหลาย ๆ ปางหลาย ๆ รูปลักษณ์ก็คือ บัณเฑาะว์ พระสังข์ บ่วงบาศ เปลวเพลิง พระขรรค์

พาหนะของพระอิศวร (ศิวะ)

โค ที่มีนามว่า อุศุภราช คือ โคเผือกที่เป็นพาหนะประจำขององค์พระศิวะโค อุศุภราช นี้บางครั้งก็มีชื่อเรียกกันไปอีกว่า โคนนทิราช ซึ่งกำเนิดที่ไม่ธรรมดาคือโคนี้ไม่ได้เกิดขึ้นมาจากพ่อโค แม่โคเหมือนกับโคอื่น ๆ แต่ทว่ากำเนิดเกิดจากมหาเทพเลยทีเดียวเรื่องของเรื่องก็มีอยู่ว่าในการกวน เกษียรสมุทรครั้งยิ่งใหญ่ของทวยเทพทั้งปวงนั้น ก็ได้มีสิ่งวิเศษเกิดขึ้นมากมายหลายสิ่งด้วยกัน และนางโคสุรภีก็เป็นของของวิเศษอีกสิ่งหนึ่งที่ได้จุติขึ้นมาจากการกวน เกษียรสมุทรครั้งนั้น พระกัศยปะนั้นก็มีความต้องการที่จะได้นางโคสุรภีเอาไว้เป็นพาหนะประจำองค์ แต่ทรงติดอยู่เล็กน้อยที่ว่านางโคสุรภีนั้นเป็นโคเพศเมีย หากนำมาเป็นพาหนะประจำองค์นั้น ก็ทรงอยากจะได้โคเพศผู้เสียมากกว่า ดังนั้นพระกัศยปะจึงได้นิรมิตกายเป็นพ่อโคตัวผู้แล้วก็ไปผสมพันธุ์สมสู่กับ นางโคสุรภี จนกระทั่งแม่โคตั้งครรภ์และให้กำเนิดลูกออกมาเป็นโคเพศผู้สีขาวบริสุทธิ์และ มีลักษณะดีตั้งตรงตำราเป็นพิเศษ พระกัศยปะจึงได้ประทานนามให้กับโคเผือกที่เป็นโอรสนั้นว่า นนทิหรือนันทิ และได้ถวายให้เป็นพาหนะประจำองค์คอยติดตามรับใช้พระศิวะมหาเทพสืบต่อมา แต่ในบางคัมภีร์นั้นก็กล่าวถึงประวัติการกำเนิดของโคนนทิราชนี้แตกต่างออกไป ด้วยกล่าวว่าแต่เดิมนั้นโคนนทิราช หรือ โคอุศุภราชนี้เป็นเทพบุตรองค์หนึ่งบนสรวงสวรรค์ชั้นฟ้า ซึ่งทพบุตรองค์นี้ก็มีนามว่านนทิ มีหน้าที่เป็นเทพที่คอยคุ้มครองดูแลบรรดาสัตว์สี่เท้าทั้งปวงที่อาศัยอยู่ใน ป่าใกล้ๆ กับเขาไกรลาส และเทพนนทิที่เป็นเทพที่ครองสัตว์จัตุบาททั้งปวงนั้นก็มักจะนิรมิตองค์เอง ให้กลายเป็นโคเผือก เพื่อให้พระศิวะได้เสด็จประทับไปยังแห่งหนต่าง ๆจนเป็นเสมือนพาหนะประจำพระองค์ไปโดยปริยาย ซึ่งในคัมภีร์โบราณนั้นยังบันทึกไว้ด้วยว่า เทพบุตรนนทิองค์นี้ไม่ได้เป็นคู่เทพที่จะมาแปลงกายเป็นโคให้พระศิวะได้เสด็จ ประทับเป็นพาหนะเท่านั้น แต่พระนนทิ ก็ยังเป็นหัวหน้าแห่งเทพบริวารทั้งหลายทั้งปวงของเทพพระศิวะอีกด้วย บางคัมภีร์กล่าวว่าพระนนทินอกจากจะเป็นเทพผู้ครองสัตว์จัตุบาทหรือสัตว์สี่ เท้าทั้งมวลแล้ว ยังเป็นเทพที่เป็นนักดนตรีอีกด้วย ยังปรากฏว่าได้เคยร่วมนาฏกรรมรำฟ้อนกับองค์พระศิวะบ่อย ๆ โดยรับหน้าที่ตีตะโพนคอยให้จังหวะในขณะที่องค์พระศิวะร่ายรำระบำฟ้อน ในวโรกาสสำคัญ ๆ ต่าง ๆ และนนทิโคพิเศษที่เป็นพาหนะประจำองคืพระศิวะและเป็นหัวหน้าเทพบริวารของพระ ศิวะนี้ยังมีความสำคัญอีกมากมายที่ทำให้บรรดามวลมนุษย์ที่บวงสรวงบูชาพระ ศิวะนั้น ก็จึงได้นิยมบวงสรวงบูชาโคนนทิด้วย โดยยกย่องให้เป็นโคพิเศษ เป็นโคศักดิ์สิทธิ์ที่เปรียบเสมือนกับเป็นสัญลักษณ์แห่งพระศิวะมหาเทพ ดังนั้นการที่ชาวฮินดูไม่นิยมฆ่าวัวก็เป็นเพราะเคารพยกย่องและบูชาโคนนทิ ซึ่งเป็นโคศักดิ์สิทธิ์สำหรับมวลมนุษย์นั่นเอง ตามเทวลัยหลาย ๆแห่งของลัทธิไศวนิกาย ก็จะปรากฏว่ามีการสร้างรูปเคารพของวัวนนทิไว้ให้ชาวบ้านชาวเมืองได้มา สักการะบูชาด้วย

ที่ประทับของพระอิศวร (ศิวะ)

ที่ ประทับพระศิวะนั้น ทรงประทับอยู่บนยอดเขาไกรลาส เปรียบเสมือนเป็นวิมานของพระองค์ ตามคัมภีร์นั้นได้บันทึกไว้ว่า พระศิวะเสด็จมาเยือนมนุษย์โลกหนึ่งครั้งเท่านั้นในแต่ละปี วันที่จะเสด็จลงมาจากยอดเขาไกรลาสนั้น คือวันขึ้น ๗ ค่ำ เดือนยี่ และพอถึงวันแรม ๑ ค่ำ เดือนยี่ ก็จะเสด็จกลับสู่ยอดเขาไกรลาสซึ่งเป็นที่ประทับของพระองค์

พระมเหสีของพระอิศวร (ศิวะ)

พระ ศิวะทรงมีเอกอัครมเหสีคือ พระแม่อุมามหาเทวี หรือชาวฮินดูนิยมเรียกกันว่าพระนางปาราวตี ซึ่งเป็นอิตถีเทพ ที่งดงามเป็นยิ่งนัก และยังเป็นเทพเทวีที่มีผู้คนนิยมบวงสรวงบูชามากมายว่าเทพนารีองค์อื่นองค์ใด พระแม่ปราวตีหรือพระแม่อุมามหาเทวีนี้นั้น เป็นมเหสีคู่พระทัยของพระศิวะ ซึ่งปรากฏอยู่ในทุกคัมภีร์ทุกตำราเลยทีเดียว ด้วยเพราะพระศิวะนั้นไม่ปรากฏว่าจะมีพระชายาอีกมากมายดังมหาเทพองค์อื่น ๆ พระศิวะมีเพียงพระคงคาและพระนางสนธยาเท่านั้นที่เป็นพระชายาคู่บารมีอีก ๒ พระนาง พระแม่คงคานั้นแต่เดิมก็เป็นพระชายาองค์รอง ๆ ของพระนารายณ์หรือพระวิษณุ ซึ่งเมื่อได้มีเรื่องมีราวขัดแย้งบาดหมางกันระหว่างบรรดาพระชายาพระวิษณุ จนก่อเหตุให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญใจ พระวิษณุจึงได้นำพระแม่คงคามาถวายให้เป็นพระชายาของพระศิวะและพระแม่คงคา นั้นโดยแท้จริงแล้วเป็นพระพี่นางของพระแม่อุมาอัครมเหสีของพระศิวะอีกด้วย ส่วนพระนางสนธยานั้นเป็นธิดาของพระพรหม มหาเทพอีกพระองค์หนึ่ง ซึ่งมีความผิดในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง จนเป็นเหตุให้พระพรหมผู้เป็นบิดาทรงกริ้วนัก และปรารถนาที่จะลงโทษพระธิดาสนธยาอย่างหนัก ซึ่งพระธิดาก็เกรงกลัวที่จะถูกลงโทษทัณฑ์ จึงได้แปลงกายเป็นนางเนื้อหลบลี้หนีพระบิดาไปเสีย พระพรหมเองก็ไม่ยอมลดละ ด้วยความกริ้วถึงกับนิรมิตองค์เป็นกวางตามนางเนื้อไปในทันที พระศิวะได้ทรงบังเอิญมาพบเห็นเข้า ก็จึงได้มีความเห็นใจพระธิดาสนธยา ครั้นจะห้ามปรามพระพรหมผู้เป็นบิดาของพระนางสนธยาก็ดูจะกระไรอยู่ จึงได้ยับยั้งความกริ้วของพระพรหมในครั้งนั้นด้วยการแผลงศรไปถูกเศียรกวาง ขาดกระเด็น เมื่อพระพรหมกลับคืนมาสู่ร่างเดิม ก็จึงได้คลายความโกรธ และพระศิวะก็ได้พูดคุยกับพระพรหมให้ยกโทษให้กับพระธิดา และการขออภัยโทษแก่พระนางสนธยานั้นคงจะไม่เป็นการสำเร็จโดยง่าย พระศิวะจึงได้ใช้วิธีทูลขอพระนางสนธยามาเป็นพระชายาด้วยความเกรงอกเกรงใจกัน พระพรหมจึงได้ยินดียกพระธิดาให้ไปเป็นพระชายาของพระศิวะ ด้วยเหตุนี้เองที่พระธิดาสนธยาจึงไม่ต้องถูกพระบิดาลงโทษ ดังนั้นจึงเห็นได้ว่าการที่มีพระชายาเพิ่มขึ้นมานั้นไม่ได้เป็นเพราะพระศิวะ ออกไปแสวงหาด้วยความมากรักหลายใจแต่อย่างใด

พระโอรสของพระอิศวร (ศิวะ)

พระ ศิวะทรงเป็นพระบิดาของพระพิฆเนศวรและพระขันทกุมาร พระโอรส ๒ พระองค์นี้ประสูติจากพระนางปาราวตี หรือพระแม่อุมา อัครมเหสีคู่บารมี ซึ่งก็ไม่ปรากฏว่าพระศิวะจะทรงมีโอรสธิดากับพระชายาอื่น ๆ อีกหรือไม่ พระโอรส ๒ พระองค์ของพระศิวะนั้นก็ไม่ใช่เทพธรรมดา ๆ แต่ทว่ามีความสำคัญต่อสวรรค์และโลกมิใช่น้อย พระพิฆเนศวรทรงเป็นมหาเทพที่มีเศียรเป็นช้างมีงาเดียว บรรดาพวกศิลปินทั้งหลายล้วนนับถือบูชาพระพิฆเนศวรกันเป็นที่แพร่หลายจนถึงใน ปัจจุบัน และกว้างขวางไปทั่วโลกด้วย แม้แต่ในบ้านเราก็สักการะบูชาพระพิฆเนศวรกันมิใช่น้อย พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว พระมหากษัตริย์ทรงเปี่ยมพระอัจฉริยภาพทางศิลปการประพันธ์ก็ยังทรงนับถือพระ พิฆเนศวร ได้ทรงโปรดให้สร้างเทวาลัยพระคเณศ ณ ศูนย์กลางของพระราชวังสนามจันทร์ สำหรับบวงสรวงบูชาให้เป็นสิริมงคลและเป็นเสมือนศาลเทพารักษ์แห่งพระราชวัง สนามจันทร์ด้วยส่วนพระขันทกุมารนั้นทรงเป็นเทพแห่งสงครามมีรูปลักษณ์เป็นเทพ ที่งามสง่าแฝงไว้ด้วยความห้าวหาญชาญชัยในลักษณะของนักรบ ชาวอินเดียจะสักการะบูชาพระขันทกุมารในช่วงเดือน ๕ ขึ้น ๖ ค่ำ ซึ่งเรียกกันว่า “พิธีกรรตติเกยะ” อัน เป็นพิธีกรรมที่มีเพียงแต่บวงสรวงบูชาและมีระบำรำฟ้อนตัวเทพการบูชาเทพองค์ อื่น ๆ เพราะการบูชาพระขันทกุมารนี้จะมีการละเล่นเป็นเกมกีฬาและกรีฑาหลากหลาย ประเภทที่จะมุ่งเน้นการแข่งขันที่แสดงความแข็งแรงและเชี่ยวชาญทางอาวุธ เช่น การยิงธนู เป็นต้นสำหรับพระธิดานั้น บางคัมภีร์บันทึกว่าพระศิวะไม่ได้ทรงมีลูกสาวเลยแม้แต่องค์เดียว แต่บางคัมภีร์ระบุว่าพระศิวะมีลูกสาวองค์เดียวคือ พระนางมาริษาหรือมนสาเทวี อิตถีเทพผู้เป็นที่กล่าวขวัญกันว่างดงามเป็นยิ่งนัก แต่ทว่าในคัมภีร์ก็กล่าวว่าพระธิดาองค์นี้จะประสูติจากพระมเหสีองค์ใดของพระ ศิวะก็มิอาจทราบได้ เพราะมิได้ปรากฏหลักฐานอันใด จึงมีการสันนิษฐานกันว่า อาจจุติมาจากการที่พระศิวะทรงนิรมิตเสกสรรขึ้นมาเองก็เป็นได้และไม่มีทางที่ พระนางมาริษาจะเป็นธิดาของพระศิวะที่ประสูติจากพระนางปาราวตีหรือพระแม่อุมา เพราะมีเรื่องร่ำลือกันว่า พระนางมาริษาไม่ค่อยถูกชะตากับพระอัครมเหสีของผู้เป็นพระบิดาเท่าใดนักพระ นางมาริษากับพระนางปาราวตีมีเรื่องขัดแย้งกันบ่อย ๆจนฝ่ายอ่อนเยาว์กว่าได้ตัดสินใจเสด็จลงมาประทับบนโลกและสถิตย์อยู่ในฐานะ เทพนารีที่ประทานพรต่อมนุษย์ จึงมีผู้คนนิยมสักการะบูชากันไม่น้อยในเวลาต่อมา ในบางคัมภีร์ก็ยังระบุว่า พระศิวะมีลูกสาวอีกองค์หนึ่งคือ พระนางเนตาเทวี และก็มิได้บ่งบอกไว้เช่นกันว่าพระมารดาของพระนางเนตาเทวีคือใครกันแน่ แต่ถึงอย่างไรเรื่องราวของพระนางเนตาเทวีก็มิค่อยปรากฏบทบาทใด ๆ มากนักในแวดวงเทพเทวะโดยทั่วไปมักจะมีความเชื่อกันแต่เพียงว่า พระศิวะทรงมีพระโอรสเพียง ๒ พระองค์เท่านั้นคือพระพิฆเนศวรกับพระขันทกุมารนั่นเอง พระอิศวรนั้นเรียกอีกพระนามหนึ่ง คือพระศิวะ ในคัมภีร์วิษณุปุราณะบันทึกไว้ว่าพระอิศวรเกิดขึ้นมาจากที่พระนลาฏหรือ หน้าผากของพระพรหม ในขณะที่พระพรหมกำลังบำเพ็ญตบะจนแก่กล้า และมีพระเสโทไหลซึมที่พระนลาฏ แต่บางคัมภีร์ก็ได้บันทึกไว้ว่าขณะที่พระพรหมบำเพ็ญตบะ จนถึงกาลอันแก่กล้าแล้วนั้นได้ใช้เปลือก ไม้ขูดที่พระขนงจนพระฉวีถลอก และมีโลหิตหยดหนึ่งหยดลงบนกองไฟทำให้บังเกิดเป็นองค์เทพบุตร ซึ่งพระพรหมได้ขนานนามว่ารุทรหรือพระศิวะ หรือพระอิศวรนั่นเอง แต่บางตำราก็กล่าวว่านางสุรภีชายาองค์หนึ่งของพระกัศยปะเทพแห่งบิดรนั้นได้ เป็นผู้ประสูติ พระอิศวรซึ่งเมื่อพระศิวะได้กำเนิดเกิดขึ้นมาแล้วนั้นก็เอาแต่ร่ำไห้เป็นการ ใหญ่จึงได้รับขนาน พระนามว่ารุทรซึ่งหมายถึงการร่ำไห้นั่นเองแต่อย่างไรก็ตามในคัมภีร์ต่าง ๆ ล้วนกล่าวไว้ว่าพระศิวะเป็นเทพที่มีอิทธิฤิทธิ์ปาฏิหาริย์มากมายสูงส่ง เหนือเทพเทวะใดๆ พระศิวะนั้นนอกจากจะเป็นเจ้าผู้เป็นใหญ่ หรือเป็นเทวบดีแห่งสรวงสวรรค์ทั้งปวงแล้ว ยังเป็นเทพแห่งการสร้างและการทำลายอีกด้วย ซึ่งมีสถานะอยู่เหนือการพิธียัญกรรมทั้งปวงใดๆ ในคัมภีร์รามายณะและมหาภารตะนั้นกล่าวว่าพระศิวะเกิดขึ้นจากการนิรมิตของพระ เวท และพระธรรมที่ประสงค์จะนิรมิตเทพบุตรเพื่อเป็นใหญ่ขึ้นมาทำการสร้างโลกและ คุ้มครองปกปัก รักษาดูแลโลกทั้งสาม พระศิวะจึงมีฤทธิ์และปาฏิหาริย์สูงมากมาย พระอิศวร หรือพระศิวะเทพ มหาเทพแห่งการทำลายและธรรมปัญญา พระศิวะยังมีนามอื่นๆ อีกมากมายนอกจากนามพระอิศวร.. ซึ่งเป็นที่กล่าวกันอยู่ในคัมภีร์ทั่วๆไปแล้วยังมีพระนามในความหมายต่าง ๆ อีกดังนี้ พระวิศวนาถ, พระจันทรเศขร, พระอโฆระ, พระนิลกัณฐ์, พระภาละ, พระคงคาธร, พระไภรพ, พระคีรีศะ, พระ ตรีโลกจนาและ พระมฤตยูนชัย พระศิวะเทพ ปางกามันกามูรติ หมายถึงปางพระอิศวรทำลายพระกามเทพ กล่าวไว้ว่าพระกามเทพอุทิศชีวิตเพื่อรักษาพระเป็นเจ้าให้พ้นจากการรุกราน ของอสูรที่ชื่อ “ทาราคา” ซึ่ง เรื่องมีว่าพระนางสตี ซึ่งเป็นลูกสาวของ ทักษะปาชาปติ ได้เข้าพิธีแต่งงานกับพระศิวะทั้งที่บิดารังเกียจ จึงไม่เต็มใจยกลูกให้นักครั้งเมื่อพระนางสตีได้เสด็จไปสถานที่ที่บิดากำลัง ทำพิธีบูชายัญโดยไม่ได้รับเชิญ ผู้เป็นพ่อแสดงท่าทางรังเกียจและพูดเชิงดูถูกลูกสาวตน นางจึงกระโดยเข้ากองไฟเพราะความเสียใจและอับอายยิ่งนักต่อมาพระศิวะทรงทราบ เรื่องจึงทรงพิโรธ และได้เนรมิตร่างใหม่นามว่า “วีระภาดา” มา ทำลายพิธีบูชายัญของผู้เป็นพ่อตา และบังคับให้ขอโทษยอมรับผิดต่อพระองค์ที่เป็นต้นเหตุให้พระนางสตีสิ้นชีวิต ลง พระศิวะทรงเสียพระทัยยิ่งจึงหันมาบำเพ็ญสมาธิทรมานตน และตั้งพระทัยจะไม่ยุ่งเกี่ยวกับทางโลกและตัณหาราคาหรือรักหญิงใดอีกต่อไป แต่เหตุการณ์ในเวลานั้นได้มีอสูรชื่อทราคาได้อาละวาดสร้างความเดือดร้อนให้ พระเป็นเจ้าและเหล่าเทวดาพระเจ้าต้องการทำลายอสูรตนนี้ และเพ่งได้ถึงผู้ที่จะมาปราบอสูรซึ่งก็คือพระโอรสของพระศิวะเทพ เทพทั้งหลายได้ตกลงกันว่าต้องการให้พระศิวะประทานโอรสเพื่อปราบอสูรตนนี้ แต่ไม่มีเทพองค์ใดกล้าที่จะไปเฝ้าทูลขอกับพระศิวะด้วยเกรงกลัวในฤทธิ์เดชของ พระศิวะ จนในที่สุดจึงตกลงให้พระกามเทพ เทพแห่งความรัก บันดาลความคิดและความรักในสตรีเพศ ด้วยการให้พระกามเทพยิงศรที่ทำด้วยดอกไม้ใส่พระทัยของพระศิวะ ให้เลิกทรมานตนและหันมาสนใจสตรีคิดถึงการมีมเหสีเพื่อให้กำเนิดพระโอรส แต่การกระทำนี้เป็นผลร้ายต่อกามเทพเพราะพระศิวะทรงพิโรธที่ทำลายพิธีทรมานตน จึงใช้ไฟที่เกิดมาจากดวงตาที่สามเผาพระกามเทพจนมอดไหม้ แต่ก่อนที่จะสิ้นชีพพระกามเทพได้ทำงานสำเร็จด้วยการที่พระศิวะทรงเกิดความ รักในพระนางปารพตี (พระอุมา) ซึ่งเกิดจากเทพเจ้าแห่งเขาหิมาลัย และเกิดการอภิเษกขึ้นและต่อมาก็มีโอรสด้วยกันนามพระขันทกุมาร (พระนามอื่นๆ อาทิ พระกุมารา พระสุภามันยะ) พระโอรสองค์นี้ได้มาเป็นผู้ฆ่าอสูรทาราคา รูปเคารพส่วนมากที่พบพระศิวะมี ๒ หรือ ๔ กร ประทับนั่งบำเพ็ญตน คือพระกรวางอยู่บนหน้าตักขัดสมาธิ ถืองูและดอกไม้เป็นสัญลักษณ์ และมีรูปของกามเทพยืนอยู่ข้างหน้าพระศิวะ พระศิวะทรงเหลือบตามองพระกามเทพอยู่ส่วนกามเทพมีรูปร่างเป็นคนถือลูกศรที่ทำ ด้วยดอกไม้ คันธนูทำด้วยต้นอ้อย ด้านข้างซ้ายขวามีรูปพระชายาคือพระนางราตรีและพระนางวสันต ยืนอยู่ด้วย พระศิวะเทพ ปางอันทรากาสูรวทามูรติ รูปเคารพนี้เป็นปางดุร้ายและทำลายสิ่งอื่น สำหรับปางอันทรากาสูรวทามูรตินี้ เป็นปางฆ่าอสูรมีนามว่า “อันทราสูร” ซึ่ง เป็นกษัตริย์ที่มีฤทธิ์มากตนหนึ่ง ซึ่งเกิดรักใคร่ในพระนางปารพตี มเหสีของพระศิวะ อสูรตนนี้ต้องการลักพาพระนางปารพตีไปเป็นเมียตนให้ได้ ต่อเมื่อพระศิวะทรงทราบจึงทรงพิโรธและได้ทำการต่อสู้กับอันทราสูร แต่ด้วยฤทธิ์เดชของอสูรที่มีอยู่โดยหากมีเลือกออกจากตัวไม่ว่าจะมากหรือน้อย ก็ตาม หยดเลือดนั้นจะกลายเป็นตัวตนขึ้นมาใหม่เรื่อยไป ไม่สิ้นสุด การต่อสู้ในครั้งนี้ทำให้พระศิวะทรงใช้เวลาในการทำศึกนานออกไปมาก ดังนั้นพระศิวะจึงทรงเนรมิตเทพจามุนทร และพระแม่เจ้า ๗ พระองค์ เพื่อเข้าช่วยโดยการให้เทพจามุนทรและพระแม่เจ้าทั้ง ๗ พระองค์คอยกินเลือดอสูรเพื่อไม่ให้กลายร่างขึ้นมาใหม่ แต่เมื่อเวลาผ่านไปอสูรก็ยังคงปรากฏกายขึ้นเรื่อย ๆ จนพระศิวะต้องทูลขอให้พระนารายณ์เสด็จมาช่วยปราบอันทราสูรตนนี้ พระนารายณ์จึงบันดาลอิทธิฤทธิ์เอาชนะอสูรตนนี้จนภายหลังอสูรยอมอ่อนน้อม เคารพนับถือพระศิวะ ซึ่งพระองค์ทรงโปรดแต่งตั้งให้อันทราสูรตนนี้เป็นหัวหน้าของราชบริพารคนแคระ ของพระองค์สืบมา ลักษณะทางศิลป์ พระศิวะปางอันทรากาสูรวทามูรติ ทรงมี ๘ กร ๒ กร ถือตรีศูล ส่วนพระกรอื่น ๆ ทรงกลอง (บัณเฑาะว์) หรือระฆัง ดาบ หัวกระโหลกผี หนังช้าง และกรที่เหลือทำปางทาจานิ คือ นิ้วชี้เหยียดตรงไปด้านหน้า นิ้วอื่นงอเข้าหากัน มีรูปเทพธิดาโยเกสวารีนั่งอยู่ข้างหน้าพระศิวะ เทพธิดาองค์นั้นถือถ้วยสำหรับใส่หยดเลือดของอสูรอันทราสูร ส่วนอีกมือทรงถือกริช พระศิวะเทพ ปางกังกาลา-มูรติ ไภรระวะ “กังกาลา” แปลว่า กระดูกคนตาย ตำนานพราหมณ์ กล่าวว่าพระศิวะได้เนรมิตตนเป็นเทพนามว่า “ไภระวะ” เพื่อ ทดลองอำนาจอิทธิฤทธิ์ของพระพรหมผู้สร้างโลก ซึ่งพระพรหมไม่ยอมอ่อนน้อมต่อพระศิวะ จึงเกิดการต่อสู้ พระพรหมพลาดท่าถูกอาวุธตัดเศียรออกไปหนึ่งเศียร ตราบทุกวันนี้คงเหลือเพียง ๔ เศียร เมื่อผ่านมาพระศิวะทรงรู้ว่าบาปที่ทำลายเทพผู้ให้กำเนิดพราหมณ์ และผู้ให้วิชาแก่มนุษย์ทั้งหลาย ดังนั้นพระศิวะจึงเดินทางเพื่อแสวงหาที่ ๆ จะทำการล้างบาปในครั้งนี้ เมื่อพระองค์ทรงเดินทางถึงวิมานของพระนารายณ์จึงได้รับการแนะนำว่าให้ไปล้าง บาปที่เมืองพาราณสี ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวฮินดู พระศิวะจึงเสด็จไปยังเมืองนี้ในแดนโลกมนุษย์ เมื่อมาถึงบาปที่ติดตัวอยู่ก็หายไปสิ้น หลังจากนั้นจึงเดินทางกลับวิมานที่เขาไกรลาส ชาวฮินดูเชื่อในตำนานนี้ซึ่งถือว่า เมืองพาราณสี คือเมืองศักดิ์สิทธิ์เกี่ยวกับพระเป็นเจ้าของตน (ปัจจุบัน เมืองพาราณสีเป็นศูนย์กลางสำคัญและยิ่งใหญ่ที่สุดของวัฒนธรรมและศาสนาฮินดู) ลักษณะทางศิลป์ พระศิวะประทับยืนมีกายสีขาว มี ๒ กร หรือ ๔ กร ถือกวาง ไม้เท้า และกลองใหญ่และกระดูกคนตาย ทรงสวมมงกุฎสูงมีรูปพระจันทร์ครึ่งเสี้ยวประทับที่ยอดมงกุฏ และมีงูเป็นสังวาล คาดเข็มขัด เอวด้านซ้ายมีกริชเหน็บอยู่ ส่วนบริเวณรอบๆ พระองค์มีฤาษี คนธรรพ์ นักพรต นางอัปสร รายล้อมอยู่ ปัจจุบัน เทวาลัยในเมืองพาราณสี จะพบรูปเคารพของพระศิวะมี ๔ กร ถือ กระดูกคน กลอง ส่วนอีก ๒ กร ทรงกำลังทำท่าประคองศพคนตาย รูปเคารพปางนี้มี ๒, ๓ หรือ ๔ กรหากมี ๔ กร กรด้านขวาจะทำปางประทานอภัย และกรอื่นถืออาวุธ อาทิ ขวาน ตรีศูล และบ่วงบาศก์หากมี ๒ กร กรด้านหนึ่งจะทำปางประทานพร ส่วนอีกกรถือภาชนะ บรรจุหัวกะโหลกมนุษย์ ลักษณะพิเศษคือทำรูปเทพชายหญิงรวมอยู่ในร่างเดียวกัน ด้านขวาซึ่งเป็นพระศิวะจะสวมมงกุฎ พระกรรณใส่ตุ้มหูรูปงู หรือมังกรพระเนตรที่ ๓ หน้าผากปิดครึ่งหนึ่ง อาภรณ์หนังช้าง และยืนอยู่บนดอกบัว มีงูเป็นสังวาล และเข็มขัดด้านเทพหญิง คือพระอุมา (พระนางปารพตี) มีลักษณะคือสวมมงกุฎ สร้อยคอเพชร อาภรณ์ผ้าไหมยาวจรดข้อพระบาท พบประดิษฐานอยู่ในเทวสถานของลัทธิไศวะนิกาย พระศิวะเทพ ปางอรรธนารี รูปเคารพปางอรรธนารีศวร คือปางครึ่งหญิงครึ่งขาย รูปเคารพนี้ เป็นการรวมร่างคนละด้านของพระศิวะและพระอุมา คือ พระอุมาด้านซ้าย พระศิวะด้านขวาจากคัมภีร์ศิวะ ปุราณะกล่าวว่า พระพรหมก่อนจะสร้างโลกนั้นได้สร้างมนุษย์เพศชายเพียงเพศเดียว แต่เพศชายที่สร้างไม่มีอำนาจในการมีชีวิตอยู่บนโลกได้ เพราะขาดเพศหญิงมาเสริมกำลังและอำนาจ พระพรหมจึงบูชาบวงสรวงพระศิวะเพื่อให้โปรดแก้ปัญหา พระศิวะจึงปรากฏกายในปางอรรธนารี เมื่อเห็นภาพเนรมิตแล้วจึงเข้าพระทัยได้ทุกอย่างพระพรหมจึงเนรมิตเพศหญิง ขึ้นมาคู่เพื่อเป็นสิ่งเสริมกำลังซึ่งกันและกัน เพื่อเป็นการสร้างสรรค์ และความอุดมสมบูรณ์ของชีวิต หลังจากทรงสร้างมนุษย์มาแล้วอวัยวะเพศหญิงและชาย จึงเป็นสิ่งที่สำคัญเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ และเป็นวัตถุบูชา สัญลักษณ์การเกิดการสื่อต่อของเพศชายและหญิง พระศิวะเทพ ปางศารเภศมูรติ ศารเภศมูรติหมายถึง พระศิวะแปลงกายเป็นศารภา (สัตว์ ในจิตนิยายเพื่อทำลายนรสิงห์อวตาร) ชาวอินดูที่นับถือลัทธิไศวะนิกายนิยมบูชารูปเคราพนี้มากด้วยเหตุที่พระศิวะ เทพมีอำนาจเหนือกว่าพระนารายณ์ ซึ่งพระวิษณุอวตารเป็นนรสิงห์ เทพเศียรเป็นสิงโตแต่ตัวเป็นมนุษย์ เพื่อปราบอสูรที่ชื่อ “หิรัญยากาศิปุ” (ลัทธิ ไวษณพนิกายให้ความเคารพนับถือพระวิษณุอย่างสูงสุดนั่นเอง) หลังจากพระวิษณุฆ่าอสูรตายโดยใช้เล็บฉีกหน้าท้องควักเอาไส้ออกมาจนหมดแล้ว แต่พิษร้ายหรือฤทธิ์ของยักษ์ตนนั้นได้มารวมกันอยู่ที่นรสิงห์โดยไม่รู้ตัว หลังจากนั้นนรสิงห์รู้ว่าได้รับพิษร้ายของอสูรเข้าในสายเลือดแต่พระองค์ไม่ สามารถกำจัดหรือล้างความโหดเหี้ยมดุร้ายให้ออกจากร่างและจิตได้ จึงเที่ยวอาละวาดฆ่าทั้งมนุษย์และเทวดาไปทุกหนแห่งที่ผ่านก่อเป็นอันตรายต่อ มนุษย์และเทพทั้งมวล พระศิวะจึงทรงมาจุติเพื่อทำลายนรสิงห์ตนนี้ ทรงแปลงเป็นสัตว์ในจินตนาการ ชื่อ ศารภา มี ๒ หัว ๒ ปี ๘ ขา มีเล็บแหลมคมของสิงโตและมีหางยาวสัตว์ทั้งสองได้ต่อสู้กันจนนรสิงห์ถูกศารภา กัดและจับแหวะอกฉีกร่างออกเป็นชิ้นๆ อย่างน่าสยดสนอง เมื่อนรสิงห์สิ้นชีพแล้ว พระศิวะจึงนำเอาหนังนั้นมาสวมใส่เป็นอาภรณ์ แล้วเสด็จกลับสู่เขาไกรลาสที่ประทับ ลักษณะทางศิลป์ รูปเคารพปางศารเภศมูรติปัจจุบันหาดูยาก จะพบที่เทวาลัยในอินเดียใต้ซึ่งปัจจุบันคงเหลือเพียงไม่กี่องค์รูปเคารพนี้ ทำด้วยสัมฤทธิ์ ลักษณะคือพระศิวะในรูปของสัตว์ในจินตนิยายกำลังกางปีกออกทั้ง ๒ ปีก มีขาเป็นสิงโต มีเล็บที่แหลมคม ๔ ขา และหางเป็นสิงโตร่างกายท่อนบนเป็นคน หัวเป็นสิงโต ร่างกายท่อนล่างเป็นสิงโต มีมือมากถึง ๓๒ มือ แต่ละมือมีอาวุธและวัตถุต่าง ๆ ดังนี้ สายฟ้า มือหนึ่งทำกำหมัด อีกมือทำปางประทานอภัย วัตถุอื่นมี ลูกล้อ หอก ไม้เท้า ประตัก ดาบ ไม้กลมยาวที่ใช้ทำพิธีบูชา ขวานสงคราม กระดูกผี คันศร ดวงไฟที่กำลังลุกโชน บ่วงบาศก์ มือหนึ่งหนึ่งทำปางประทานพร คันศร ลูกธนู ธง ดาบ งูตัวเล็กๆ ดอกบัว หัวกระโหลกยี่ หนังสือ คันไถ ตะบอง และถือวัตถุอื่นๆ อีกซึ่งปางศารเภศมูรติ จะมีรูปนรสิงห์กำลังยืนอยู่ (รูปเป็นมนุษย์ มี ๒ มือกำลังทำท่าประนมอยู่ข้างหน้าลำตัว)

เทพแห่งการร่ายรำ

พระ ศิวะเป็นมหาเทพที่ค่อนข้างจะอยู่ในแนวของศิลปินมากกว่าเทพองค์อื่น ๆ บรรดาทวยเทพทั้งปวงต่างกล่าวขวัญกันถึงอารมณ์ศิลป์ของพระศิวะว่าเป็น เอกลักษณ์เฉพาะตัวไม่เหมือนใครและไม่มีใครเหมือน เป็นต้นว่าในเรื่องของการแต่งองค์ทรงเครื่อง พระศิวะก็ไม่ค่อยจะโปรดแต่งองค์ด้วยเครื่องทรงอันหรูหราตระการตาดั่งราชันย์ ไม่โปรดที่จะประดับแก้วแหวนเงินทองพราวระยับจับตาดั่งเทพส่วนใหญ่ พระศิวะทรงโปรดที่จะแต่งตัวปอน ๆ ห่มหนังสัตว์มุ่นพระเกศาไว้ลวก ๆ มีงูเป็นดั่งสายสังวาล พระองค์ชอบที่จะไปนั่งบำเพ็ญภาวนาตามป่าช้าที่เต็มไปด้วยเงาของภูตพราย สารพันนอกจากสไตล์ของพระองค์ที่ค่อนไปทางศิลปินผู้สมถะและใฝ่สันโดษแล้ว พระศิวะยังทรงเป็นศิลปินแท้ ๆ ที่ได้รับการยอมรับว่าทรงเป็นเจ้าของตำรับการร่ายรำระบำฟ้อนแห่งอินเดียเลย ก็ว่าได้ ด้วยเพราะทรงเป็นเทพแห่งศิลปะการร่ายรำ ปางหนึ่งของพระศิวะที่แสดงถึงฐานะของพระองค์ชัดเจนจึงเป็นปางที่ถือได้ว่า เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายนัก “ปางนั้นก็คือปางนาฏราช (nataraja)” ใน ตำนานเล่าว่า พระศิวะทรงชักชวนพระนารายณ์ปลอมแปลงโฉมเป็นสามี-ภรรยากันไป ณ ป่าแห่งหนึ่งเพื่อกำราบเหล่าดาบสที่ไม่ตั้งตนบำเพ็ญตบะและบูชาเทพอย่างที่ ควร ดาบสกลุ่มนั้นประพฤติตนเหลวไหล ใฝ่ไปในทางชั่วมากกว่าจะอยู่ในศีลในธรรม เมื่อทั้ง ๒ มหาเทพไปปรากฏตัวในป่านั้นในฐานะของโยคีหนุ่มกับภรรยาสาว (พระ นารายณ์ทรงปลอมเป็นภรรยาพระศิวะ) เหล่าดาบสผู้มากกิเลสตัณหาก็พากันมาเวียนวนเกี้ยวพาราสีสาวงามภรรยาของโยคี หนุ่ม โดยไม่สนใจหรอกว่านางเป็นผู้มีคู่มีเจ้าของแล้ว บรรดาเมียๆของดาบสต่างก็ไม่วางตนว่าไม่โสดแล้วต่างก็พากันมาให้ท่าทอดสะพาน โยคีรูปงามกันมิเว้นวาย เวลาผ่านไป ก็ไม่มีดาบสผู้ใดพิชิตภรรยาสาวของโยคีได้ ความพิศวาสจึงได้กลายเป็นความเคืองแค้น เหล่าดาบสจึงพากันสาปแช่งโยคีและเมียรักให้มีอันเป็นไป แต่ทว่าคำสาปนั้นหลับไม่เกิดผลใด ๆทั้งสิ้น พวกดาบสนั้นไม่อาจล่วงรู้ได้ว่าโยคีนั้นคือพระศิวะและภรรยานั้นคือพระ นารายณ์ อิทธิฤทธิ์เวทมนต์ใด ๆ ก็มิอาจกร้ำกรายผู้เป็นเทวะได้แน่นอน แต่ด้วยความไม่รู้นั้น จึงยังทำพวกดาบสกำเริบเสิบสานต่อไป พวกดาบสส่งยักษ์ชื่อ “มุยะละกะ” มา ปราบ พระศิวะก็ทรงสำแดงฤทธิ์เดช ใช้เท้าข้างหนึ่งเหยียบอกยักษ์ไว้ แล้วก็ทรงร่ายรำไปในลีลาอันวิจิตรพิสดารยิ่งนัก บรรดาดาบสทั้งหลายจึงยอมศิโรราบ กราบขอขมาต่อพระศิวะโดยดีเมื่อได้ตระหนักว่าตนกำลังอหังการกับมหาเทพเสีย แล้ว ณ เทวาลัยในเมืองจิทัมพรัม ได้มีรูปพระศิวะในท่าร่ายรำต่าง ๆ ถึง ๑๐๘ ท่าด้วยกัน บรรดาผู้ที่สักการะบูชาพระศิวะมักจะไปบูชาพระศิวะ ณ เทวาลัยแห่งนั้นเป็นจำนวนมากในแต่ละปีตามตำนานโบราณกล่าวว่า เมื่อพระศิวะทรงตีกลองเป็นจังหวะอันไพเราะ โลกใบนี้ได้เคลื่อนไหวไปตามจังหวะกลองนั้นด้วย และเมื่อพระศิวะทรงร่ายรำเคลื่อนไหวพระองค์และพระกรพลิ้วไป ก็เป็นเหตุให้บังเกิดสุริยะจักรวาลขึ้นในบัดนั้นเอง นักระบำของอินเดียจะต้องร่ายรำในท่าบูชาพระศิวะก่อนเสมอ แล้วจึงค่อยร่ายรำในท่าอื่น ๆ ต่อไป สำหรับท่ารายรำทั้ง ๑๐๘ ท่าของพระศิวะนั้น ล้วนเป็นท่าที่ต้องใช้อวัยวะทุกส่วนของร่างกายประกอบด้วย ไม่ว่าจะเป็น แขน ขา ข้อมือ เท้า เอว อก สะโพกหรือแม้แต่กล้ามเนื้อรอบดวงตา ลีลานาฏศิลป์แบบพระศิวะนั้นทั้งงดงามและน่าเกรงขาม นอกจากนี้ นาฏลีลาของพระศิวะนั้นเป็นต้นแบบของท่าฟ้อนรำแบบไทย ๆ เราด้วย ซึ่งได้นำท่าของพระศิวะมาประยุกต์ดัดแปลง เช่นเดียวกับท่าร่ายรำระบำฟ้อนของอีกหลาย ๆ ประเทศ ซึ่งได้ยอมรับว่ามีต้นแบบมาจากนาฏลีลาของพระศิวะเป็นส่วนมาก ผู้ที่เป็นศิลปินในแขนงการเต้นรำหรือฟ้อนรำมักจะนิยมบูชาขอพรจากพระศิวะให้ เกิดความรุ่งเรืองในชีวิต ด้วยการบูชาพระศิวะด้วยดอกลำโพง

ปางของพระอิศวร (ศิวะ)

เป็น ที่พอใจก็เลยเสด็จมา นับเป็นครั้งแรกที่มาในปางอรรธนารีศวร เพศหญิงรูปเคารพของพระศิวะปางที่สำคัญ ๆ และพบเห็นกันแพร่หลายมีดังนี้ ปางจักราธนมูรติ (วิษณุวาณุครหมูรติ) อันเนื่องจากพระวิษณุเทพได้ทำสงครามกับอสูรบนสวรรค์ และเกิดความเพลี่ยงพล้ำไม่อาจชนะฝ่ายอสูรได้ จึงได้ทำพิธีบูชาพระศิวะเทพขึ้น ด้วยการบูชาพระองค์ด้วยดอกบัววันละ ๑,๐๐๐ ดอกทุกวัน จนวันหนึ่งหาดอกบัวไม่ได้พระวิษณุเทพจึงควักลูกตาของตนเพื่อถวายบูชาแก่องค์ ศิวะเทพ พระองค์ทรงพอพระทัยมาก จึงประทานลูกล้อ หรือ จักรหินสัญลักษณ์ของพระศิวะเทพเพื่อให้เป็นอาวุธของพระวิษณุต่อไป ปางนนทิศานุครหมูรติ สรังคยานะเกิดมาไม่มีบุตรสืบสกุล จึงไปขอพระเป็นเจ้า วิษณุเทพได้ประทานบุตรมาให้ตน ด้วยพอใจการบวงสรวงบูชาของฤาษี บันดาลอิทธิฤทธิ์ให้เด็กถือกำเนิดจากสีข้างของพระองค์ ทารกนี้รูปร่างเหมือนพระศิวะ ทรงประทานนาม “นนทิเกศวร” ซึ่ง ได้พรจากพระศิวะ ต่อมานนทิได้นำพิธีทรมานร่างกายบนยอดเขามันธระเพื่อให้เข้าถึงพระศิวะเจ้า พระศิวะเทพโปรดปรานมาก ทรงปรากฏตัวให้เห็นและรับเอาฤาษีนนทิเป็นหัวหน้ามหาดเล็กรับใช้อยู่ที่เขา ไกรลาส ทรงแต่งตั้งให้เป็นเทพบุตรนนทิเกศวร ส่วนพระชายาของเทพบุตรพระองค์นี้คือ นางสุยาศุบ้างก็ว่า เทพบุตรพระองค์นี้ตัวเป็นมนุษย์ หัวเป็นโค ปางกิรทารชุนมูรติ ท้าวอรชุน (ในมหากาพย์ภารตะ) ทำพิธีบูชาพระศิวะเพื่อขอประทานลูกธนูศักดิ์สิทธิ์ให้ตนเพื่อไปยิงอสูร ท้าวอรชุนได้บวงสรวงอยู่ที่เขาไกรลาส พระศิวะใช้มายาแปลงเป็นหมูป่าเข้าทำร้ายพราหมณ์หนุ่มและท้าวอรชุน พราหมณ์หนุ่มต้องการยิงหมูป่า อ้างว่าตนเห็นก่อน แต่ท้าวอรชุนไม่ยอม บอกว่าตนต่างหากที่เห้นก่อนจากนั้นทั้งคู่ก็เลยต้องเดิมพันด้วยการต่อสู้กัน ก่อน ไม่ว่าท้าวอรชุนจะใช้อาวุธใดก็มีอาจทำร้ายพราหมณ์หนุ่มได้ จนเมื่อท้าวอรชุนทรุดตัวลงกราบ พระศิวะพอพระทัยมอบลูกธนูวิเศษให้ไปปราบอสูร ปางราวันนานูครหมูรติ ทศกัณฐ์ เจ้าเมืองลงกา หลังจากทำสงครามกับท้าวกุเบร ได้เสด็จผ่านเทือกเขาหิมาลัยเห็นว่ามีทัศนียภาพอันน่ารื่นรมย์ ตั้งใจจะเข้าไปชมสถานที่ แต่เจอนนทิเกศวรหัวหน้ามหาดเล็กของพระศิวะเทพขวางทางไว้ เพราะเขาไกรลาสเป็นที่ประทับของพระศิวะเทพและพระนางปราวตี ห้ามผู้ใดล่วงล้ำเข้าสู่เขตพระราชฐาน ทศกัณฐ์โกรธขู่อาฆาตและสาปแช่งว่า นนทิต้องสิ้นชีพด้วยน้ำมือลิง แต่นนทิเกศวรบอกว่า ทศกัณฐ์ต่างหากที่ต้องสิ้นชีพด้วยน้ำมือลิง ทศกัณฐ์โกรธเตรียมจะยกเขาไกรลาสขึ้นทุ่ม แค่โยกเขาด้วยอิทธิฤทธิ์เท่านั้น บรรดาเทวดาและมนุษย์ก็เดือดร้อนหนีกันจ้าละหวั่น พระนางปราวตีได้ทูลขอให้พระศิวะให้แก้สถานการณ์ ทรงใช้เท้าเหยียบที่พื้นลงเบา ๆเพื่อให้เขาไกรลาสตั้งดังเดิม ทรงปราบพยศอสูรทศกัณฐ์จนยอมศิโรราบ พระศิวะเทพโปรดประทานดาบศักดิ์สิทธิ์ให้จากนั้นทศกัณฐ์ได้เดินทางกลับกรุง ลงกา ปางกาลารีมูรติ ฤาษีตนหนึ่ง ได้ทำพิธีบูชาสวดมนต์อ้อนวอนขอลูกกับพระศิวะเทพทรงโปรดการบูชาจึงประทานลูก ให้แต่บอกว่าเด็กคนนี้จะอายุสั้น ฤาษีและภรรยาได้เลี้ยงดูลูกจนอายุ ๑๖ ปี ลูกชายไปได้บวงสรวงต่อพระศิวะระหว่างที่ชะตาถึงฆาตประจวบเหมาะว่า เป็นช่วงที่เด็กคนนี้กำลังบูชาศิวลึงค์อยู่พอดี พระยม-กาลแห่งความตายได้เดินทางจากเมืองนรกมารับตัวเด็กหนุ่ม พระศิวะเห็นดั่งนั้นทรงพิโรธทรงปรากฏกายออกจากศิวลึงค์เข้าเตะพระยม พระยมสู้ฤทธิ์พระศิวะไม่ได้จึงหนีไปพระศิวะประทานพรให้เด็กหนุ่มมีชีวิตเป็น อมตะ ปางกานันทกามูรติ ปางนี้คือปางพระศิวะทำลายเทพเจ้าแห่งความรัก (กามเทพ) อย่างที่ได้กล่าวแทรกไว้ในตำนานว่า เมื่อพระนางสตีเผาร่างตนเองไปนั้น พระศิวะเสียใจมาก และเข้าสู่สมาธิเป็นระยะเวลาอันยาวนาน ในที่สุดเมื่อพระนางมาจุติใหม่ โดยแบ่งภาคมาจากพระแม่ศักติ-ศิวา มาเป็นพระนางปราวตี กามเทพต้องทำหน้าที่เพื่อให้ศิวะเกิดความรัก เพื่อจะได้มีบุตรในการไปปราบอสูรชื่อ ทาราคา ในที่สุดเมื่อทุกอย่างสำเร็จ ทรงมีโอรสขึ้นมาคนหนึ่งชื่อ พระขันทกุมาร หรือ กาติเกยะ หรือกุมารา หรือสุภามันยะเพื่อไปปราบอสูร ปางอรรธนารีศวร ปางนี้เป็นปางครึ่งหญิงครึ่งชายในรูปลักษณ์ทางประติมากรรมนั้น จะแบ่งซีกระหว่างพระศิวะกับพระอุมาคอยพระศิวะอยู่ทางซีกขวา และพระอุมาอยู่ทางซีกซ้าย ซึ่งถ้าผู้ที่เข้าใจระบบความเชื่อแบบทวิลักษณะแบบจีน หรือ คัมภีร์หยิน-หยางย่อมเข้าใจได้ว่า -ชายขวา-หญิงซ้าย นั่นคือสูตรตามแบบฉบับของคัมภีร์นี้ ปางนี้ได้กำเนิดขึ้นครั้งแรก ครั้งเดียว ในสมัยการสร้างจักรวาล กล่าวคือ พระพรหมได้รับภารกิจให้สร้างมนุษย์เพศชายเพียงเพศเดียว แต่เพศชายเพียงอย่างเดียวไม่มีกำลังในการขยายเผ่าพันธุ์ในโลกได้ ครั้งจะสร้างเพศหญิงขึ้นมาก็ไม่รู้ว่าจะเอาแบบอย่างมาจากไหน พระพรหมจึงต้องบวงสรวงมหาเทวาธิเทวะ และมหาศิวะเทพ เพื่อให้เสด็จมาแก้ปัญหาที่ค้างคาใจอยู่พระพรหมบวงสรวงจนและเพศชายที่รวมกัน อยู่ในร่างเดียวกัน ทำให้พระพรหมเข้าใจในกำลังเสริมของเพศคู่นี้ อันจะนำมาซึ่งความอุดมสมบูรณ์และชีวิตใหม่

รวมพระนามของพระอิศวร (ศิวะ)

พระ เทวาธิเทวะ พระองค์ทรงเป็นเทพเจ้าผู้ยิ่งใหญ่พระผู้สร้างทุกสิ่งทุกอย่าง พระผู้เกิดก่อนทุกสิ่งทุกอย่าง พระผู้ที่ไม่มีวันเกิดและตาย พระองค์ทรงมีพระนามมากมาย แต่ละพระนามนั้นมีความหมายในตัวเองพระนามของพระมหาเทวะที่กล่าวถึงในโลก คือ ๑.พระสดาศิวะ (พระผู้เป็นใหญ่แห่งพระศิวะเทพ) ๒.พระหะระ (พระผู้ทำลายล้าง) ๓.พระมหารุทร (เทพเจ้าแห่งการทำลายล้าง) ๔.พระศังกร (เทพเจ้าผู้มีน้ำพระทัยเปี่ยมด้วยพระเมตตาสงสาร) ๕.พระปุษกร (พระผู้ทรงทำนุบำรุง) ๖.พระปุษกร (พระผู้ทรงทำนุบำรุง) ๗.พระอรธิคะมยะ (พระผู้ทรงเห็นใจต่อการอ้อนวอนของผู้กราบไหว้บูชา) ๘.พระสดาจาร (เทพเจ้าแห่งการกระทำอันสูงสุด) ๙.พระสรวะ (เทพเจ้าผู้อยู่ทั่วไปทุกหนแห่ง,พระผู้ประทานความผาสุข) ๑๐.พระมเหศวร (เทพเจ้า ยิ่งใหญ่) ๑๑.พระจันทรปีฑ (พระผู้มีพระจันทร์เสี้ยวเป็นมงกุฏ) ๑๒.พระจันทรเมาลี (พระผู้มีพระจันทร์เสี้ยวอยู่บนเมาลี) ๑๓.พระวิศวัมกเรศวร (เทพเจ้าแห่งแผ่นดิน) ๑๔.พระกาปาลิน (เทพเจ้าผู้ถือหัวมนุษย์ในพระหัตถ์) ๑๕.พระนีลโลหิต (พระผู้มีโลหิตสีน้ำเงิน) ๑๖.พระฑยานาธาร (เทพเจ้า แห่งการทำสมาธิกรรมฐาน) ๑๗.พระอัปริจเจทยะ (พระผู้มีแต่ความลึกลับ) ๑๘.พระโคริภัตรฤ (พระสวามีแห่งพระแม่โครีอุมา) ๑๙.พระคเณศวร (เทพเจ้าแห่งบริวารคณะ) ๒๐.พระอัษฏมูรติ (พระผู้มีรูปร่างทั้ง ๘ ประการแห่งจักรวาล) ๒๑.พระวิศวมูรติ (พระผู้มีรูป ร่างแห่งจักรวาล) ๒๒.พระตริวรคุ (พระผู้ให้มีการสร้างจักรวาลขึ้นมา) ๒๓.พระเทวะเทวา (เทพเจ้าแห่งเทวะทั้งหลาย) ๒๔.พระตริโลจนะ,พระตรีเนตร (พระ ผู้มีดวงตาสามดวง) ๒๕.พระวามเทวะ (เทพเจ้าผู้สมควรแก่การกราบไหว้บูชา) ๒๖.พระมหาเทวะ (เทพเจ้าผู้เป็นใหญ่) ๒๗.พระปตุ (พระผู้ประทานซึ่งผลบุญทั้งหลาย) ๒๘.พระทฤฑะ (พระผู้มีความมั่นคงไม่โอนเอน) ๒๙.พระวิศวรูป (พระ ผู้มีหลายรูปร่างลักษณะ) ๓๐.พระวิรูปากษะ (พระผู้มีดวงตาเป็นเลขคี่) ๓๑.พระวาคิศ (เจ้าแห่งวาทศิลป) ๓๒.พระสุรสัตตัม (เทพเจ้าดีเลิศที่สุด) ๓๓.พระฤษางคะ (เทพเจ้าผู้มีธงเป็นรูปวัว) ๓๔.พระวฤษวาหนะ (พระผู้มีวัวเป็นพาหนะ) ๓๕.พระอีศ (พระผู้เป็นใหญ่เหนือความยิ่งใหญ่ทั้งหมด) ๓๖.พระพินาคิ (พระผู้ทรงคันศรอันยิ่งใหญ่) ๓๗.พระจิรันตนะ (พระผู้เป็นอมตะ) ๓๘.พระตโมหระ (พระผู้ขจัดความโง่เขลาให้หมดสิ้นไป) ๓๙.พระมหาโยคิน (พระโยคียิ่งใหญ่) ๔๐.พระโคปัตฤ (พระผู้ให้ความคุ้มครองรักษา) ๔๑.พระพรหมมาทหฤต (พระดวงจิตแห่งจักรวาล) ๔๒.พระชฏิน (พระผู้มีเกษาเป็นลูกลอน) ๔๓.พระกาลกาล (พระ ผู้ประหารความตาย) ๔๔.พระกฤตติวาสัส (พระทรงนุ่งห่มด้วยหนังช้าง) ๔๕.พระปราณตาตมัก (พระวิญญาณแห่งผู้ที่มีความจงรักภักดีทั้งหมด) ๔๖.พระปุรุษ (พระวิญญาณยิ่งใหญ่แห่งบรรพบุรุษ) ๔๗.พระชุษยะ (พระผู้มีค่าควรแก่การกราบไหว้บูชา) ๔๘.พระทิวยายุช (พระผู้มีอาวุธอันยิ่งใหญ่) ๔๙.พระสกันฐะคุรุ (พระ อาจารย์แห่งพระกุมารสกันฐะ) ๕๐.พระปรเมษทิน (พระผู้ประทับอยู่บนยอดเขาสูงสุด) ๕๑.พระอนาทิมาธยะนิธยะนิธน (พระผู้ที่ไม่มีการเกิดเริ่มต้น ตอนกลางหรือการสิ้นสุด) ๕๒.พระคินีศทิม (เทพเจ้าแห่งภูเขาทั้งหมด) ๕๓.พระคิริชาธวะ (พระ สวามีแห่งพระแม่ปราวตี) ๕๔.พระกุเบรพันธุ (พระญาติแห่งพระพระกุเบร) ๕๕.พระศรีกันฑะ (แห่งพระศอ อันมีแสงเป็นประกาย) ๕๖.พระโลกาวรโรตมะ (พระผู้มีวรรณะสูงสุดกว่าวรรณะทั้งหมดในโลก) ๕๗.พระสมาธิเวทยะ (พระ ผู้เป็นใหญ่แห่งการทำสมาธิรำลึกถึง) ๕๘.พระนีลกัณฑะ (พระผู้มีพระศอสีฟ้า) ๕๙.พระวิศาลากษะ (พระผู้มีดวงเนตรอันกว้างใหญ่) ๖๐.พระสุเรศ (เจ้าแห่งเทพเจ้าทั้งหมด) ๖๑.พระสูรยตามัน (พระผู้เผาไหม้ด้วยแสงอาทิตย์) ๖๒.พระธรรมธยักษะ (พระประธานแห่งคุรธรรม) ๖๓.พระกัษมาเกษตร (เทพเจ้า ผู้มีพระทัยกว้างใหญ่ด้วยการให้อภัย) ๖๔.พระภัควัต (เทพเจ้ายิ่งใหญ่) ๖๕.พระภัคเนตรภิต (พระผู้ควักดวงตาของฤษี ภัคคะ) ๖๖.พระปศุปติ (เทพเจ้า แห่งความเมตตาและพระวิญญาณสูงสุด) ๖๗.พระปรันตัป (พระผู้ทำลายข้าศึกศัตรู) ๖๘.พระทยากร (พระผู้เต็มเปี่ยมด้วยความสมเพท) ๖๙.พระกปรทิน (พระผู้มีเกษาเป็นลูกลอน) ๗๐.พระกามศาสัน (พระผู้ทรงลงโทษพระกามเทพ) ๗๑.พระสัมศานนิสัย (เจ้าผู้อาศัยอยู่ ณ เชิงตะกอน) ๗๒.พระมหากรัตฤ (พระผู้สร้างจักรวาล) ๗๓.พระมเหษธิ (แพทย์ที่ยิ่งใหญ่) ๗๔.พระอัมฤตปะ (พระผู้ดื่มน้ำอมฤต) ๗๕.พระมหาเตชัส (พระผู้มีความสง่ายิ่งใหญ่) ๗๖.พระมหาธยุติ (พระนักรบยิ่งใหญ่) ๗๗.พระเตโชมัย (แห่งแสงสว่างยิ่งใหญ่) ๗๘.พระอัมฤตมัย (พระผู้เต็มเปี่ยมด้วยน้ำอมฤต) ๗๙.พระอันนมัย (แห่งอาหารธรรมชาติ) ๘๐.พระสุธาปติ (เทพเจ้า แห่งความยุติธรรม) ๘๑.พระปุราตัน (เทพเจ้าผู้มีความยิ่งใหญ่กว่าธรรมชาติ) ๘๒.พระนิติ (แห่งความยุติธรรม) ๘๓.พระศุทราตมัน (พระวิญญาณบริสุทธิ์) ๘๔.พระอาชาตศัตรู (ไม่มีศัตรูใดที่มีความยิ่งใหญ่ไปกว่าพระองค์ในจักรวาล) ๘๕.พระโลกัณกร (พระผู้สร้างจักรวาล) ๘๖.พระเวทกร (พระผู้ให้กำเนิดพระเวททั้งหมด) ๘๗.พระสนาตัน (พระผู้เป็นอมตะ) ๘๘.พระมหรษี (นักพรตยิ่งใหญ่) ๘๙.พระวิศวทปติ (พระ ผู้ให้แสงสว่างแก่จักรวาล) ๙๐.พระสุกฤต (พระผู้สมควรแก่การเคารพบูชา) ๙๑.พระสรวัท (พระผู้ประทานทุกสิ่งทุกอย่าง) ๙๒.พระพรหมสฤก (พระผู้สร้างพระพรหม) ๙๓.พระคงคาปละโวทัก (พระผู้ปล่อยให้แม่น้ำคงคาไหลลงสู่โลก) ๙๔.พระคงคาธร (เทพเจ้าแห่งแม่น้ำคงคา) ๙๕.พระวิชัตตาตมัน (พระผู้เอาชนะตนเอง) ๙๖.พระวิเธยาตมัน (พระ ผู้ควบคุมตนเอง) ๙๗.พระภูตวาหนะสวรธิ (พระผู้มีบริวารและพาหนะเป็นภูตปีศาจ) ๙๘.พระคณะกาย (ด้วยทรงมีบริวารคณะเป็นผู้คุ้มกัน) ๙๙.พระกามบาล (พระผู้ปกป้องแห่งความต้องการทั้งหลาย) ๑๐๐.พระภัสโมทธูลิตวิฌหะ (พระผู้ทาถูองค์ด้วยขี้เถ้าจากเชิงตะกอน) ๑๐๑.พระภัสมะปรียะ (พระผู้ทรงโปรดแห่งขี้เถ้าจากเชิงตะกอน) ๑๐๒.พระสมาวรัต (พระผู้ทรงหมุนวงล้อแห่งความมั่นคงของโลก) ๑๐๓.พระอนิวฤตตาตมา (พระผู้มีดวงวิญญาณที่ไม่รวนเรเปลี่ยนแปลง) ๑๐๔.พระอกลมัย (พระผู้ไร้บาป) ๑๐๕.พระจตุรพหุ (พระผู้มี 4 กร) ๑๐๖.พระทุราสัท (พระผู้ยากแก่การเข้าถึง) ๑๐๗.พระทุรคม (พระผู้ยากแก่การข้ามพ้นได้) ๑๐๘.พระทุรคะ (พระผุ้ยากแก่การเข้าถึง) ๑๐๙.พระสรวายุธวาศารัท (พระผู้มีความชำนาญในการใช้อาวุธทั้งหมด) ๑๑๐.พระศุภางคะ (พระผู้มีรูปร่างอันเป็นมงคล) ๑๑๑.พระโลกสารังคะ (พระผู้เป็นสาระสำคัญแห่งจักรวาล) ๑๑๒.พระอภีรุ (ไม่สามารถเข้าถึงได้ง่าย) ๑๑๓.พระสาธุสาทยะ (พระผู้จะสามารถเข้าถึงได้ด้วยการบำเพ็ญสมาธิเท่านั้น) ๑๑๔.พระริปุชีวหร (พระผู้ทำลายล้างศัตรู) ๑๑๕.พระมหาหรัท (น้ำวกวนลึก) ๑๑๖.พระวฤนทารวันทิต (พระผู้ได้รับการสรรเสริญบูชาจากเทพเจ้าทั้งหมด) ๑๑๗.พระวยาตรจรมามพร (พระ ผู้ทรงนุ่งห่มด้วยหนังเสือ) ๑๑๘.พระวยาลิน (พระผู้มีงูพันพระองค์) ๑๑๙.พระศัตรุชิต (พระผู้ปราบศัตรูให้หมดสิ้นไป) ๑๒๐.พระอาศรัม (พระเวทีแห่งชีวิต) ๑๒๑.พระวายุวาหนะ (ด้วยมีพระวายุเป็นพาหนะ) ๑๒๒.พระสัตยะพร (อุทิศเพื่อความดีและความซื่อสัตย์) ๑๒๓.พระอานันทะ (พระผู้ประทานพร) ๑๒๔.พระทังฑะ (พระผู้งลงโทษ) ๑๒๕.พระทัมยิตฤ (พระผู้อนุรักษ์) ๑๒๖.พระมหามายา (แห่งพระมายายิ่งใหญ่) ๑๒๗.พระวีตราคะ (พระผู้ไร้ตัณหาราคะ) ๑๒๘.พระกัมเลษัณ (พระ ผู้มีดวงเนตรดอกบัว) ๑๒๙.พระสรวกรมาลัย (ศูนย์รวมแห่งพิธีกรรมทางศาสนาทั้งหมด) ๑๓๐.พระมงคลยะ (เทพเจ้าแห่งมงคล) ๑๓๑.พระที่รฆตัปส์ (แห่งการบำเพ็ญพรตอันยาวนาน) ๑๓๒.พระปรัมตัปส (เทพเจ้าแห่งการทำกรรมฐานสูงสุด) ๑๓๓.พระสรวปาปหร (พระผู้ทำลายล้างบางทั้งหลาย) ๑๓๔.พระหระ (พระผู้กำจัดบาปทั้งหมด) ๑๓๕.พระกมัณฑลุธร (เทพเจ้าผู้ทรงถือหม้อน้ำมนต์) ๑๓๖.พระกาลโยคิน (เทพเจ้าผู้รวบรวมเวลาเอาไว้) ๑๓๗.พระมหานาท (พระผู้มีเสียงอันดัง) ๑๓๘.พระมโหสาหะ (แห่งความกระตือรือร้นยิ่งใหญ่) ๑๓๙.พระปุรันทร (พระผู้ทำลายเมืองทั้งหลายที่คล้ายเมืองสวรรค์) ๑๔๐.พระมหาสุทธิ (แห่งความฉลาดยิ่งใหญ่) ๑๔๑.พระมหาวีระ (แห่งความกล้าหาญยิ่งใหญ่) ๑๔๒.พระมโนคติ (พระผู้มีความนึกคิดได้กระจ่างแจ้งรวดเร็ว) ๑๔๓.พระมันฤตยะปรียะ (พระ ผู้ทรงให้กำเนิดการเต้นรำ) ๑๔๔.พระยุคารวตะ (ต้นเหตุแห่งการกำเนิดยุคทั้งหลาย) ๑๔๕.พระอิษฏะ (พระผู้สมควรแก่การกราบไหว้บูชา) ๑๔๖.พระสุรคณะ (พระผู้มีเทวะทั้งหมดเป็นบริวาร) ๑๔๗.พระอปามนิธิ (เทพเจ้าแห่งน้ำ) ๑๔๘.พระทรุชัย (ไม่ มีผู้ใดสามารถเอาชนะพระองค์ได้) ๑๔๙.พระวิทเยศ (เทพเจ้าแห่งบทโคลงทั้งหมด) ๑๕๐.พระวาตรูป (แห่งลม) ๑๕๑.พระตุหะ (เอกลักษณ์ด้วยพรการัตติเกยะ) ๑๕๒.พระวีเรศวร (เทพเจ้าแห่งนักรบทั้งหลาย) ๑๕๓.พระคุรุ (พระอาจารยิ่งใหญ่) ๑๕๔.พระตรีศูลิน (เทพเจ้าผู้ทรงมีตรีศูลเป็นอาวุธ) ๑๕๕.พระศิวาลัย (เทพเจ้าผู้มีที่ประทับอันเป็นมงคล) ๑๕๖.พระลลาฏากษะ (พระ ผู้มีดวงตาอยู่ระหว่างหน้าผาก) ๑๕๗.พระวีตตะภัย (พระผู้ไม่มีความหวาดกลัว) ๑๕๘.พระธเยย (พระผู้มีค่าควรแก่การนั่งกรรมฐานรำลึกถึง) ๑๕๙.พระปราณวะ (พระผู้ริเริ่มคำสวด โอม) ๑๖๐.พระชันมาธิป (เทพเจ้าแห่งการให้กำเนิด) ๑๖๑.พระวิภุ (พระผู้อยู่ทั่วไปทุกหนแห่ง) ๑๖๒.พระลักถาคมปารัค (เทพเจ้าผู้เป็นเจ้าแห่งพระเวททั้งหมด) ๑๖๓.พระฤษี (นักพรต) ๑๖๔.พระพรหมณ์ (พราหมณ์ ยิ่งใหญ่) ๑๖๕.พระชันมัมฤตยุราติค (พระผู้อยู่เหนือการเกิดแก่เจ็บและตาย) ๑๖๖.พระอนาทยันตะ (พระผู้ไม่เคยมีการเกิดและการตาย) ๑๖๗.พระคายตรีวัลลัภ (พระผู้ทรงโปรดต่อการท่องสวดมนตร์คายตรี) ๑๖๘.พระสุรศัตรูหา (พระผู้ประหารศัตรูทั้งหลายของเทพ) ๑๖๙.พระอิษฏเนมะ ๑๗๐.พระมุกันทะ (พระผู้ประทานพรให้พ้นจากบาปหรือทรงเป็นเอกลักษณ์ด้วยพระวิษณุเทพ) ๑๗๑.พระวิคตัชวร (ปราศจาก ความเจ็บไข้) ๑๗๒.พระสวยัมเชโยติ (พระผู้ทรงมีแสงสว่างในพระองค์เอง) ๑๗๓.พระอจัมเจล (พระผู้ไม่มีวันเปลี่ยนแปลง) ๑๗๔.พระกปิลัศมัศรุ (พระผู้มีเคราสีน้ำตาล) ๑๗๕.พระภาลเนตร (พระผู้มีดวงตาบนหน้าผาก) ๑๗๖.พระตรยีตนุ (พระ ผู้มีพระเวทประกอบเป็นรูปร่าง) ๑๗๗.พระมหานีติ (พระผู้ทรงความยุติธรรมยิ่งใหญ่) ๑๗๘.พระนาเกศ (พระผู้เป็นเจ้าแห่งสวรรค์) ๑๗๙.พระพฤหัทครถะ (พระผู้มีท้องอันกว้างใหญ่) ๑๘๐.พระนาคหารัธฤก (พระ ผู้ทรงสวมใส่เครื่องประดับแห่งงู) ๑๘๑.พระไวรัญจยะ (พระโอรสแห่งพระพรหม) ๑๘๒.พระอวตัมภุ (พระผู้ให้กำเนิดพระองค์เอง) ๑๘๓.พระอนิรุทร (ไม่ มีสิ่งใดขัดขวางพระองค์ได้) ๑๘๔.พระอจล (ไม่เคลื่อนไหว) ๑๘๕.พระโลหิต (สีแดง) ๑๘๖.พระตนุนปาต (เทพเจ้าแห่งไฟ) ๑๘๗.พระพฏษัทศวะ (เทพเจ้าแห่งลม) ๑๘๘.พระตมิศรหา (พระผู้ทำลายความมืด) ๑๘๙.พระนิฑาคหะ (แห่งฤดูร้อน) ๑๙๐.พระเมฆภักษะ (พระผุ้ทำร้ายก้อนเมฆร้าย) ๑๙๑.พระศิษิราค (แห่งฤดูร้อน) ๑๙๒.พระปาวัน (แห่งการบวงสรวงบูชา) ๑๙๓.พระโฆร (พระผู้มีมีความหวาดกลัว) ๑๙๔.พระจตุรเวท (แห่งพระเวททั้งสี่) ๑๙๕.พระสหสรมูรธน (เทพเจ้าผู้มีหนึ่งพันเศียร) ๑๙๖.พระเทเวนทร (เทพเจ้า แห่งเทวะทั้งหลาย) ๑๙๗.พระเทวอสุรคุรุ (พระอาจารย์แห่งเทพและอสูร) ๑๙๘.พระเทวเทพอสุรนมัสฤต (เทพเจ้าผู้ทรงได้รับการเคารพบูชาเทพและอสูร) ๑๙๙.พระเทวตาตมา (พระวิญญาณแห่งเทพเจ้าทั้งหมด) ๒๐๐.พระติชิ (เทพเจ้าแห่งไฟ) ๒๐๑.พระพรหมจาริน (พระเจ้าแห่งการพราหมณ์) ๒๐๒.พระลึงคาธยักษะ (เทพเจ้าแห่งพระสัญลักษณ์ลึงค์) ๒๐๓.พระยุคาปหะ (พระผู้ทำลายกาลเวลา) ๒๐๔.พระฆฤณารัณวะ (พระสมุทรแห่งความเมตตา) ๒๐๕.พระวิโศก (ปราศจากความทุกข์โศก) ๒๐๖.พระโศกนาศัน (พระผู้ทำลายความโศก) ๒๐๗.พระตรีโลกบาล (เทพเจ้าแห่งสามโลก) ๒๐๘.พระอโรกษัช (เอกลักษณ์ด้วยพระวิษณุเทพ) ๒๐๙.พระปรศิวะ (พระศิวะเทพยิ่งใหญ่) ๒๑๐.พระไกลาศศิธราวาสิน (พระผู้ประทับอยู่บนยอดเขาไกลาส) ๒๑๑.พระทรุหิณ (เอกลักษณ์ด้วยพระพรหม) ๒๑๒.พระสรวารถปริวรตัก (ต้น เหตุแห่งการเปลี่ยนแปลงของทุกสิ่งทุกอย่าง) ๒๑๓.พระสหัสรารจี (แห่งรัศมีพันสาย) ๒๑๔.พระอรถานรก (แห่งโชคดีและโชคร้าย) ๒๑๕.พระนิษกัณฏัก (เทพเจ้าผู้ไร้บัลลังก์) ๒๑๖.พระสาตตวิก (พระผู้มีความรักเอ็นดู) ๒๑๗.พระฤตตาคม (พระผู้สร้างอาคม) ๒๑๘.พระอคมปิต (พระไร้ความหวาดกลัว) ๒๑๙.พระสุขทะ (พระผู้ให้ความผาสุข) ๒๒๐.พระอัปราชิต (พระผู้ไม่เคยพ่ายแพ้ผู้ใดเลย) ๒๒๑.พระศรุติประกาศ (พระผู้เผยแพร่พระเวท) ๒๒๒.พระภูศายะ (พระผู้ประทับอยู่บนพื้นดิน) ๒๒๓.พระกาลหานิ (พระผู้ทำลายกาลเวลา) ๒๒๔.พระศานติปรายัณ (พระผู้ประทานความสงบสุข) ๒๒๕.พระศุภัท (พระผู้ประทานซึ่งโชคลาภยิ่งใหญ่) ๒๒๖.พระวิฆันนาคัน (พระ ผู้ทำลายอุปสรรคร้ายทั้งหมด) ๒๒๗.พระศุลิน (พระผู้ถืออาวุธร้ายแรง) ๒๒๘.พระมุณฑิน (พระผู้มีศีรษะโล้น) ๒๒๙.พระอมฤตยุ (พระผู้ไม่มีวันตาย) ๒๓๐.พระสรวัทฤก (พระผู้ทรงเห็นทุกสิ่งทุกอย่าง) ๒๓๑.พระสิงหะ (เทพเจ้าแห่งสิงโต) ๒๓๒.พระมหามณี (แห่งเพชรน้ำเอก) ๒๓๓.พระอนุตตมะ (พระผู้ดีเลิศที่สุด) ๒๓๔.พระมหาภูช (พระผู้มีพระกร ยิ่งใหญ่) ๒๓๕.พระสรวโยนิ (แห่งต้นกำเนิดของทุกสิ่งทุกอย่าง) ๒๓๖.พระสตุติปรียะ (พระผู้ทรงโปรดด้วยการสรรเสริญบูชา) ๒๓๗.พระนิตยสุนทร (เทพเจ้าผู้มีความงามเป็นอมตะ) ๒๓๘.พระศังกร ๒๓๙.พระวิศวปติ วศเวศวร

พระนามเด่นของพระอิศวร (ศิวะ)

นาม “พระศิวะ” นั้น มีความหมายถึง ความกรุณาหรือการชุบให้สะอาดใหม่ พระองค์มีพระนามมากมาย แต่ที่เด่นๆ มีความหมายที่ชัดเจนก็มีดังนี้ ๑. พระอิศวร หมายถึง ผู้เป็นใหญ่ ๒. มหาเทวะ หมายถึง มหาเทพผู้ที่มีความยิ่งใหญ่และเป็นใหญ่เหนือเทพอื่นใด ๓. จันทรเศขร หมายถึงผู้ที่มีรูปพระจันทร์เสี้ยวปรากฏอยู่บนหน้าผาก หรือมีปิ่นปักผมเป็น พระจันทร์ ๔. หริหระ หมายถึง ผู้นำไป ๕. ภวะ หมายถึง ทรงเป็นเอง ทรงเกิดเอง ๖. สยมภูหรือสวยมภู หมายถึง กำเนิดขึ้นเอง ๗. ปรเมศวร์หรือมเหศวร หมายถึง ผู้ที่เป็นใหญ่ที่สุด ๘. ศาทศิวะ หมายถึง พระศิวะผู้มีภารกิจอันใหญ่ยิ่ง ๙. อโฆระ หมายถึง เทพผู้มีความหน้าเกรงขาม ๑๐. อุคระวิศวนาถ หมายถึง เทพผู้เป็นที่พึ่งแห่งโลก ๑๑. อันธการิ หมายถึง ผู้เป็นศัตรูของพระอันธก (โอรสของพระกัศยปะและพระ แม่ทิติ) ๑๒. ภูเบศวร์ หมายถึง ผู้ที่เป็นใหญ่ในหมู่ภูติทั้งมวล ๑๓. รุทร หมายถึง ร้องไห้ ๑๔. ปัญจานนะ หมายถึง ผู้ที่มีใบหน้า 5 ใบหน้า ๑๕. มหากาฬ หมายถึง ผู้ที่มีอยู่เหนือเวลาและความตาย ๑๖. ตรีโลจนะ หมายถึง ผู้ที่มีดวงตาที่ 3 ๑๗. อิสาน หมายถึงผู้ปกครอง ๑๘. ทิคัมพร หมายถึง ผู้ที่นุ่งห่มสีฟ้า ๑๙. มฤตุญชัย หมายถึง ผู้ที่มีชัยชนะเหนือความตาย ๒๐. คังคธร หมายถึง ผู้ที่ทรงไว้ซึ่งคงคาในเกศา ๒๑. ภาควัต หมายถึง พระผู้เป็นเจ้า ๒๒. คิริษะ หมายถึง ผู้เป็นเจ้าแห่งเขา ๒๓. สถานุ หมายถึง ผู้ที่มีความตั้งมั่น ๒๔. สมรหระ หมายถึง ผู้สังหารกามา ๒๕. ศรีกัณฐะ หมายถึง ผู้ที่มีลำคองาม ๒๖. ซางการิ นามนี้ไม่ปรากฏความหมายแต่เป็นพระนามของพระศิวะที่ชาวอินเดียส่วนใหญ่นิยม เรียกขานกันโดยแพร่หลาย



พรแห่งอิศวร (ศิวะ)

แม้ จะเป็นมหาเทพที่ขึ้นชื่อลือชาว่าทรงประทานพรให้ใคร ๆ ง่ายดายนักหนา แต่ถึงอย่างไร ก่อนที่จะทรงประทานพรให้ผู้ใด พระศิวะจะทรงพินิจพิจารณาดูให้ถ่องแท้ก่อนเสมอ เมื่อเห็นว่าดีงามจริงแท้ก็จะประทานพรให้บุคคลผู้นั้นโดยไม่มีเงื่อนไขว่าจะ เป็นนักพรต โยคี ฤษี ดาบส ชาวบ้านธรรมดา เทพเทวะหรือแม้แต่สรรพสัตว์ สรรพอสูรทั้งหลายทั้งปวง แต่ดูเหมือนว่าในบางครั้งบางครา พรพระศิวะก็มักจะกลับกลายเป็นเรื่องเป็นราวโกลาหลมิใช่น้อย เป็นต้นว่าในคราหนึ่ง “พฤกาสูร” ยักษ์ ตนหนึ่งนั้นได้เฝ้าบำเพ็ญภาวนา อยู่ในศีลในธรรมสม่ำเสมอเป็นเวลานานปี และการบำเพ็ญพรตนั้นก็พลีแด่พระศิวะมหาเทพพฤกาสูรนี้มิใช่อสูรธรรมดา ๆ แต่เป็นถึงโอรสของพระกัศยปะเทพผู้ใหญ่องค์หนึ่งของสรวงสวรรค์เลยทีเดียว เมื่อเวลานานนับปีผ่านไป พระศิวะ ณ เขาไกรลาสทรงเห็นว่าอสูรตนนี้สรรเสริญบูชาพระองค์อย่างแน่วแน่ และบำเพ็ญตบะแก่กล้าไม่มีวอกแวกเหลวไหลแม้แต่น้อย พระองค์จึงเสด็จลงมาประทานพรให้ โดยพรนั้นก็คือให้พฤกาสูรนั้นมีมืออันเป็นเพลิงกรด หากมือแตะบนศีรษะผู้ใด ผู้นั้นจะถึงแก่มอดม้วยมรณาเพราะถูกฤทธิ์เดชเพลิงกรดจากมือของพฤกาสูรเผา ไหม้ให้เป็นจุลไปในทันทีไม่ว่าผู้นั้นจะเป็นเทพหรือผู้มีอิทธิฤทธิ์เพียงใด ก็ตามเมื่อพฤกาสูรได้พรแล้วก็แสนจะดีอกดีใจนัก แทนที่จะไปลองของดีกับผู้อื่น กลับคิดวิปริตกำริบ คิดจะลองของกับมหาเทพผู้ยิ่งใหญ่พฤกาสูรทูลพระศิวะว่า อยากรู้ว่าพรนี้มีผลจริงแท้ประการใดใคร่ขอวางมือลงบนพระเศียรของพระศิวะสัก หน่อยเถิด จะได้เกิดผลให้ได้ประจักษ์ พระศิวะถึงกับตกพระทัย ไฉนอสูรตนนี้จึงพิเรนทร์เช่นนั้น แต่พรของพระองค์นั้นศักดิ์สิทธิ์นัก ให้ไปแล้วจะลบล้างก็มิอาจกระทำได้ เมื่อจะถูกทดสอบเช่นนั้น พระศิวะก็ทรงกลับหลังหันแล้ววิ่งหนีทันที พฤกาสูรผู้เคยเป็นยักษ์แสนดี บัดนี้กลายเป็นยักษ์ลามปรามพยายามวิ่งไล่ตามจะเอามือแตะเศียรพระศิวะให้ได้ เหตุโกลาหลนี้บังเอิญล่วงรู้ถึงพระนารายณ์หรือพระวิษณุมหาเทพผู้เป็นเสมือน ผู้พิทักษ์อาณาจักรสวรรค์ พระนารายณ์จึงทรงแปลงกายเป็นชายหนุ่มธรรมดามายืนขวางพฤกาสูรแล้วก็เอ่ยถาม ว่าจะวิ่งไล่จับใครกันหรือพฤกาสูรก็ตอบตรง ๆว่า ตามหาพระศิวะเพื่อทดสอบพร พระนารายณ์ในร่างมานพน้อยรูปงามจึงแสร้งว่า จะตามหาพระศิวะทำไม อยากรู้ว่าพรนั้นสัมฤทธิ์ผลจริงแท้แค่ไหนก็ไม่ต้องไปแตะพระเศียรของพระศิวะ หรอก ก็ลองเอามือแตะหัวตัวเองก็คงจะได้รู้แล้วว่าพรจะบังเกิดผลเป็นจริงแท้แค่ ไหนอย่างไร พฤกาสูรคงฉลาดน้อยไปสักหน่อย เมื่อฟังแล้วก็เห็นฟ้องด้วยกับคำพูดหลอกล่อของพระนารายณ์ในที่สุด พฤกาสูรคงจะฉลาดน้อยไปสักหน่อย เมื่อฟังแล้วก็เห็นฟ้องด้วยกับคำพูดหลอกล่อของพระนารายณ์ในที่สุด พฤกาสูรจึงเมือแตะลงบนหัวของตัวเอง บัดดลนั้น พรพระศิวะก็สัมฤทธิ์ผล เพลิงกรดจากมือของพฤกาสูรก็ลุกโซนเผาไหม้พฤกาสูรจนมอดม้วยมรณาไปในบัดนั่น เอง พระศิวะทรงถอนพระทัยโล่งอก แล้วทรงให้สัจจะว่าวันหน้าวันหลังจะช่วยพระนารายณ์เป็นการตอบแทนบ้าง ซึ่งในเวลาต่อมา เมื่อพระนารายณ์อวตารไปเป็นพระรามปราบยักษ์ทศกัณฐ์อันเป็นศึกใหญ่ที่ไม่ง่าย ในการเอาชนะ พระศิวะก็ได้ทรงอวตารไปเป็นทหารเอกพระนารายณ์ที่แสนจะเก่งกาจฉลาดเฉลียวคน ผู้นั้นก็คือ หนุมาน นั่นเอง ! ซึ่งน้อยคนนักที่จะทราบว่า หนุมาน คือ พระศิวะส่วนใหญ่พวกเราจะทราบกันดีว่าพระนารายณ์ทรงอวตารไปถึง ๑๐ ปางด้วยกัน แท้จริงนั้น พระศิวะก็เคยอวตารไปเพื่อเฉพาะกิจเช่นกัน นอกจากเรื่องของพฤกาสูรแล้ว พรของพระศิวะที่เคยประทานให้ "ตรี ปุรำ"ยักษ์ระดับเจ้าครองนครนั้นก็ได้เกิดเรื่องราวสะเทือนสวรรค์ไม่น้อยเลย ทีเดียวเพราะพรนั้นคือให้ตรีปุรำ เป็นอมตะ ใครผู้ใดก็มีอาจฆ่าให้ตายได้ต่อมาตรีปุรำกำเริบเสิบสาน กลายเป็นยักษ์อันพาลเกะกะระราน แม้กระทั่งเทพเทวะทั้งปวงจนปั่นป่วนเดือดร้อนกันไปทั่ว พระศิวะทรงปราบด้วยองค์เอง แต่ก็มิอาจสังหารได้ เพราะตรีปุรำมีพรวิเศษจากพระองค์เองเป็นเกราะป้องกัน ตรีปุรำยังมีศิวะลึงค์ศักดิ์สิทธิ์ของพระศิวะคุ้มกายไว้อีกด้วย พระนารายณ์จึงทรงคิดหาอุบายช่วยพระศิวะ พระนารายณ์ทรงแปลงกายเป็นนักบวชผู้ทรงศีล ไปขอบิณฑบาตศิวลึงค์จากตรีปุรำ ยักษ์ตรีปุรำนั้นก็ถวายให้ด้วยดี เพราะเดิมในใจก็เป็นยักษ์ที่มุ่งในศีลในธรรมมาก่อนเมื่อตรีปุรำไร้ศิวลึงค์ พระศิวะก็ทรงกล้องแก้วส่องมาต้องกายของตรีปุรำจนเกิดเพลิงลุกไหม้เผาตรีปุรำ มอดเป็นจุลไปได้ในที่สุดยังมีอีกเรื่องหนึ่งที่เด่นดังไม่แพ้กันนั่นก็คือ เรื่องของนนทุก ยักษ์ชั้นผู้น้อยที่ถูกเทพเทวะข่มเหงบ่อย ๆจนเจ็บช้ำน้ำใจนัก พระศิวะจึงประทานพรวิเศษให้นนทุกมีนิ้วเพชร ถ้าชี้ไปยังผู้ใด ผู้นั้นก็จะด่าวดิ้นสิ้นใจตายทันที ต่อมานนทุกได้ใจ ใช้นิ้วเพชรเที่ยวได้ชี้ใครๆจนตายสิ้น เป็นที่เดือดร้อนกันทั่วสวรรค์ พระนารายณ์จึงรับอาสามาจัดการ ทรงอวตารเป็นนางเทพอัปสรผู้งดงามล้ำเลิศ มาหลอกล่อให้นนทุกร่ายระบำรำฟ้อนตามนางในหลากหลายท่วงท่าลีลา นนทุกเสน่ห์นางอัปสรแสนสวยที่มายั่วยวนชวนให้รัก ก็เผลอใจรำตามไปจนถึงท่าที่ต้องชี้นิ้วเพชรเข้าหาเท้าของตนเอง นนทุกจึงขาหักล้มทรุดลง นางเทพอัปสรก็กลายเป็นพระนารายณ์ขึ้นเหยียบอกสั่งสอน แต่นนทุกยังแย้งว่าพระนารายณ์มี ๔ กร ก็ย่อมเอาชนะตนได้ พระนารายณ์ก็ทรงเป็นลูกผู้ชายแท้ ๆ คนหนึ่ง จึงยอมต่อนนทุกโดยให้นนทุกไปเกิดใหม่เป็นยักษ์ที่มีถึง ๒๐ หน้า ๒๐ มือ แล้วก็ท้าไว้ว่าพระองค์จะตามไปสังหาร ด้วยเหตุฉะนี้นนทุกจึงไปเกิดเป็นทศกัณฐ์ผู้โด่งดังเป็นคู่ปรับของพระนารายณ์ ในกาลต่อมา เรื่องวุ่น เช่นนี้ก็มีที่มาจากพรของพระศิวะนั่นเองแต่พรวิเศษที่ทรงประทานให้แก่คนดี ๆ ก็มีมากมาย ใครที่มีความอดทน เป็นคนดี และศรัทธาในการบูชาพระองค์อย่างมุ่งมั่น จะได้รับการประทานพรวิเศษจากพระองค์เสมอไป

วิถีโยคี

เป็น ที่ทราบกันดีว่าพระศิวะทรงเป็นมหาเทพที่มีผู้นิยมสักการะบูชามากที่สุดองค์ หนึ่ง นอกจากจะสามารถบูชาพระองค์ได้ในค่ำคืนอันศักดิ์สิทธิ์ ๔ ลักษณะ (คือ นิตยศิวาราตรี -มาส ศิวาราตรี-มาฆาศิวาราตรี และมหาศิวาราตรี) แล้วนั้น ชาวฮินดูที่นับถือพระศิวะก็ยังนิยมบูชาพระองค์ในทุก ๆเดือน โดยยึดเอาวันจันทร์เป็นหลักเหตุที่ต้องยึดวันจันทร์ก็เพราะว่า พระจันทร์นั้นเป็นสัญลักษณ์ประดับพระเมาลีของพระศิวะ บางกลุ่มคือเอาคืนวันจันทร์ข้างแรมเป็นสำคัญและบางกลุ่มก็ถือเอาคืนพระ จันทร์วันเพ็ญของแต่ละเดือนเป็นวันสักการะบูชามหาเทพในเทศกาลบูชาพระศิวะจะ มีการก่อกองไฟ ตกแต่ง ศิวลึงค์ด้วยมาลัย ดอกไม้ และประพรมศิวลึงค์ด้วยน้ำนมสดบ้าง น้ำศักดิ์สิทธิ์จากแม่น้ำคงคาบ้าง เครื่องสักการะบูชาก็มีมากมายทั้ง เนย นม ผลมะตูม ใบมะตูม และเครื่องหอมต่าง ๆ หลังจากสวดมนต์และทำพิธีการจนเสร็จสิ้นแล้วบรรดาชาวบ้านก็นิยมนำเครื่อง สักการะบูชากลับไปที่บ้านเพื่อให้เกิดสิริมงคลโดยสมบูรณ์ ผู้ที่บูชาพระศิวะนั้นเชื่อกันว่า หากหมั่นบูชาพระองค์อย่างสม่ำเสมอ และตั้งตนอยู่ในความดี เมื่อขอพรใด พระองค์ก็จะประทานให้พรนั้นสัมฤทธิ์ผลจึงนอกจากจะมีพวกชาวบ้านทั่วไปนิยม สักการะบูชาพระองค์ตามธรรมเนียมพิธีโดยปกติแล้ว ก็ยังมีอีกบางกลุ่มที่มุ่งมั่นบูชาพระองค์ในลักษณะของการประพฤติตนเป็นโยคี บำเพ็ญภาวนาในท่วงท่าลีลาต่าง ๆเพื่อถวายเป็นสักการะแด่พระศิวะพวกโยคีนั้นมีมากมายหลายประเภท หลักการหนึ่งที่ไม่แตกต่างกันก็คือการมุ่งแสวงหาทางละกิเลส ชำระจิตใจให้บริสุทธิ์บางพวกเชื่อว่าการทรมานตนในท่วงท่าต่างๆนั้นคือการทำ ให้ร่างกายและเนื้อหนังมังสาไร้ความรู้สึกใดๆ จิตใจจะได้มีพลังแรงกล้า และสามารถสัมผัสกับองค์พระศิวะได้ โยคีส่วนใหญ่ปฏิบัติในลักษณะการทรมานตนอย่างสุดพิเศษ ซึ่งอาจจะผิดไปจากวิถีแห่งการบำเพ็ญเพียรอันถูกต้อง แต่แก่นแท้ที่น่าสนใจคือการมุ่งในการฝึกเพื่อควบคุมร่างกายและจิตใจ ดั่งจะเห็นว่าในการฝึกโยคะในแบบสากลนั้นให้ประโยชน์แก่คนเราอย่างมากเพราะ เป็นเรื่องของการฝึกหายใจควบคุมลมปราณ ดัดร่างกายในท่าทางต่างๆซึ่งเป็นเรื่องที่ละเอียดอ่อน และอยู่ในหลักการของ "การ ทำสมาธิ"นั่นเองโยคีกลุ่มที่บูชาพระศิวะนั้นสังเกตได้ว่าจะนิยมก่อกองไฟไป ด้วยในขณะบำเพ็ญตบะ และมักจะมีเครื่องหมายที่หน้าผาก ซึ่งเขียนแต้มด้วยสีหรือขี้เถ้าบ้างเพื่อแทนสัญลักษณ์ดวงตาหรือพระเนตรดวง ที่ ๓ ของพระศิวะ การบำเพ็ญภาวนาด้วยพลังจิตอันแรงกล้า ทำให้พวกโยคีคล้ายดั่งมีพลังอำนาจเหนือธรรมชาติและเชื่อกันว่าพวกเขาจะมี วิญญาณเป็นอมตะ แม้เมื่อจิตละสังขารและวิญญาณก็จะได้รับใช้ใกล้ชิดองค์พระศิวะในที่สุด

ศิวลึงค์

วัตถุ โบราณที่ถูกสร้างสรรค์ให้เป็นรูปอวัยวะเพศชายนั้น เป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะที่ผู้คนนิยมสักการะบูชากันตั้งแต่อดีตโบราณ ตราบจนปัจจุบันนี้ด้วยความเคารพศรัทธากันอย่างกว้างขวางซึ่งเรียกว่า “ศิวลึงค์” เป็น เสมือนรูปเคารพแทนพระองค์ ที่มีปรากฏอยู่ในเทวสถานทุกแห่ง และก็มีธรรมเนียมประเพณีที่จะจัดพิธีกรรม เพื่อบูชาศิวลึงค์นี้โดยเฉพาะอีกด้วย จึงกล่าวได้ว่าสัญลักษณ์ของพระศิวะมหาเทพนี้ค่อนข้างจะแตกต่างกับมหาเทพองค์ อื่น ๆ ตรงที่มีสัญลักษณ์แทนพระองค์เป็นรูปอวัยวะเพศชาย ที่ดูค่อนข้างจะพิสดารมิใช่น้อยและชวนให้ฉงนสงสัยในความเป็นมาแห่งสัญลักษณ์ นี้ กำเนิดของศิวลึงค์นั้นปรากฏเป็นเรื่องราวที่ค่อนข้างจะแปลกแยกแตกต่างกันออก ไป ตามแต่ละคัมภีร์ แต่ละในศาสนาต่าง ๆ ทางคติพราหมณ์ซึ่งบางตำราก็กล่าวว่าองค์พระศิวะนั้นทรงตั้งพระทัยที่จะ ประทานรูปศิวลึงค์หรือรูปเคารพที่เป็นรูปอวัยวะเพศชายที่ให้กับสาวกทั้งหลาย ทั้งปวงของพระองค์ได้สักการะบูชาแทนพระองค์ ซึ่งการที่ประทานรูปเคารพเช่นนี้ ก็เนื่องมาจากในงานบูชาพระตรีมูรติ หรือมหาเทพทั้ง ๓ ซึ่งประกอบไปด้วยพระพรหม พระวิษณุและพระศิวะ ที่จะต้องแสดงพระวรกายให้สาวกได้เห็นเป็นบุญตา ซึ่งพระพรหมก็จะปรากฏพระวรกายออกมาในรูปลักษณ์ที่มี ๔ พักตร์ ๔ กร ส่วนพระวิษณุก็จะปรากฏพระวรกายมาในรูปลักษณ์ที่เป็นมหาเทพมี ๑ พระพักตร์ ๒ พระกร แต่สำหรับพระศิวะนั้นทรงปรากฏพระวรกายในรูปกายที่แปลกแหวกแนวสักหน่อย คือไม่ปรากฏออกมาเป็นรูปองค์เทพโดยตรงแต่กลับแสดงพระวรกายให้ปรากฏออกมาเป็น รูปอวัยวะเพศชาย ซึ่งก็เปรียบเสมือนกับเป็นสัญลักษณ์ของผู้ชายไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือมหาเทพ นั่นเอง ดังนั้นหลังจากงานพิธีกรรมบูชาเทพตรีมูรติ หรือมหาเทพทั้ง ๓ พระองค์นี้แล้ว บรรดาสาวกก็ได้สร้างศาลรูปเคารพเทพตรีมูรติทั้ง ๓ ตามที่ตนเห็น ซึ่งก็คงจะหมายถึงว่าได้สร้างรูปเคารพเทพตรีมูรติทั้ง ๓ ตามที่ตนเห็น ซึ่งก็คงจะหมายถึงว่าได้สร้างรูปเคารพพระพรหมเป็นรูปที่มี ๔ พักตร์ ๔ กร และสร้างรูปเคารพพระนารายณ์เป็นรูปมหาเทพผู้งดงามมี ๑ พระพักตร์ ๒ พระกร และสำหรับพระศิวะนั้นสาวกก็ได้สร้างรูปเคารพให้เป็นรูปอวัยวะเพศชายตามที่ พวกตนได้พบเห็นปรากฏแก่สายตา อันเป็นรูปจำลองเป็นสัญลักษณ์แทนพระศิวะนั่นเอง ในคัมภีร์โบราณอีกเล่มหนึ่งนั้นได้บันทึกไว้ว่า ในวันหนึ่งพระศิวะกำลังร่วมภิรมย์เสพสมกับพระแม่อุมาอัครมเหสีอย่างแสนสุข สันต์ในวิมารของพระองค์บนเขาไกรลาส แต่การเสพสมภิรมย์รักนี้ มิได้กระทำกันในห้องบรรทมส่วนพระมิได้กระทำกันในห้องบรรทมส่วนพระองค์แต่ อย่างใด การสมสู่ชู้ชื่นครั้นนี้ พระศิวะและพระแม่อุมาทรงกระทำกันกลางท้องพระโรงเลยทีเดียว ดังนั้นบังเอิญเมื่อพวกทวยเทพทั้งปวงที่กำลังจะมาเข้าเฝ้าพระศิวะ ได้พบเห็นเข้าก็จึงรู้สึกว่าพระศิวะนั้นกระทำการอันไม่บังควรเป็นอย่างยิ่ง หากทรงกระทำกันในห้องบรรทมส่วนพระองค์ ก็คงจะไม่ใช่เรื่องผิดแปลกแต่อย่างใด แต่หน้าท้องพระโรงนั้นเป็นที่เปรียบเสมือนห้องรับแขก ที่ย่อมจะต้องมีผู้คนผ่านเข้าออกได้เสมอ และเมื่อทวยเทพผ่านพบเห็นเข้าว่าองค์พระศิวะที่เป็นถึงมหาเทพผู้เป็นใหญ่ แห่งเขาไกรลาส กำลังเสพสังวาสกับอัครมเหสีอย่างประเจิดประเจ้อกลางท้องพระโรงเช่นนั้นจึงพา กันรังเกียจเดียดฉันท์และเสื่อมศรัทธาในองค์พระศิวะเป็นอย่างมาก บรรดาทวยเทพจึงได้พากันเย้ยหยันและหมดสิ้นความนับถือ ยำเกรงต่อองค์มหาเทพ ต่างก็พากันยืนดูแล้วก็วิพากษ์วิจารณ์กันอย่างเห็นเป็นเรื่องที่น่าสมเพชไป ด้วยเหตุการณ์เป็นเช่นนั้น ทำให้พระศิวะทรงอัปยศอดสู่ในพระทัยเป็นยิ่งนัก และประกอบกับความโกรธกริ้ว พระศิวะจึงทรงได้ประกาศว่าอวัยวะเพศของพระองค์นี้แหละ จะเป็นเสมือนสัญลักษณ์และตัวแทนของพระองค์ ที่บรรดามนุษย์และเทพเทวะทั้งปวง จะต้องกราบไหว้บูชาถ้าต้องการความสุขและความสำเร็จอันงดงามในชีวิต และอวัยวะเพศหรือศิวลึงค์นั้น ก็จะมีดวงตามหาศาลล้อมรอบศิวะลึงค์ถึง ๑,๐๐๐ ดวงตา เพื่อจะได้สามารถมองเห็นได้เด่นชัดในทุกทิศทุกทาง โดยดวงพระทัยและดวงพระวิญญาณขององค์พระศิวะจะสถิตอยู่ด้วย เพื่อคุ้มครองและอวยพรให้กับผู้ที่สักการะบูชาศิวลึงค์นั้น เมื่อได้ทรงแล่นถ้อยคำศักดิ์สิทธิ์มาในขณะที่กำลังเกิดความกริ้วและความ อัปยศเป็นที่สุดนั้น ถ้อยคำอันศักดิ์สิทธิ์จึงได้บังเกิดสัมฤทธิ์ผลเป็นจริง นับจากนั้นไม่ว่าจะเป็นบรรดามนุษย์ ดาบส ฤาษี หรือแม้แต่ทวยเทพบนสรวงสวรรค์ชั้นต่างๆเองก็ยังนิยมสักการะบูชา ศิวลึงค์หรือรูปเคารพที่เป็นอวัยวะเพศชาย อันเป็นเสมือนสัญลักษณ์ของพระศิวะเรื่องราวการกำเนิดศิวลึงค์ในบางคัมภีร์ นั้น ก็กล่าวแตกต่างออกไป โดยเล่าว่าพระศิวะนั้นค่อยข้างจะมีพระอารมณ์ทางราคะค่อยข้างสูง และโปรดที่จะเสพสังวาสกับพระแม่อุมาอัครมเหสีและพระชายาองค์อื่นอีก ในทุกวี่วันเลยทีเดียว จนเป็นที่รู้กันทั่วไปในเหล่าเทพเทวะทั้งปวง ดังนั้นบรรดาศิษยานุศิษย์หรือผู้ที่ศรัทธาในองค์พระศิวะมหาเทพ ไม่ว่าจะเป็นมนุษย์หรือทวยเทพ ที่เคารพเลื่อมใสองค์พระศิวะ จึงได้คิดประดิษฐ์วัตถุบูชาขึ้นมา โดยหวังให้เป็นสัญลักษณ์แทนองค์พระศิวะ การสรรค์สร้างรูปอวัยวะเพศหรือศิวลึงค์ จึงได้ถือกำเนิดขึ้นมา ซึ่งผู้ที่เชื่อกันว่าน่าจะเป็นคนแรกที่คิดประดิษฐ์รูปเคารพศิวลึงค์นี้เป็น นักบวชฮินดู ที่ได้พบความสุข ความสำเร็จและความรุ่งเรื่องในชีวิตมาก หลังจากที่ได้สร้างรูปศิวลึงค์แล้วทำพิธีกราบไหว้บูชาเป็นประจำดังนั้นบรรดา ศิษยานุศิษย์หรือชาวบ้านทั่วไป จึงได้เริ่มทำรูปเคารพเป็นรูปศิวลึงค์กันบ้างและก็ทำการสักการะบูชากันเป็น ที่กว้างขวางแพร่หลายต่อหลายต่อไป จนเกิดเป็นลัทธิการบูชาศิวลึงค์ขึ้นจริงจังในยุคต่อ ๆ มา กำเนิดของศิวลึงค์ ตำนานการเกิดศิวลึงค์ในทางศาสนาสากลได้กล่าวไว้ว่า ในครั้งหนึ่งเจ้าแม่กาลีซึ่งเป็นอีกภาคหนึ่งของพระแม่อุมามหาเทวีอัครมเหสี ขององค์พระศิวะมหาเทพนั้น ได้บังเกิดความกริ้วในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ซึ่งทรงบังเกิดความไม่พอใจอย่างมาก จนกระทั่งได้เกิดโรคระบาดในหมู่บ้าน ทำให้เจ็บไข้ได้ป่วย ลมตายเป็นจำนวนมาก ซึ่งบรรดาชาวบ้านชาวเมืองได้เชื่อกันว่าภัยพิบัติครั้งนั้นเกิดขึ้นจากความ กริ้วของเจ้าแม่กาลีเป็นแน่ ดังนั้นพวกพราหมณ์จึงได้ปรึกษาหารือกันแล้ว มีมติให้นำดินมาปั้นเป็นรูปอวัยวะเพศของพระศิวะ เพื่อถวายให้กับเจ้าแม่กาลี ซึ่งก็เป็นที่ทราบกันดีอยู่ว่า พระแม่อุมาในภาคนี้นั้นค่อนข้างจะดุดันมิใช่น้อย การปั้นเป็นรูปอวัยวะเพศให้เป็นเสมือนสัญลักษณ์ตัวแทนของพระศิวะ แล้วนำไปถวายเพื่อบูชาเจ้าแม่กาลีนั้นจึงน่าจะทำให้เจ้าแม่เกิดความพอใจและ ระงับความกริ้วลงได้ ซึ่งปรากฏว่าเมื่อพวกพราหมณ์ได้นำเอาศิวลึงค์หรือรูปของลับนั้นไปบูชายังเท วลัย หรือศาลที่มีรูปเคารพของเจ้าแม่กาลีประดิษฐานอยู่และได้มีการสวดมนต์ สรรเสริญบูชา ถวายเครื่องบวงสรวงสังเวยต่าง ๆ พร้อมกับรูปศิวลึงค์นั้น ปรากฏว่าเมื่อเสร็จสิ้นการบวงสรวงบูชาในพิธีกรรมนั้น บรรดาชาวบ้าน ชาวเมืองก็ได้รอดพ้นจากโรคระบาด ที่ทำให้ป่วยไข้และล้มตายกันไปอย่างน่าอัศจรรย์นัก เพราะหลังจากนั้นไม่นานโรคระบาดก็ได้หายไปไม่เกิดขึ้นอีก จึงทำให้ได้มีการสร้างรูปศิวลึงค์กันอย่างแพร่หลาย และได้มีการประกอบพิธีกรรมบูชาศิวลึงค์นั้น ควบคู่ไปกับการสักการะบูชาเจ้าแม่กาลีด้วย นี่เป็นตำนานการเกิดศิวลึงค์อีกตำนานหนึ่ง ซึ่งยังได้ระบุว่าการที่พ่อแม่นำศิวลึงค์ขนาดเล็ก ๆ ผูกไว้กับเชือกแล้วผูกรอบเอวของเด็ก ก็เพื่อป้องกันไม่ให้เจ้าแม่กาลีทำร้ายเด็กได้ เด็กที่ผูกศิวลึงค์ไว้ป้องกันตัว ก็จะแข็งแรงไม่เจ็บไข้ได้ป่วย ซึ่งก็เป็นความเชื่อหนึ่งที่ยังมีให้เห็นในปัจจุบันนี้และแม้แต่ในบ้านเมือง เราก็มีปรากฏให้เห็นถึงความเชื่อนี้ด้วยเช่นกัน แต่เราจะเรียกศิวลึงค์นั้นว่า “ปลัดขิก” ใน เทวลัยบางแห่งนั้น นอกจากรูปศิวลึงค์ที่สร้างเป็นรูปแท่งอวัยวะเพศชาย จากหินบาง จากดินบ้างหรือจากไม้แกะสลักบ้างแล้วนั้น ในบางแห่งจะปรากฏว่าฐานของศิวลึงค์จะมีแท่นรองรับอีกแท่นหนึ่ง ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นสัญลักษณ์แทนอวัยวะเพศหญิง เรียกกันว่า “โยนี” นั่น เอง การที่ได้คิดสร้างโยนีเป็นแท่นรองรับศิวะลึงค์นั้น ก็เพื่อให้เป็นเสมือนสัญลักษณ์แทนองค์พระแม่อุมา ที่เป็นอัครมเหสีขององค์พระศิวะมหาเทพนั่นเอง และในความหมายอันลึกซึ่งกว่านั้น ตามคติพราหมณ์ได้เชื่อกันว่าทั้งโยนีและศิวลึงค์ ซึ่งเป็นอวัยวะเพศหญิงและอวัยวะเพศชายนั้น ก็เปรียบเสมือนสิ่งของที่จะต้องคู่กัน และมีพลังที่จะส่งเสริมกันให้มีอำนาจและมีพลังยิ่งใหญ่โดยแท้ เสมือนกับผู้หญิงที่มักจะเป็นแรงเสริมคอยผลักดันให้ผู้ชายได้มีอำนาจมีความ ยิ่งใหญ่อย่างแท้จริง อันเป็นสิ่งที่จะต้องคู่กันและเสริมกันให้เกิดความสมบูรณ์อย่างแท้จริง ในการดำเนินชีวิตของมนุษยชาติ การบูชาศิวลึงค์ ในอินเดียตอนใต้จะมีการประกอบพิธีสักการะบูชาศิวลึงค์กันอย่างจริงจัง โดยจัดทำกันในเมืองที่อยู่บนยอดเขาโดยจัดเป็นประจำทุกปีเรียกกันว่าเทศกาล บูชาศิวลึงค์โยนีหรือเทศกาล (KAETIKAI) หรือเทศกาล (SATURNALIT) เทศกาล ทั้ง ๒ นี้ จะทำพิธีกันค่อนข้างใหญ่โตเป็นพิเศษ มีงานเฉลิมฉลองกันอย่างครึกครื้นสนุกสนาน เครื่องบวงสรวงที่จะใช้ในพิธีกรรมนี้ก็ประกอบด้วยน้ำนมสดและพวงมาลัยดอกไม้ สดเป็นพิเศษ นอกจากนั้นก็ยังมีเครื่องประกอบพิธีดังนี้ - ดอกไม้เหลือง - ดอกไม้แดง - ข้าวตอก - ใบมะตูม - หญ้าคา - มูลโค - มะพร้าวอ่อน - เมล็ดธัญพืชต่าง ๆเช่น ข้าวโพดแห้ง เมล็ดข้าวแห้ง - ธูปหอมและเทียนหอม ในเทศกาลนี้จะมีการตั้งรูปศิวลึงค์อยู่ ณ เทวสถานกลางเมือง เมื่อมีการเฉลิมฉลองและถวายเครื่องบวงสรวงบูชาเรียบร้อยแล้ว จะมีการสวดมนต์สรรเสริญบูชาพระศิวะและศิวลึงค์ด้วย การจัดเทศกาลเพื่อสักการะบูชาศิวลึงค์ด้วยความเคารพ เลื่อมใสศรัทธาอย่างสูงนี้ บรรดาชาวบ้าน ชาวเมือง นิยมกระทำพิธีเพื่อขอพรให้เกิดความสุขและความสำเร็จในชีวิต โดยเฉพาะความอุดมสมบูรณ์ในการกระทำพืชไร่ ซึ่งสังคมของชาวอินเดียตอนใต้นั้นนิยมทำอาชีพเกษตรกรรมกันเป็นส่วนใหญ่มีการ ปลูกพืชไร่กันทั่วไป ดังนั้นการขอให้เกิดความอุดมสมบูรณ์แก่การเพาะปลูกที่กระทำอยู่นั้น จึงเป็นเรื่องสำคัญอย่างยิ่ง การประกอบพิธีเพื่อบูชาศิวลึงค์ นอกจากที่ในอินเดียตอนใต้นี้แล้ว ทุกหนทุกแห่งทั่วไปก็จะมีลักษณะการบูชาที่คล้ายคลึงกันในส่วนของการเทน้ำนม สดราดลงไปในศิวลึงค์โดยความบริสุทธิ์ของน้ำนมนั้นเปรียบเสมือนการให้กำเนิด ผลผลิตอันอุดมสมบูรณ์นั่นเองแต่ก็มีบางแห่งที่นอกจากจะใช้นมสดราดรดบน ศิวลึงค์แล้วยังนิยมใช้ฝุ่นสีแดงมาแต้มทาที่ยอดปลายของศิวลึงค์ เพื่อแทนความหมายของการกำเนิดใหม่แห่งชีวิตใหม่นั่นเอง ในการสักการะบูชาศิวลึงค์นั้น ยังมีความเชื่ออีกว่าหากบวงสรวงสังเวยด้วยศิวลึงค์ชนิดใดก็จะได้รับพรที่ องค์พระศิวะมหาเทพจะประทานให้แตกต่างกันออกไป ดังเช่น หากนำมูลโคมาสร้างสรรค์ปั้นแต่งเป็นศิวลึงค์ แล้วทำการบวงสรวงบูชาเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอก็จะทำให้บุคคลผู้นั้นมีสุขภาพ ร่างกายที่แข็งแรงตลอดชีวิต มีอายุยืนไม่เป็นโรคภัยไข้เจ็บใด ๆ เลย หากนำเอาดินจากบริเวณริมแม่น้ำมาสร้างสรรค์บรรจงปั้นแต่งเป็นศิวลึงค์ แล้วทำการบวงสรวงบูชาเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอก็จะทำให้บุคคลผู้นั้นมีสุขภาพ ร่างกายที่แข็งแรงตลอดชีวิต มีอายุยืนไม่เป็นโรคภัยไข้เจ็บใด ๆ เลย หากนำเอาดินจากบริเวณริมแม่น้ำมาสร้างสรรค์บรรจงปั้นเป็นศิวลึงค์แล้วบวง สรวงบูชาด้วยความเคารพเสมอไป ก็จะทำให้บุคคลผู้นั้นเกิดความร่ำรวยมั่งคั่ง มีทรัพย์สินเป็นที่ดินมหาศาลเลยทีเดียว หากนำเอาเมล็ดข้าวทั้งดิบและสุก มาสร้างสรรค์บรรจงประดิษฐ์เป็นศิวลึงค์แล้วทำการสักการะบูชา จะทำให้บุคคลนั้นหรือครอบครัวนั้น มีความสมบูรณ์พูนสุข มีข้าวปลาอาหารกินโดยบริบูรณ์ หรือทำกิจกรรมการค้าเกี่ยวกับอาหาร ก็จะมั่งคั่ง ร่ำรวยและรุ่งเรืองเป็นแน่แท้ หากนำเอาทองคำบริสุทธิ์มาสร้างสรรค์ ปั้นประดิษฐ์เป็นศิวลึงค์ แล้วทำการบวงสรวงบูชาเสมอไป ก็จะทำให้บุคคลนั้นมีความมั่นคง ร่ำรวยในระดับเศรษฐีตลอดชีวิต หากนำไม้จันทร์มาสร้างเป็นศิวลึงค์แล้วบูชา ก็จะทำให้ผู้นั้นมีความสุขสันต์หรรษามิสร่างคลาย หากนำเมล็ดรุทรรากษ์สร้างเป็นศิวลึงค์แล้วบูชาก็จะทำให้ผุ้นั้นมีความรอบรู้ ศิลปวิทยาการทั้งปวง ในคัมภีร์อินเดียโบราณนั้น กล่าวไว้ว่าศิวลึงค์นั้นมีชื่อเรียกแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับวัสดุที่สร้าง ลึงค์แบ่งตามหลักของนักปราชญ์อินเดียโบราณแบ่งได้เป็น ๒ ลักษณะคือ จลลิงค คือลึงค์ที่เคลื่อนไหวได้หรือสั่นไหวได้ อจลลิงค คือลึงค์ที่เคลื่อนที่ไม่ได้ ลึงค์ที่ทำจากแก้ว เรียกว่า รัตนชะ ลึงค์ที่ทำจากหิน เรียกว่า ไศละชะ ลึงค์ที่ทำจากดิน เรียกว่ามรินมยะ ลึงค์ที่ทำจากไม้ เรียกว่า มารุชะ ลึงค์ที่ทำจากโลหะ เรียกว่า โลหชะ และลึงค์ที่ทำขึ้นเฉพาะกิจตามวาระโอกาสต่างๆเรียกว่า กษณิกลิงค์

สวัสดิกะ

"สวัสดิกะ" สัญลักษณ์แห่งความเจริญ

เครื่องหมายเฉพาะแห่งองค์พระพิฆเนศ




เครื่องหมายสวัสดิกะ อันเป็นรูปกากบาทปลายหัก คนส่วนใหญ่เมื่อเห็น

แล้วก็นึกถึงพรรคนาซีและฮิตเลอร์ ซึ่งแท้จริงแล้วเครื่องหมายสวัสดิกะนี้

เป็นเครื่องหมายอันเป็นมงคลสูงยิ่ง ที่น้อยคนนักจะรู้จัก เป็นส่วนหนึ่งใน

เทพปกรณัมที่ควรศึกษ าและถูกบันทึกอยู่ในหน้าประวัติศาสตร์มาอย่าง

ยาวนาน

สวัสดิกะ คือ เครื่องหมายแห่งพลวัตร การเคลื่อนไหว ความไม่หยุดนิ่ง

ความเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา เป็นเครื่องหมายแห่งการหล่อเลี้ยงสรรพ

ชีวิต





เครื่องหมายสวัสดิกะ ได้ปรากฏในงานศิลปะมาหลายยุคสมัย โดยเฉพาะในสิ่งปลูกสร้าง

ทางศาสนาฮินดู ศาสนาเชน แม้แต่ศาสนาพุทธ หลายๆประเทศในแถบเอเชีย กรีก ยุโรป

และอเมริกันพื้นเมือง จะใช้เครื่องหมายสวัสดิกะเป็นสัญลักษณ์ในการสื่อสาร โดยเฉพาะการ

ใช้เป็นสัญลักษณ์ทางศาสนาและเทพเจ้า

ในภาพเขียนพระพิฆเนศ ของอินเดียส่วนใหญ่ จะมีเครื่องหมายสวัสดิกะ วาดไว้ให้อยู่ใน
ส่วนใดส่วนหนึ่งของภาพเขียนนั้นๆ เช่น กลางหน้าผาก บริเวณงวง ฝ่าพระหัตถ์ หรือปรากฏ
ในส่วนอื่นๆ ที่ไม่ใช่บนพระวรกายของพระพิฆเณศ เช่น บนหนังสือ ฝาผนัง ที่ประทับนั่ง ฯลฯ
เมื่อชาวฮินดูพบเห็นสัญลักษณ์สวัสติกะนี้ ก็จะให้ความเคารพ เฉกเช่นเดียวกับ เครื่องหมายโอม





ความหมายของสวัสดิกะในแรกเริ่มนั้น จะถูกใช้เป็นสัญลักษณ์แห่งความดีงาม
ความอุดมสมบูรณ์ เป็นเครื่องหมายแทนตัวของเทพเจ้า แต่ภายหลังก็ถูกเปลี่ยนแนวคิด
ไปโดยสิ้นเชิง เมื่อมันกลายมาเป็นสัญลักษณ์ของพรรคนาซีในเยอรมนี ที่ก่อตั้งโดยฮิตเลอร์
ทำให้คนทั่วไปมองว่าเครื่องหมายนี้เป็นสัญลักษณ์ของเผด็จการ และนำไปสู่ความเข้าใจผิดๆ
เกี่ยวกับความหมายของสวัสดิกะ ในประเทศอื่นๆ อีกด้วย





เครื่องหมายสวัสดิกะของพรรคนาซี เครื่องหมายสวัสดิกะขององค์พระพิฆเณศ

ความแตกต่างของเครื่องหมายพรรคนาซี และเครื่องหมายพระพิฆเนศ

เครื่องหมายสวัสดิกะของพรรคนาซี

จะเอียง 45 องศา และไม่มีจุด


ส่วนเครื่องหมายสวัสดิกะของพระพิฆเนศ

จะตั้งตรง ไม่เอียง และมีจุด 4 จุดอยู่ระหว่างแขนทั้ง 4

สำหรับแขนที่หักออกนั้น จะหักไปทางซ้ายหรือขวา
ก็แล้วแต่จิตรกรจะวาดขึ้น โดยส่วนใหญ่จะมีแขนหักชี้
ไปทางขวา (ชี้ไปตามเข็มนาฬิกา)





สัญลักษณ์สวัสดิกะ ถือเป็นเครื่องหมายที่เก่าแก่ที่สุดอย่างหนึ่งของโลก มีมาไม่ต่ำกว่า 5 พันปี

บางตำราจะให้ความหมายว่า 4 แฉกของสัญลักษณ์สวัสดิกะนั้นหมายถึงพระกรทั้ง 4 ของ

พระพิฆเนศ หรือหมายถึงคัมภีร์พระเวททั้ง 4 เล่ม ส่วนในตำราของพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน

ก็ว่า 4 แฉกของสวัสดิกะนั้นหมายถึง ดิน น้ำ ลม ไฟ ซึ่งนิยมใช้คู่กับเครื่องหมาย หยิน-หยาง

ตลอดจนการเป็นตัวแทนของธรรมจักร และอีกมากมายหลายตำรา ที่กล่าวถึงสวัสดิกะในแง่

ของเครื่องหมายอันเป็นมงคล

เครื่องหมายสวัสดิกะ สามารถนำมาใช้แก้ฮวงจุ้ยได้ โดยการแขวนหรือประดับไว้ในส่วนใด

ส่วนหนึ่งของที่พักอาศัย เช่น ประตู ผนัง โต๊ะทำงาน ฯลฯ เพราะโบราณเชื่อว่าจะช่วยสลายพลังร้าย

และทำให้ธาตุต่างๆในบ้านเรือนเกิดการหมุนเวียนอย่างสมดุล นำมาซึ่งความสวัสดิมงคลแก่ผู้อยู่อาศัย

ฉะนั้น การประดับเครื่องหมายสวัสดิกะไว้ในบ้านเรือน หรือบริษัทห้างร้าน ควบคู่กับเครื่องหมายโอม
อันศักดิ์สิทธิ์ ย่อมจะนำมาซึ่งความโชคดี ความสำเร็จและชัยชนะต่อศัตรู


โดย : สยามคเณศดอทคอม Siamganesh.com





สวัสดิกะในวัดแห่งหนึ่งของเกาหลี
image from : heathenworld.com




จี้เพชรสวัสดิกะ เครื่องประดับอันทรงคุณค่า
image from : omved.com




สวัสดิกะในศาสนาพุทธ นิกายมหายาน
image from : fraughtwithperil.com & Photobucket.com




ศิลปะกระเบื้อง Mosaic เครื่องหมายสวัสดิกะใน ปารีส ฝรั่งเศส
image from : wikipedia