วันศุกร์ที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ. 2551

พิธีการไหว้ครูแบบแพทย์แผนไทย

พิธีการไหว้ครูและการเตรียมเครื่องไหว้ครู
แนวคิด การกำหนดขั้นตอนพิธีไหว้ครูจะช่วยให้ผู้เกี่ยวข้องรู้ความหมายของพิธีกรรม และมุ่งมั่นที่จะร่วมคิดร่วมทำ ไปสู่เป้าหมายที่กำหนด เป็นการระลึกถึงบรมครูในการเรียนการสอนของหลักสูตร เป็นการค้นคว้าหาวิธีการที่เหมาะสมที่สุด เพื่อไปสู่เป้าหมาย การนำหลักสูตรไปสู่การปฏิบัติในรูปแผนงาน โครงการและกิจกรรมซึ่งประกอบด้วยขั้นตอนหลายขั้นตอน เช่น พิธีไหว้ครู การจัดเตรียมวัสดุอุปกรณ์และขั้นตอนในการไหว้ครู เป็นต้นจุดประสงค์นำทาง เมื่อศึกษาตอนที่ 3 แล้วผู้เรียนสามารถ 1. อธิบายขั้นตอนพิธีการไหว้ครูแบบแพทย์แผนไทยได้ 2. อธิบายขั้นตอนการเตรียมเครื่องไหว้ครูแบบแพทย์ไทยได้ขอบข่ายเนื้อหา เรื่องที่ 1 พิธีการไหว้ครูแบบแพทย์แผนไทยได้ เรื่องที่ 2 ขั้นตอนเตรียมเครื่องไหว้ครูแบบแพทย์แผนไทยได้


เรื่องที่ 1 พิธีการไหว้ครูแบบแพทย์แผนไทย

เนื้อหาวิชา พิธีไหว้ครูปฏิบัติดังนี้ หลังจากเตรียมเครื่องไหว้ครูในพิธีการไหว้ครูครบทุกอย่างแล้ว ให้นำเครื่องไหว้ครู ใส่ลงในเชี่ยนหมากหรือพานไหว้ครุแล้วให้คนป่วยยื่นให้กับมือหมอ หมอก็จะทำพิธีเสกคาถา เป็นอันเสร็จพิธีไหว้ครูการไหว้ครูแพทย์แผนไทย การบูชาพระบรมครูแบะการไหว้ครู เป็นประเพณีสำคัญอย่างหนึ่งของไทยมาแต่โบราณ ไม่ว่าการกระทำใดๆ ซึ่งต้องการอาศัยการเรียนรู้ จากครู ผู้ที่ได้รับความรู้จะต้องทำการบูชาครู เป็นพิธีกรรมที่แสดงถึงการเคารพและระลึกถึงพระคุณของครูบาอาจารย์และเป็นโอกาสที่ลูกศิษย์ และอาจารย์จะได้พบปะกันได้ถามทุกข์สุขความเป็นอยู่ของกันและกัน หากลูกศิษย์มีปัญหาจากการปฏิบัติงานก็มีโอกาสได้ซักถามอาจารย์หรือผู้ใดมีความรู้ใหม่ๆ ก็นำมาแลกเปลี่ยนกัน นอกจากนี้ยังทำให้ลูกศิษย์ได้มารวมกลุ่มกัน มีการแลกเปลี่ยนความรู้กันระหว่างศิษย์รุ่นเดียวกันและรุ่นอื่นๆ ในวงการแพทย์แผนไทยนิยมทำพิธีการบูชาบรมครูชีวกโกมารภัจน์ และพิธีการไหว้ครูในระหว่างเดือน 6 – 9 เพราะเป็นฤดูที่จะทำกิจการงานต่างๆ ให้ก้าวหน้าไปสู่ความเจริญรุ่งเรืองยิ่งๆ ขึ้นไป
นอกจากพระบรมครูชีวกโกมารภัจน์แล้ว ยังมีพระบรมครูของแพทย์แผนโบราณดั้งเดิม คือ พระฤาษี ซึ่งเชื่อว่าเป็นผู้ค้นพบคุณค่ายา สมุนไพร ต่างๆ ได้แก่
1. พระฤาษีอมรประสิทธิ์ 2. พระฤาษีนารถ 3. พระฤาษี 4. พระฤาษีตาไฟ 5. พระฤาษีตาวัว 6. พระฤาษีกัศยป 7. พระฤาษีสังขา 8. พระฤาษีกไลยโกศ

(จากสาราณุกรมวัฒนธรรมไทย ภาคกลาง เล่มที่ 15 หม่อม – โอกปิ๊บ : การเล่น จัดพิมม์เนื่องในพระราชพิธี มหามงคลเฉลิมพระชนม พรรษา 6 รอบ 5 ธันวาคม 2542)



เรื่องที่ 2 การเตรียมเครื่องไหว้ครูแพทย์แผนไทย

เนื้อหา การเตรียมเครื่องไหว้ครูแบบแพทย์แผนไทย 1. เหล้าขาว 2. น้ำมันมะพร้าว 3. ผ้าขาว 4. ด้ายดิบ 5. ข้าวสาร 6. หมาก , พลู 9 คำ 7. ดอกไม้คละสี 9 ดอก 8. เงินค่าไหว้ครู 12 บาท (หรือมากกว่าแต่ลงท้ายด้วย 12) 9. เชี่ยนหมาก หรือพาน 10. เทียนไข 11. มีดหมอหมาก การนำหมากมาใช้ในการกินหมากนั้น อาจใช้หมากได้ทั้งหมากดิบสดหรือตากแห้งแล้ว ซึ่งหมากตากแห้งนั้นจะนำเอาหมากมาผ่าเป็นชิ้น แล้วใช้เชือกร้อยเป็นแถวยาวประมาณ 1 ศอก ตากแห้งแล้วมัดรวมไว้กินนาน ๆ เรียกกันว่า หมากไหม หรือ หมากเสียบ ถ้านำหมากไหมจำนวน10 สาย มัดรวมกันเป็นพวก จะเรียกว่า หมากหัวหรือหมากพันและหมากหัว 10 พวง รวมเรียกกันว่า หมากหมื่นหรือหมากลุน ในการกินหมาก บางท่านจะทำหมากพร้อมใบพลูใส่ปูน และเครื่องต่างๆ ไว้เป็นคำๆ เรียกว่า หมากสุบ หมากสุบพลูแหล้ม หรือหมากจีบพลูแหลม สำหรับคนแก่ที่ไม่สามารถเคี้ยวหมากหยาบๆ ได้ จะนำหมากให้แหลกก่อน
สรรพคุณของหมาก กล่าวกันว่า มีสรรพคุณฆ่าพยาธิ ขับปัสสาวะ ขับลม แก้บิดท้องร่วง แก้แผลเน่าเปื่อย เจริญอาหาร แก้ไอ เป็นต้น ใน ตำราสมุนไพรล้านนาก็มีการใช้หมากในตำรับยาหลายขนาน เช่น ยากมุตขึด (ยารักษาโรคทางเดินปัสสาวะ) ยามะเร็งครุท้องเป็นก้อน (ยารักษา โรคลม คล้ายมีลมดันเป็นก้อนในท้อง) ยาปิ (ยารักษาอาการเป็นลมหน้ามืด) หมากถือเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องประกอบพิธีหลายอย่าง เช่น ในการจัด “ขันตั้ง” หรือขันครู แต่งตาให้พระสงฆ์ผู้ประกอบพิธีหรือให้แก่ อาจารย์วัด มัคนายก ที่เป็นผู้ประกอบพิธีต่างๆ “ขันตั้ง” นั้นประกอบด้วย เครื่องประกอบหลายอย่างมีหมากรวมอยู่ด้วย คือ “หมากพันสาม” ที่คู่ กับ “เบี้ยพันสาม” ความยาวประมาณ“คีบเต็ก” คือความยาวเต็มเหยียดของคืบ ซึ่งพบว่าร้อยหมากไว้สิบสามชิ้นและเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า“หมาก ไหมร้อย” หมากจำนวนหนึ่ง “หัว” หรือ”พุก” คือ หมากจำนวน 100 เรียกว่า “หมากพันสาม” หมากเป็นสมุนไพรรักษาโรค คนสมัยก่อนเชื่อกันว่า หมากการเคี้ยวหมากทำให้ฟันแข็งแรงทนทานปัจจุบันก็ยังพอจะสังเกตเห็นผู้เฒ่าผู้ แก่อายุ 70-80 ปีที่เป็นคนเคี้ยวหมากมาก่อน ฟันของท่านเหล่านั้นส่วนใหญ่ยังมีอยู่เต็มปาก และไม่ค่อยมีปัญหาเรื่องฟัน ซึ่งก็จะมีการทำความ สะอาดฟันวันละหลายครั้ง ขณะที่หมากยังอยู่ในปากเขาจะเอาเปลือกหมากแห้งขัดฟันด้านหน้าให้สะอาดและเป็นเงางาม หมากยังใช้เป็นยาแก้ไอ และระคายคอได้ด้วย เมื่อเกิดอาการไอ เจ็บคอ หรือคันคอ เนื่องจากหวัด ไม่ว่าเกิดขึ้นกับเด็กหรือผู้ใหญ่ คนในสมัยโบราณจะอม “ตับหมาก” อาการไอก็จะทุเลาลง (คงเพราะความฝาด) และในส่วนของผดผื่นคันนั้นก็อาจจะใช้หมากรักษาโรคผดผื่นคันได้ ที่ผู้เรียนเคยเห็นมากับตาคือเมื่อ ประมาณ พ.ศ. 2524 นั้นมี “ผ้าขาว” (ชีปะขาว) จากจังหวัดลำพูน เดินสัญจรไปพักตากวัด รับรักษาโรคต่าง ๆ เช่น ปวดหลัง ปวดเอว ปวดข้อ ปวดกระดูก เป็นต้น โดยใช้ไม้เท้าของครูบาศรีวิชัย เคาะไปตามบริเวณที่ปวด มีคนเป็นโรคผื่นคันดังกล่าวมาก่อน แต่เพื่อรักษาความเป็นอาจารย์ ไว้ จึงแก้ปัญหาด้วยการคายชานหมากออกให้คนผู้นั้นนำไปทาบริเวณที่คัน คงเป็นเพราะความฝาดของหมาก ยาฉุน ปูน ใบพลู และเปลือกก่อ ประมาณ 3 วัน อาการคันของคนนั้นก็ทุเลาเบาบาง และหายไปในที่สุด “ขี้หมาก” (ชานหมาก) ของผ้าขาวก็กลายเป็นของศักดิ์สิทธิ์ มีการให้บูชา ถึงคำละ 5 บาท

ไม่มีความคิดเห็น: