วันพฤหัสบดีที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2551

พระพุทธเจ้า

พระพุทธเจ้า 28 พระองค์
(นะโมฯ 3 จบ)
“ นะโม เม สัพพะพุทธานัง อุปปันนานัง มะเหสินัง
ตัณหังกะโร มะหาวีโร เมธังกะโร มะหายะโส
สะระณังกะโร โลกะหิโต ทีปังกะโร ชุตินธะโร
โกณฑัญโญ ชะนะปาโมกโข มังคะโล ปุริสาสะโภ
สุมะโน สุมะโน ธีโร เรวะโต ระติวัฑฒะโน
โสภิโต คุณะสัมปันโน อะโนมะทัสสี ชะนุตตะโม
ปะทุโม โลกะปัชโชโต นาระโท วาระสาระถี
ปะทุมมุตตะโร สัตตะสาโร สุเมโธ อัปปะฏิบุคคะโล
สุชาโต สัพพะโลกัคโค ปิยะทัสสี นะราสะโภ
อัตถะทัสสี การุณิโก ธัมมะทัสสี ตะโมนุโท
สิทธัตโถ อะสะโม โลเก ติสโส จะ วะทะตัง วะโร
ปุสโส จะ วะระโท พุทโธ วิปัสสี จะ อะนูปะโม
สิขี สัพพะหิโต สัตถา เวสสะภู สุขะทายะโก
กะกุสันโธ สัตถะวาโห โกนาคะมะโน ระณัญชะโห
กัสสะโป สิริสัมปันโน โคตะโม สักยะปุงคะโว”


*ที่ขีดเส้นได้คือกล่าวถึงพระนามพระพุทธเจ้า
บทสวดบูชาคุณองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า 28 พระองค์
อานิสงส์ เหนือจะกล่าว นมัสการนำจิตอธิษฐานบารมีพุทธคุณ
นำความสุขความเจริญในทุกด้านของชีวิต…มุ่งจิตตามรอยธรรม

๑.. พระพุทธเจ้าตัณหังกร - ผู้กล้าหาญ
๒. พระพุทธเจ้าเมธังกร - ยศใหญ่
๓. พระพุทธเจ้าสรณังกร - ผู้เกื้อกูลแก่โลก
๔. พระพุทธเจ้าทีปังกร - ผู้ทรงไว้ซึ่งปัญญาอันรุ่งเรือง
๕. พระพุทธเจ้าโกณฑัญญะ - ผู้เป็นประมุขแห่งหมู่ชน
๖. พระพุทธเจ้าสุมังคละ - ผู้เป็นบุรุษประเสริฐ
๗. พระพุทธเจ้าสมุนะ - ผู้เป็นธรีบุรุษมีพระหทัยงาม
๘. พระพุทธเจ้าเรวัต - ผู้เพิ่มพูนความยินดี
๙. พระพุทธเจ้าโสภิตะ - ผู้สมบูรณ์ด้วยพระคุณ
๑๐. พระพุทธเจ้าอโนมัทสส - ผู้อุดมอยู่ในหมู่ชน
๑๑. พระพุทธเจ้าปทุมะ - ผู้ทำให้โลกสว่าง
๑๒. พระพุทธเจ้านารทะ - ผู้เป็นสารถีประเสริฐ
๑๓. พระพุทธเจ้าปทุมุตตระ - ผู้เป็นที่พึ่งแก่หมู่สัตว์
๑๔. พระพุทธเจ้าสุเมธะ - ผู้หาบุคคลเปรียบมิได้
๑๕. พระพุทธเจ้าสุชาติ - ผู้เลิศกว่าสัตว์โลกทั้งปวง
๑๖. พระพุทธเจ้าปิยทัสสี - ผู้ประเสริฐกว่าหมู่นรชน
๑๗. พระพุทธเจ้าอัตถทัสสี - ผู้มีพระกรุณา
๑๘. พระพุทธเจ้าธัมมทัสสี - ผู้บรรเท่ามืด
๑๙. พระพุทธเจ้าสิทธัตถะ - ผู้หาบุคคลเสมอมิได้ในโลก
๒๐. พระพุทธเจ้าติสสะ - ผู้ประเสริฐกว่านักปราชญ์ทั้งหลาย
๒๑. พระพุทธเจ้าปุสสะ - ผู้ประทานธรรมอันประเสริฐ
๒๒. พระพุทธเจ้าวิปัสสี - ผู้หาที่เปรียบมิได้
๒๓. พระพุทธเจ้าสิขี - ผู้เป็นศาสดาเกื้อกูลแก่สรรพสัตว์
๒๔. พระพุทธเจ้าเวสสภู - ผู้ประทานความสุข
๒๕. พระพุทธเจ้ากกุสันธะ - ผู้นำสัตว์ออกจากกันดาร คือ กิเลส
๒๖. พระพุทธเจ้าโกนาคมนะ - ผู้หักเสียซึ่งข้าศึก คือ กิเลส
๒๗. พระพุทธเจ้ากัสสปะ - ผู้สมบูรณ์ด้วยสิริ
๒๘. พระพุทธเจ้าโคตมะ (พระสมณะโคดม) - ผู้ประเสริฐ
แห่งหมู่ศากยราช

1. องค์สมเด็จพระพุทธตัณหังกร - ผู้กล้าหาญ
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้านันทราช
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสุนันทราชาเทวี
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ได้ 10,000 ปี
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 7 วัน
พระวรกายสูง 18 ศอก
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 20,000 ปี
2. องค์สมเด็จพระพุทธเมธังกร – ผู้มียศใหญ่
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า เทโว
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนาง ยะสุนทราชาเทวี
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ได้ 80,000 ปี
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 15 วัน
พระวรกายสูง 18 ศอก
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี
3. องค์สมเด็จพระพุทธสรณังกร – ผู้เกื้อกูลแก่โลก
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า สุมาเลราชา
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนาง ยสะเทวี
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ได้ 10,000 ปี
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 2 เดือน กับ 20 วัน
พระวรกายสูง 18 ศอก
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 60,000 ปี
4. องค์สมเด็จพระพุทธทีปังกร – ผู้ทรงไว้ซึ่งปัญญาอันรุ่งเรือง
สถานที่ประสูติ กรุงรัมมวดีมหานคร
ประสูติเมื่อ วันเพ็ญ เดือน 8 อาสาฬหนักขัตฤกษ์
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า นรเทวราช(พระเจ้าสุเทพ)
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางเจ้า สุเมธา
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง ปทุมาราชเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระอสุภขันธกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ เมื่อพระชนมายุ 10,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ช้างพระที่นั่ง
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 9 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ต้นปิปผลิ
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 10 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระสุมังคลเถร และพระติสสเถร
พระอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระสาคตเถร
พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระนันทาเถรี และพระสุนันทาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า ตปุสสะ และภัลลิกะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฎฐายิกา ชื่อว่า นางสิริมา และนางโสณา มหาอุบาสิกา
มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 400,000 องค์
พระวรกายสูง 80 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 10 โยชน์
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 100,000 ปี
อายุพระศาสนา 100,000 ปี
5. องค์สมเด็จพระพุทธพระโกณฑัญญะ – ผู้เป็นประมุขแห่งหมู่ชน
สถานที่ประสูติ กรุงรัมมวดีมหานคร
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า สุนันทราช
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนาง สุชาดาราชเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง รุจิราชเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระวิชิตเสนกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ เมื่อพระชนมายุได้ 10,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา รถพระที่นั่งเทียมม้าอาชาไนยคู่
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งในวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 58 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ต้นพญารัง
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 10 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระภัททเถร และพระสุภัททเถร
พระอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระอนุรุทธเถร
พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระติสสาเถรี และพระอุปัสสนาเถรี
มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน แสนโกฏิ องค์
พระวรกายสูง 18 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลหาประมาณมิได้
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 200,000 ปี
อายุพระศาสนา 100,000 ปี
6. องค์สมเด็จพระพุทธพระสุมังคละ – ผู้เป็นบุรุษประเสริฐ
สถานที่ประสูติ อุตตรนคร
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า อุตตรมหาราช
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางอุตตรราชเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง ยสาวดี
พระราชโอรส พระนามว่า พระสีวระราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ เมื่อพระชนมายุ 70,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ม้าพระที่นั่ง
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งในวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 57 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ต้นนาคพฤกษ์(กากะทิง)
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระเทวเถร และพระธรรมเสนเถร
พระอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระปาลิตเถร
พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระสีวราเถรี และพระอโสกาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า นันทะ และวิสาขะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า อนุฬา และสุมนา มหาอุบาสิกา
พระวรกายสูง 80 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 10,000 จักรวาล
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี
7. องค์สมเด็จพระพุทธสุมนะ – ผู้เป็นธีรบุรุษมีพระหทัยงาม
สถานที่ประสูติ เมขละนคร
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า สุทัตตมหาราชา
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางเจ้า สิริมา
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง ฏังสกี
พระราชโอรส พระนามว่า พระอนุปมราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ อยู่นาน 9,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ช้างพระที่นั่ง
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งในวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 60 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ต้นนาคพฤกษ์(กากะทิง)
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 10 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระสรณเถร และพระภาวิตัตตเถร
พระอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระอุเทนเถร
พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระโสณาเถรี และพระอุปโสณาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า วรุณะ และสรณะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า จารา และอุปจารา มหาอุบาสิกา
พระวรกายสูง 90 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลหาประมาณมิได้
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี
อายุพระศาสนา 90,000 ปี

8. องค์สมเด็จพระพุทธเรวตะ – ผู้เพิ่มพูนความยินดี
สถานที่ประสูติ สุธัญญวดีนคร
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าวิปุลราชา
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางวิปุลาราชเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง สุทัสนา
พระราชโอรส พระนามว่า พระวรุณราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสอยู่ 6,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา รถพระที่นั่งเทียบม้าอาชาไนย
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งในวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 53 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า นาคพฤกษ์
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 7 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระวรุณเถร และพรหมเทวะเถร
พระอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระสัมภวะเถร
พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระภัททราเถรี และพระสุภัททราเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า วรุณ และสรภะมหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า ปาลา และอุปปาลา มหาอุบาสิกา
พระวรกายสูง 80 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 1 โยชน์
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 60,000 ปี

9. องค์สมเด็จพระพุทธโสภิตะ – ผู้สมบูรณ์ด้วยพระคุณ
สถานที่ประสูติ สุธรรมนคร
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าสุธรรมราช
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนาง สุธรรมาเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง มจิลาราชเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระสีหราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสอยู่ 9,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ปราสาทที่ลอยไปในอากาศ
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 38 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า นาคพฤกษ์ (ไม้กากะทิง)
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 7 วัน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระอสมเถร และ สุเมธเถร
พระอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระอโนมเถร
พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระนกุฬาเถรี และพระสุชาตาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า นายรัมมะ และ นายสุเนตตะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางนกุฬา และนางสุชาตา มหาอุบาสิกา
พระวรกายสูง 58 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลหาประมาณมิได้
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี

10. องค์สมเด็จพระอโนมทัสสีพุทธเจ้า – ผู้อุดมสูงสุดในหมู่ชน

สถานที่ประสูติ จันทวดีนคร
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า ยศวราช
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางยโสธรา
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง สิริมา
พระราชโอรส พระนามว่า พระอุปสารราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ได้ เมื่อพระชนมายุ 10,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา สีวิกากาญจนมาศ (วอทอง)
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 38 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ต้นอชุนะ (ไม้รกฟ้า)
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 10 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระนิสภเถร และอโนมเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระวรุณเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระสุนทราเถรี และพระสุมนาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า นายนันทิวัฒนะ และสิริวัฑฒะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางอุปรา และนางปทุมา มหาอุบาสิกา
พระวรกายสูง 58 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 80 ศอก
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 100,000 ปี

11.องค์สมเด็จพระพุทธปทุมะ – ผู้ทำให้โลกสว่าง
สถานที่ประสูติ จัมปานคร
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า อสมราช
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางอสมาราชเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง อุตตราเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระรัมมราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาส อยู่ 10,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา รถพระที่นั่งเทียมม้าอาชาไนย
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งในวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 38 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า มหาโสณพฤกษ์
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระสาลเถร และพระอุปสาลเถร
พระอุปัฏฐาก ชื่อว่า พระวรุณเถร
พระอัครสาวิกา ชื่อว่า พระราธาเถรี และพระสุราธาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า นายสภิยะ และนายอสมะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางรุจิ และนางนันทิมาลา มหาอุบาสิกา
พระวรกายสูง 58 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลหาประมาณมิได้
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 100,000 ปี

12. องค์สมเด็จพระพุทธนารทะ – ผู้เป็นสารถีประเสริฐ
สถานที่ประสูติ ธัญญวดีมหานคร
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า สุเมธราชา
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางอโนมาเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง วิชิตเสนาเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระยันทุตรราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ได้ 9,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ทรงดำเนินไปด้วยพระองค์เอง
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 57 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า มหาโสณพฤกษ์
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 7 วัน ตรง
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระภัททสาลเถร และพระพิชิตมิตตเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระวาเสฏฐเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระอุตตราเถรี และพระผักขุนีเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า อุตรินท์ และวสะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางอินทอรี และนางคัณฑี มหาอุบาสิกา
มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 100,000 องค์
พระวรกายสูง 88 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 1 โยชน์
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี
อายุพระศาสนา 1 อสงไขย
13. องค์สมเด็จพระพุทธปทุมุตระ – ผู้เป็นที่พึ่งของหมู่สัตว์
สถานที่ประสูติ หงสวดีนคร
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า อานันทมหาราช
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสุชาดาราชเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง สุละทัคคเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระอุตตรราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสอยู่ 90,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ปราสาทที่ลอยไปในอากาศ
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 38 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ต้นสาละ หรือต้นรัง
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 7 วัน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระเทวลเถร และพระสุชาตเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระสุมนเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระอมิตตาเถรี และพระอสมาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า อมิตตะ และติสสะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางหัตถา และนางสุจิตตา มหาอุบาสิกา
พระวรกายสูง 58 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 12 โยชน์
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 100,000 ปี
อายุพระศาสนา 30,000 กัลป์
14. องค์สมเด็จพระพุทธสุเมธะ – ผู้หาบุคคลเปรียบมิได้
สถานที่ประสูติ สุทัสสนนคร
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้า สุทัสสนมหาราช
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสุทัตตาราชเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนาง สุมนาเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระปุนัพพราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ได้ 9,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ช้างพระที่นั่ง
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 20 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้มหานิมพะ (ไม้สะเดา)
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระสุมนเถร และพระสัพพกามเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระสาครเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระรามาเถรี และพระสุรมาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า อุรุเวฬ และยสวา มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางยสา และนางสิริมา มหาอุบาสิกา
พระวรกายสูง 88 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 1 โยชน์
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี
15. องค์สมเด็จพระพุทธสุชาตะ - ผู้เลิศกว่าสัตว์โลกทั้งปวง
สถานที่ประสูติ สุมังคลนคร
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าอุคคตราช
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางปภาวดีราชเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางสิรินันทาเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระอุปเสนราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ เมื่อพระชนมายุ 9,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ม้าพระที่นั่ง ชื่อ หังสวาสภราชา
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 33 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้มหาเวฬุ (ไม้ไผ่ใหญ่)
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 9 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระสุสุทัสสนเถร และพระสุเทวเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระนารทเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระนาคาเถรี และพระนาคสมาราเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า สุทัตต และจิตต มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางสุภัททา และนางปทุมา มหาอุบาสิกา
พระวรกายสูง 50 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลกาประมาณมิได้
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี

16. องค์สมเด็จพระพุทธปิยทัสสี – ผู้ประเสริฐกว่าหมู่นรชน
สถานที่ประสูติ สุธัญญราชธานี
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าสุทัตตราช
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางจันทราราชเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางวิมาลาเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระกัญจนเวฬกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ เมื่อพระชนมายุ 9,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา รถพระที่นั่ง
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 53 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้กุ่ม
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 6 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระปาลิตเถร และพระสัพพทัสสีเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระโสภิตเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระสุชาดาเถรี และพระธัมมทินนาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า สันตกะ และธัมมิก มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางวิสาขา และนางธัมมทินนา มหาอุบาสิกา
พระวรกายสูง 80 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลหาประมาณมิได้
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี

17. องค์สมเด็จพระพุทธอัตถทัสสี – ผู้มีพระกรุณา
สถานที่ประสูติ สุจิรัตถราชอุทยานแห่งสาครราชธานี
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าสาครราช
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสุทัสสนาราชเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางวิสาขาราชเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระเสลราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสได้ 10,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ม้าพระที่นั่ง
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 53 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้จำปา
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระสันตเถร และพระอุปสันตเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระอภัยเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระธรรมาเถรี และพระสุธรรมาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า นกุละ และนิสภะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางมจิลา และนางสุนันทา มหาอุบาสิกา
มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 9 โกฏิ
พระวรกายสูง 80 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 100 โยชน์
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 100,000 ปี

18. องค์สมเด็จพระพุทธธรรมทัสสี – ผู้บรรเทามืด
สถานที่ประสูติ สรณราชอุทยานแห่งสรณราชธานี
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าสรณราชา
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสุนันทาราชเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางวิจิโกลี
พระราชโอรส พระนามว่า พระวัฒนราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสได้ 8,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ปราสาทที่ลอยไปในอากาศ
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 50 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้ไทรย้อย
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 วัน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระปทุมเถร และปุสสเทวเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระสุเนตตเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระเขมาเถรี และพระสัจจนามาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า สุภัททะ และกฏิสหะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางสาฬสา และนางกฬิสสา มหาอุบาสิกา
พระวรกายสูง 80 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 10,000 โยชน์
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 100,000 ปี

19. องค์สมเด็จพระพุทธสิทธัตถะ – ผู้หาบุคคลเสมอมิได้ในโลก
สถานที่ประสูติ เวภารนคร
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าอุเทน
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสุผัสสาเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางสุมนาราชเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระอนุปนราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสได้ 10,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา สีวิกากาญจมาศ (วอทอง)
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 40 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ต้นกรรณิการ์
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 10 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระสัมพลเถร และพระสุมิตตเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระเรวตเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระสิวลาเถรี และพระสุรามาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า สุปิยะ และสัมพุทธะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางรัมมา และนางสุรัมมา มหาอุบาสิกา
มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 100,000 โกฏิ
พระวรกายสูง 60 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 10,000 โยชน์
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 100,000 ปี
20. องค์สมเด็จพระพุทธติสสะ – ผู้ประเสริฐกว่านักปราชญ์ทั้งหลาย
สถานที่ประสูติ อโนมราชอุทยานแห่งเขมราชธานี
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าชนสันธราช
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางปทุมาเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางสุภัทราเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระอานนทราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสได้ 8,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ม้าพระที่นั่ง
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 40 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้อาสนะ (ต้นประดู่)
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 15 วัน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระพรหมเทพเถร และพระอุทัยเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระสัมภวเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระปุสสาเถรี และพระสุทัตตาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า สัมภระ และสิริ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางกีสาโคตมี และนางอุปเสนา มหาอุบาสิกา
มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 100,000 องค์
พระวรกายสูง 60 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลหาประมาณมิได้
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 100,000 ปี
21. องค์สมเด็จพระพุทธปุสสะ – ผู้ประทานธรรมอันประเสริฐ
สถานที่ประสูติ กาสีราชธานี
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าชัยเสน
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสิริมาราชเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางกีสาโคตมีราชเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระอานนทราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสได้ 9,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ช้างพระที่นั่ง
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 38 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้มลกะ (ไม้มะขามป้อม)
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 7 วัน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระสุรักขิตเถร และพระธัมมเสนเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระโสภิยเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระจาลาเถรี และพระอุปจาลาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า นายธนัญชัย และนายวิสาข มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางปทุมา และนางสิรินาคา มหาอุบาสิกา
มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 400,000 องค์
พระวรกายสูง 58 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลหาประมาณมิได้
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 90,000 ปี
อายุพระศาสนา 91 กัลป์
22. องค์สมเด็จพระพุทธวิปัสสี – ผู้หาที่เปรียบมิได้
สถานที่ประสูติ พันธุมดีราชธานี
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าพันธุมหาราชา
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางพันธุมดีราชเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางสุทัสสนาราชเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระสมวัตตขันธราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสได้ 8,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา รถพระที่นั่ง
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 50 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้แคฝอย
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระขันธเถร และพระติสสเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระอโสกเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระจันทราเถรี และพระจันทมิตตาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า ปุณณสุมิตต และนาคะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางสิริมา และนางอุตตรา มหาอุบาสิกา
มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 84,000 องค์
พระวรกายสูง 80 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 7 โยชน์
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 80,000 ปี
อายุพระศาสนา 49 กัลป์

23. องค์สมเด็จพระพุทธสิขี – ผู้เป็นศาสดาเกื้อกูลแก่สัตว์
สถานที่ประสูติ มิสกราชอุทยานแห่งอรุณวดีนคร
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าอรุณราชา
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางปภาวดีราชเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางสัพพกามาเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระอตุลราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสได้ 7,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ช้างพระที่นั่ง
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 24 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ต้นปุณฑริกะ (ไม้ซึก) คล้ายกับไม้ปาตลี
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระอภิภูเถร และพระสัมภวเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระเขมังกรเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระเขมาเถรี และพระประทุมเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า สิริวัฒนะ และนันทะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางจิตรา และนางสุจิตรา มหาอุบาสิกา
มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 70,000 องค์
พระวรกายสูง 70 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 3 โยชน์
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 70,000 ปี
24. องค์สมเด็จพระพุทธเวสสภู – ผู้ประทานความสุข
สถานที่ประสูติ อโนมนคร
ประสูติในตระกูล กษัตริย์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าสุปตีตราชา
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางยสวดีราชเทวี
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางสุจิตราเทวี
พระราชโอรส พระนามว่า พระสุปปพุทธราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองราชย์ เมื่อพระชนมายุ 6,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา สีวิกากาญจนมาศ (วอทอง)
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 40 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้รัง
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 6 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระโสณเถร และพระอุตตรเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระอุปสันตเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระรามาเถรี และพระสุมาลาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า โสตถิกะ และรัมมะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางโคตมี และนางสิริมา มหาอุบาสิกา
มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 40,000 องค์
พระวรกายสูง 60 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลประมาณมิได้
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 60,000 ปี
อายุพระศาสนา 70,000 ปี

25. องค์สมเด็จพระพุทธกุกกุสันธะ – ผู้นำสัตว์ออกจากกันดาร คือ กิเลส
สถานที่ประสูติ เขมวันราชอุทยานแห่งเขมนคร
ประสูติในตระกูล พราหมณ์
พระพุทธบิดา พระนามว่า อัคคิทัตตพราหมณ์
พระพุทธมารดา พระนามว่า วิสาขาพราหมณี
พระอัครมเหสี พระนามว่า โสภิณีพราหมณี
พระราชโอรส พระนามว่า อุตตรกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสอยู่ 4,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา รถเทียมม้าอาชาไนย
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 80 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้ซึกใหญ่
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 8 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระวิธูรเถร และพระสัญชีวเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระพุทธิยะเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระสามาเถรี และพระจัมปนามาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า อัจจุคาตะ และสุมนะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางนันทา และนางสุนันทา มหาอุบาสิกา
มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 40,000 องค์
พระวรกายสูง 40 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 11 โยชน์
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 40,000 ปี

26. องค์สมเด็จพระพุทธโกนาคมนะ – ผู้หักเสียซึ่งข้าศึก คือ กิเลส
สถานที่ประสูติ โสภวดีราชอุทยานแห่งโสภวดีนคร
ประสูติในตระกูล พราหมณ์
พระพุทธบิดา พระนามว่า ยัญญทัตตพราหมณ์
พระพุทธมารดา พระนามว่า อุตตราพราหมณี
พระอัครมเหสี พระนามว่า รุจิคัตตาพราหมณี
พระราชโอรส พระนามว่า สัททวาหกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสอยู่ได้ 3,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ช้างพระที่นั่ง
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 20 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้อุทุมพร (ไม้มะเดื่อ)
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 6 เดือน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระภิโยสเถร และพระอุตตรเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระโสทิชเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระสมุทาเถรี และพระอุตตราเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า อุคคะ และโสมเทว มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางวรา และนางสามา มหาอุบาสิกา
มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 30,000 องค์
พระวรกายสูง 30 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลประมาณมิได้
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 30,000 ปี
27. องค์สมเด็จพระพุทธกัสสปะ – ผู้สมบูรณ์ด้วยสิริ
สถานที่ประสูติ อิสิปตนมิคทายวันแห่งนครพาราณสี
ประสูติในตระกูล พราหมณ์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พรหมทัตตพราหมณ์
พระพุทธมารดา พระนามว่า ธนวดีพราหมณี
พระอัครมเหสี พระนามว่า สุนันทาพราหมณี
พระราชโอรส พระนามว่า วิชิตเสนกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสอยู่ได้ 2,000 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ปราสาทที่ลอยไปในอากาศ
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 15 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้นิโครธ
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 7 วัน
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระติสสเถร และพระภารทวาชเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระสัพพมิตตเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระอนุฬาเถรี และพระอุรุเวลาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า สุมังคละ และฆฏิการะ มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางวิชิตเสนา และนางภัตรา มหาอุบาสิกา
มีพระอรหันต์เป็นพุทธบริวารแวดล้อม จำนวน 1 โกฏิ
พระวรกายสูง 20 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกลหาประมาณมิได้
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 20,000 ปี
28. องค์สมเด็จพระพุทธโคตมะ – ผู้ประเสริฐแห่งหมู่ศากยราช
สถานที่ประสูติ กรุงกบิลพัสดุ์
ประสูติเมื่อ วันเพ็ญ เดือน 6
ประสูติในตระกูล กษัตริย์ แห่งศากยวงศ์
พระพุทธบิดา พระนามว่า พระเจ้าสุทโธทน
พระพุทธมารดา พระนามว่า พระนางสิริมหามายา
พระอัครมเหสี พระนามว่า พระนางยโสธรา
พระราชโอรส พระนามว่า พระราหุลราชกุมาร
เสด็จออกบรรพชาหลังจากครองฆราวาสอยู่ได้ 29 ปี
พาหนะที่ทรงออกบรรพชา ม้าอัศวราช
รัตนบัลลังก์ที่ประทับนั่งวันตรัสรู้ กว้าง-ยาว-สูง 14 ศอก
ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้ชื่อว่า ไม้อัสสัตถะ (ไม้ปาเป้ง)
ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้ นาน 6 ปี
วันที่ตรัสรู้ วันเพ็ญเดือน 6 วิสาขปุณณมี
พระอัครสาวก ได้แก่ พระติสสเถร และพระโกลิตเถร
พระอุปัฏฐาก ได้แก่ พระอานนทเถร
พระอัครสาวิกา ได้แก่ พระเขมาเถรี และพระอุบลวัณณาเถรี
อัครอุปัฏฐาก ชื่อว่า จิตตะ และหัตถอาฬวก มหาอุบาสก
อัครอุปัฏฐายิกา ชื่อว่า นางนันทมาตา และนางอุตตรา
มหาอุบาสิกา พระวรกายสูง 16 ศอก
พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย กว้างไกล 1 วา
ปรินิพพานเมื่อพระชนมายุ 80 ปี
อายุพระศาสนา 5,000 ปี


ไม้ตรัสรู้ของพระพุทธเจ้า 28พระองค์

สืบค้นข้อมมูลมาเพื่อรับทราบไว้พิจารณา นะครับ
เพื่อประโยชน์ในกาลข้างหน้า และเพื่อการเทียบเคียง
และเพื่อระลึกถึงพระพุทธคุณ ในอดีตกาล

ที่
ชื่อต้นไม้
1พระตัณหังกรพุทธเจ้า (ผู้กล้าหาญ)ต้นตีนเป็ดขาว (ต้นสัตตบรรณ)
2พระเมธังกรพุทธเจ้า (ผู้มียศใหญ่)ต้นทองกวาว (ต้นกิงสุกะ)
3พระสรณังกรพุทธเจ้า (ผู้เกื้อกูลแก่ชาวโลก) ต้นแคฝอย (ต้นปาตลี)
4พระทีปังกรพุทธเจ้า (ผู้ทรงไว้ซึ่งปัญญาอันรุ่งเรือง)ต้นเลียบ (ต้นปิปผลิ)
5พระโกณฑัญญพุทธเจ้า (ผู้เป็นประมุขแห่งหมู่ชน) ต้นสาละใหญ่ (ต้นมหาสาละ)
6พระมังคลพุทธเจ้า (ผู้เป็นบุรุษประเสริฐ) ต้นกากะทิง (ต้นนาคะ)
7พระสุมนพุทธเจ้า (ผู้เป็นวีรบุรุษมีพระหฤทัยงาม)ต้นกากะทิง (ต้นนาคะ)
8พระเรวตพุทธเจ้า (ผู้เพิ่มพูนความยินดี)ต้นกากะทิง (ต้นนาคะ)
9พระโสภิตพุทธเจ้า (ผู้สมบูรณ์ด้วยพระคุณ)ต้นกากะทิง (ต้นนาคะ)
10พระอโนมทัสสีพุทธเจ้า (ผู้สูงสุดในหมู่ชน)ต้นกุ่ม (ต้นกักกุธะ)
11พระปทุมพุทธเจ้า (ผู้ทำให้โลกสว่าง)ต้นอ้อยช้างใหญ่ (ต้นมหาโสณกะ)
12พระนารทพุทธเจ้า (ผู้เป็นสารภีประเสริฐ) ต้นอ้อยช้างใหญ่ (ต้นมหาโสณกะ)
13พระปทุมุตรพุทธเจ้า (ผู้เป็นที่พึ่งของหมู่สัตว์)ต้นสน (ต้นสลฬะ)
14พระสุเมธพุทธเจ้า (ผู้หาบุคคลเปรียบมิได้)ต้นสะเดา (ต้นนิมพะ)
15พระสุชาตพุทธเจ้า (ผู้เลิศกว่าสัตว์โลกทั้งปวง)ต้นไผ่ใหญ่ (ต้นมหาเวฬุ)
16พระปิยทัสสีพุทธเจ้า (ผู้ประเสริฐกว่าหมู่นรชน)ต้นกุ่ม (ต้นกักกุธะ)
17พระอัตถทัสสีพุทธเจ้า (ผู้มีพระกรุณา) ต้นจำปาป่า (ต้นจัมปกะ)
18พระธัมมทัสสีพุทธเจ้า (ผู้บรรเทาความมืด)ต้นมะพลับ (ต้นพิมพชาละ)
19พระสิทธัตถพุทธเจ้า (ผู้หาบุคคลเสมอมิได้ในโลก)่ ต้นกรรณิการ์ (ต้นกณิการระ)
20พระติสสพุทธเจ้า (ผู้ประเสริฐกว่านักปราชญ์ทั้งหลาย) ต้นประดู่ลาย (ต้นอสนะ)
21พระปุสสพุทธเจ้า (ผู้ประทานธรรมอันประเสริฐ) ต้นมะขามป้อม (ต้นอามัณฑะ)
22พระวิปัสสีพุทธเจ้า (ผู้หาที่เปรียบมิได้) ต้นแคฝอย (ต้นปาตลี)
23พระสิขีพุทธเจ้า (ผู้เป็นศาสดาเกื้อกูลแก่สรรพสัตว์)ต้นกุ่ม (ต้นกักกุธะ)
24พระเวสสภูพุทธเจ้า (ผู้ประทานความสุข)ูต้นอ้อยช้างใหญ่ (ต้นมหาโสณกะ)
25พระกุกกุสันธพุทธเจ้า (ผู้นำสัตว์ออกจากกันดารตัวกิเลส)ต้นซึก (ต้นสิรีสะ)
26พระโกนาคมนพุทธเจ้า (ผู้หักเสียซึ่งข้าศึกคือกิเลส) ต้นมะเดื่อ (ต้นอุทุมพร)
27พระกัสสปพุทธเจ้า (ผู้สมบูรณ์ด้วยสิริ)ต้นไทรหรือกร่าง (ต้นนิโครธ)
28พระโคตมพุทธเจ้า (ผู้ประเสริฐแห่งหมู่ศากยราช)ต้นโพธิ์ (ต้นอัสสัตถะ)


ตัณหังกะราทะโย พุทธาอัฏฐะวีสะติ นายะกา
สัพเพ ปะติฏฐิตา มัยหัง มัตถะเก เต มุนิสสะรา.


คำแปล มี ๒๘ พระองค์ คือ พระผู้ทรงพระนามว่าตัณหังกรเป็นอาทิ พระพุทธเจ้าผู้จอมมุนีทั้งหมดนั้น

ขุททกนิกาย อปทาน-พุทธวงศ์-จริยาปิฎก ดังนี้คือ(ขุ.อป.๓๓/๒๗/๓๖๖ ฉบับกรมการศาสนา ๔๕ เล่ม)

ในกัปอันประมาณมิได้แต่ภัทรกัปนี้ (คือย้อนหลังไปสี่อสงไขยยิ่งด้วยแสนกัป)
๑)พระตัณหังกรสัมพุทธเจ้า ๑
๒)พระเมธังกรสัมพุทธเจ้า ๑
๓)พระสรณังกรสัมพุทธเจ้า ๑ และ
๔พระทีปังกรสัมพุทธเจ้า ๑ ท่านเหล่านั้นเสด็จอุบัติในกัปเดียวกัน ต่อจากที่พระทีปังกรสัมพุทธเจ้า
๕)พระสัมพุทธเจ้าพระนามว่าโกณฑัญญะพระองค์เดียวเสด็จอุบัติกัปหนึ่ง
ทรงช่วยให้หมู่ชนข้ามพ้นวัฏสงสารได้มากมาย

ระหว่างพระผู้มีพระภาคทีปังกร และพระโกณฑัญญะบรมศาสดา เป็นอันตรกัป โดยจะคำนวณนับมิได้

ต่อจากพระโกณฑัญญะบรมศาสดา
๖)มีพระพุทธเจ้าพระนามว่ามังคละ
แม้ระหว่างพระโกณฑัญญะและพระมังคละพุทธเจ้านั้น ก็เป็นอันตรกัป โดยจะคำนวณนับมิได้
๗)สุมนะ
๘)เรวตะ
๙)และโสภิตะ ผู้เป็นมุนี มีจักษุ มีพระรัศมีสว่างไสว

แม้พระพุทธเจ้า ๔ พระองค์นั้นก็เสด็จอุบัติขึ้นในกัปเดียวกันต่อจากพระโสภิตพุทธเจ้ามี
๑๐)พระมหามุนีพระนามว่าอโนมทัสสี
แม้ระหว่างพระพุทธเจ้าพระนามว่าโสภิตะ และอโนมทัสสีนั้นก็เป็นอันตรกัป โดยจะคำนวณนับมิได้
๑๐)พระพุทธเจ้าพระนามว่าอโนมทัสสี
๑๑)ปทุมะ
๑๒)และนารทะ ผู้เป็นมุนีกระทำที่สุดความมืด ก็เสด็จอุบัติขึ้นในกัปเดียว

๑๓)มีพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตระ เสด็จอุบัติในกัปหนึ่ง
แม้ระหว่างพระผู้มีพระภาคนารทะและพระปทุมุตรศาสดานั้น ก็เป็นอันตรกัปโดยจะคำนวณนับมิได้

ในแสนกัป (แต่กัปนี้) มีพระมหามุนีพระองค์เดียว คือ พระปทุมุตระผู้รู้แจ้งโลก ผู้สมควรรับเครื่องบูชา

ในสามหมื่นกัปต่อจากพระพุทธเจ้าพระนามว่าปทุมุตระ มีพระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ คือ
๑๔)พระสุเมธะ
๑๕)และพระสุชาตะ

ในพันแปดร้อยกัป (แต่กัปนี้) มีพระพุทธเจ้า ๓ พระองค์ คือ
๑๖)พระปิยทัสสี
๑๗)พระอัตถทัสสี
๑๘)และพระธรรมทัสสี

ต่อจากพระสุชาตพุทธเจ้า พระสัมพุทธเจ้าผู้อุดมกว่าสัตว์ ผู้ไม่มีบุคคลเปรียบในโลก ๓ พระองค์นั้น เสด็จอุบัติในกัปเดียวกัน

ในกัปที่ ๙๔ แต่ภัทรกัปนี้ มีพระมหามุนีพระองค์เดียว คือ
๑๙)พระสิทธัตถะ ผู้ทรงรู้แจ้งโลก ยอดเยี่ยมโดยมีบุญสิริ
ในกัปที่ ๙๒ แต่ภัทรกัปนี้ มีพระสัมพุทธเจ้า ๒ พระองค์ คือ
๒๐)พระติสสะ
๒๑)และพระปุสสะ ผู้ไม่มีบุคคลเปรียบเสมอ

ในกัปที่ ๙๑ แต่ภัทรกัปนี้ มีพระพุทธเจ้าผู้เป็นนายกของโลกผู้มีพระกรุณาพระนามว่า
๒๒)วิปัสสี

ในกัปที่ ๓๑ แต่ภัทรกัปนี้ มีพระพุทธเจ้า ๒ พระองค์ คือ
๒๓)พระสิขี
๒๔)และพระเวสสภู ผู้ไม่มีบุคคลเปรียบเสมอ

ในภัทรกัปนี้ มีพระพุทธเจ้า ๓ พระองค์ คือ
๒๕)พระกุกกุสันธะ
๒๖)พระโกนาคมนะ
๒๗)และพระกัสสปะ


และจักมีพระเมตไตรย์สัมพุทธเจ้า แม้พระพุทธเจ้า ๕ พระองค์นี้ ก็เป็นนักปราชญ์ อนุเคราะห์โลก

บรรดาพระพุทธเจ้าผู้เป็นธรรมราชาเหล่านี้ พระเมตไตรย์สัมพุทธเจ้าจักตรัสบอกมรรคานั้นแก่ผู้อื่นหลายโกฏิ
แล้วจักเสด็จนิพพานพร้อมด้วยพระสาวก ฉะนี้แล.

หมายเหตุ

ในความจริงแล้วจำนวนพระพุทธเจ้า (ทั้งพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและพระปัจเจกพุทธเจ้า) ผู้ทรงตรัสรู้มาแล้วในอดีตนั้น มีจำนวนมากมายไม่อาจประมาณได้

การนับจำนวนพระพุทธเจ้า ๒๕ พระองค์นั้น เป็นการนับเริ่มแต่ พระพุทธเจ้าทีปังกร เป็นต้นมา เพราะทรงเป็นพระพุทธเจ้าพระองค์แรกที่ทรงพยากรณ์ว่าพระพุทธเจ้าศากยมุนีโคดมของเรานั้นจะได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า จนถึง พระพุทธเจ้าศากยมุนีโคดมของเรา รวมเป็น ๒๕ พระองค์

บางครั้งก็นิยมนับจำนวนพระพุทธเจ้าเป็น ๒๘ พระองค์ ซึ่งเป็นการนับรวมพระพุทธเจ้าตัณหังกร เมธังกร และสรณังกร เข้าไว้ด้วย เพราะเหตุว่า พระพุทธเจ้าทั้ง ๓ พระองค์นั้น ก็ทรงอุบัติขึ้นในกัปเดียวกันกับพระพุทธเจ้าทีปังกร

การนับจำนวนพระพุทธเจ้าที่พระพุทธองค์ของเราได้เคยประสบมาและได้รับการพยากรณ์นั้น ไม่นับรวมพระศรีอริยเมตไตรย์ที่จะมาตรัสรู้ในกาลข้างหน้า แม้จะมาอุบัติในกัปนี้เช่นเดียวกัน ด้วยเหตุว่า พระองค์ยังมิได้ทรงเป็นพระพุทธเจ้า ยังเป็นเพียงพระโพธิสัตว์ที่จะมาตรัสรู้เท่านั้น ...

วามแตกต่างขององค์สมเด็จพระสัมาสัมพุทธเจ้าแต่ละพระองค์

1. วรรณะของพระองค์ (เท่าที่พบ มี พราหมณ์ และ กษัตริย์)
2. พุทธลักษณะ ขนาดพระวรกาย
3. พาหนะที่ทรงเสด็จออกบรรพชา
4. ไม้ศรีมหาโพธิ์ที่ตรัสรู้
5. ระยะเวลา ที่ทรงบำเพ็ญเพียรเพื่อตรัสรู้
6. พระรัศมีแผ่ออกโดยรอบพระวรกาย
7. จำนวนพระอรหันต์ ที่เป็นพุทธบริวารแวดล้อมตามเสด็จ
8. พระชนมายุของพระพุทธองค์
9. อายุ การประกาศพระศาสนา

อรรถกถาขุททกนิกาย พุทธวงศ์ ปธานเวมัตตะ ความแตกต่างกันแห่งการตั้งความเพียร

พระพุทธเจ้าคือพระทีปังกร พระโกณฑัญญะ พระสุมนะ พระอโนมทัสสี.พระสุชาตะ พระสิทธัตถะและพระกกุสันธะ ทรงบำเพ็ญเพียร ๑๐ เดือน.

พระพุทธเจ้าคือพระมังคละ พระสุเมธะ พระติสสะและพระสิขี ทรงบำเพ็ญเพียร ๘ เดือน

พระเรวตพุทธเจ้า ๗ เดือน.
พระโสภิตพุทธเจ้า ๔ เดือน.
พระพุทธเจ้าคือ พระปทุมะ พระอัตถทัสสีและพระวิปัสสี ครึ่งเดือน.
พระพุทธเจ้าคือ พระนารทะ พระปทุมุตตระ พระธัมมทัสสีและพระกัสสปะ ๗ วัน.
พระพุทธเจ้าคือ พระปิยทัสสี พระปุสสะ พระเวสสภู และพระโกนาคมนะ ๖ เดือน.
พระพุทธเจ้าของเราทรงบำเพ็ญเพียร ๖ ปี.

รัศมีเวมัตตะ

ที่ชื่อว่ารัศมีเวมัตตะ ความแตกต่างกันแห่งพระรัศมี ได้ยินว่า พระมังคลสัมมาสัมพุทธเจ้า มีพระรัศมีแห่งพระสรีระ แผ่ไปในหมื่นโลกธาตุ
.พระปทุมุตตรพุทธเจ้า แผ่ไป ๑๒ โยชน์.
พระวิปัสสีพุทธเจ้า แผ่ไป ๗ โยชน์.
พระสิขีพุทธเจ้า แผ่ไป ๓ โยชน์.
พระกกุสันธพุทธเจ้า แผ่ไป ๑๐ โยชน์.
พระผู้มีพระภาคเจ้าของเรา ประมาณหนึ่งวาโดยรอบ.
พระพุทธเจ้านอกนั้น ไม่แน่นอน.
นี้ชื่อว่า รัศมีเวมัตตะ.

ยานเวมัตตะ

ที่ชื่อว่ายานเวมัตตะ ความแตกต่างกันแห่งพระยาน ได้แก่ พระพุทธเจ้าบางพระองค์ออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือช้าง บางพระองค์ด้วยยานคือม้า บางพระองค์ด้วยยานคือรถ ดำเนินด้วยพระบาท ปราสาทและวอเป็นต้นอย่างใดอย่างหนึ่ง
.พระพุทธเจ้าคือพระทีปังกร พระสุมนะ พระสุเมธะ
พระปุสสะ พระสิขิ และพระโกนาคมนะ ออกอภิเนษกรมณ์ด้วยยานคือช้าง
พระโกณฑัญญะ พระเรวตะ พระปทุมะ พระปิยทัสสี พระวิปัสสีและพระกกุสันธะ ด้วยยานคือรถ.
พระมังคละ พระสุชาตะ พระอัตถทัสสี พระติสสะ และพระโคตมะด้วยยานคือม้า.
พระอโนมทัสสี พระสิทธัตถะ พระเวสสภู ด้วยยานคือวอ.
พระนารทะเสด็จออกอภิเนษกรมณ์ด้วยพระบาท.
พระโสภิตะ พระปทุมุตตระ พระธัมมทัสสีและพระกัสสปะออกอภิเนษกรมณ์ด้วยปราสาท.
นี้ชื่อว่า ยานเวมัตตะ.

เรื่องสถานที่พระพุทธเจ้าไม่ทรงละ

ก็พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ ไม่ทรงละสถานที่ ๔ แห่ง. จริงอยู่ โพธิบัลลังก์ พระพุทธเจ้าทุกพระองค์ไม่ทรงละ เป็นสถานที่แห่งเดียวกันนั่นเอง,ไม่ทรงละการประกาศพระธรรมจักร ณ ป่าอิสิปตนะมิคทายวัน, ไม่ทรงละสถานที่เหยียบพระบาทครั้งแรก ใกล้ประตูสังกัสสนคร ครั้งเสด็จลงจากเทวโลก,ไม่ทรงละสถานที่วางเท้าเคียง ๔ เท้าแห่งพระคันธกุฎีในพระวิหารเชตวัน.พระวิหารเล็กก็มี ใหญ่ก็มี ทั้งพระวิหารก็ไม่ละ ทั้งพระนคร

เรื่องการกำหนดสหชาตและกำหนดนักษัตร์

ท่านพระสังคีติกาจารย์ทั้งหลาย แสดงกำหนดสหชาต และกำหนดนักษัตร ของพระผู้มีพระภาคเจ้าของเราเท่านั้น. สิ่งที่เกิดร่วมกันกับพระสัพพัญญูโพธิสัตว์ของเรามี ๗ เหล่านี้ คือ พระมารดาพระราหุล ๑พระอานันทเถระ ๑ พระฉันนะ ๑ พระยาม้ากัณฐกะ ๑ หม้อขุมทรัพย์ ๑ พระมหาโพธิ ๑ พระกาฬุทายี ๑ นี้ชื่อว่ากำหนดสหชาต.

โดยนักษัตรคือดาวฤกษ์ในเดือนอุตตราสาธ พระมหาบุรุษ ลงสู่พระครรภ์พระชนนี เสด็จออกมหาภิเนษกรมณ์ ทรงประกาศพระธรรมจักรทรงแสดงยมกปาฏิหาริย์, โดยนักษัตรคือดาวฤกษ์ในเดือนวิสาขะ ประสูติตรัสรู้ และปรินิพพาน, โดยนักษัตรคือดาวฤกษ์เดือนมาฆะ พระองค์ทรงประชุมพระสาวก และทรงปลงอายุสังขาร, โดยนักษัตรคือดาวฤกษ์เดือนอัสสยุชะเสด็จลงจากเทวโลก นี้ชื่อว่า กำหนดนักษัตร.

เรื่องธรรมดาของพระพุทธเจ้า

บัดนี้ เราจะประกาศธรรมดาทั่วไปของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ธรรมดาของพระพุทธเจ้าทุกพระองค์ มี ๓๐ ถ้วน คือ
๑. พระโพธิสัตว์ผู้มีภพสุดท้าย มีสัมปชัญญะรู้ตัว ลงสู่พระครรภ์ของพระชนนี
๒. พระโพธิสัตว์นั่งขัดสมาธิในพระครรภ์ของพระชนนีหันพระพักตร์หันพระพักตร์ออกไปภายนอก
๓. พระชนนีของพระโพธิสัตว์ยืนประสูติ
๔. พระโพธิสัตว์ออกจากพระครรภ์พระชนนีในป่าเท่านั้น
๕. พระโพธิสัตว์วางพระบาทลงบนแผ่นทอง หันพระพักตร์ไปทางทิศเหนือ ย่างพระบาท ๗ ก้าว เสด็จไปตรวจดู ๔ ทิศแล้วเปล่งสีหนาท
๖. พระมหาสัตว์ พอพระโอรสสมภพ ก็ทรงเห็นนิมิต ๔ แล้วออกมหาภิเนษกรมณ์
๗. พระมหาสัตว์ ทรงถือผ้าธงชัยแห่งพระอรหันต์ ทรงผนวช ทรงบำเพ็ญเพียรกำหนดอย่างต่ำที่สุด ๗ วัน
๘. เสวยข้าวมธุปายาส ในวันที่ทรงบรรลุพระสัมโพธิญาณ
๙. ประทับนั่งเหนือสันถัตหญ้าบรรลุพระสัพพัญญุตญาณ
๑๐.ทรงบริกรรมอานาปานัสสติกัมมัฏฐาน
๑๑. ทรงกำจัดกองกำลังของมาร
๑๒. ณ โพธิบัลลังก์นั่นเอง ทรงได้คุณมีอสาธารณะญาณ ตั้งแต่วิชชา ๓ เป็นต้นไปเป็นอาทิ
๑๓. ทรงยับยั้งใกล้โพธิพฤกษ์ ๗ สัปดาห์
๑๔. ท้าวมหาพรหมทูลอาราธนาเพื่อให้ทรงแสดงธรรม
๑๕. ทรงประกาศพระธรรมจักร ณ ป่าอิสิปตนะ มิคทายวัน
๑๖. ในวันมาฆบูรณมี ทรงยกปาติโมกข์ขึ้นแสดงในที่ประชุมสาวกประกอบด้วยองค์ ๔
๑๗. ประทับอยู่ประจำ ณ ที่พระวิหารเชตวัน
๑๘. ทรงทำยมกปาฏิหาริย์ ใกล้ประตูกรุงสาวัตถี
๑๙. ทรงแสดงพระอภิธรรม ภพดาวดึงส์
๒๐. เสด็จลงจากเทวโลก ใกล้ประตูสังกัสสนคร
๒๑. ทรงเข้าผลสมาบัติต่อเนื่องกัน
๒๒. ทรงตรวจดูเวไนยชน ๒ วาระ
๒๓. เมื่อเรื่องเกิดขึ้น จึงทรงบัญญัติสิกขาบท
๒๔. เมื่อเหตุต้นเรื่องเกิดขึ้น จึงตรัสชาดก
๒๕. ตรัสพุทธวงศ์ในสมาคมพระประยูรญาติ
๒๖. ทรงทำปฏิสันถารกับภิกษุอาคันตุกะ
๒๗. พวกภิกษุจำพรรษาแล้วถูกนิมนต์ ไม่ทูลบอกลาก่อน ไปไม่ได้
๒๘. ทรงทำกิจก่อนและหลังเสวย ยามต้น ยามกลางและยามสุดท้ายทุก ๆ วัน
๒๙. เสวยรสมังสะ ในวันปรินิพพาน
๓๐. ทรงเข้าสมาบัติยี่สิบสี่แสนโกฏิสมาบัติแล้วจึงปรินิพพาน

ไม่มีความคิดเห็น: