วันอังคารที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2551

ครูบาน้อย

ครูบาน้อยวัดศรีดอนมูล















เจ้าตำรับเข้านิโรธกรรมคอลัมน์ มองคลข่าวสดครูบาน้อย เตชปญฺโญ หรือ พระครูสิริศีลสังวร เป็นพระเกจิอาจารย์ชื่อดังแห่งวัดศรีดอนมูล อ.สารภี จ.เชียงใหม่ เชี่ยวชาญวิทยาคมเป็นที่เลื่องลือไปทั่วสารทิศ ได้รับการยกย่องว่าเป็นพระเกจิอาจารย์ระดับแนวหน้าแห่งล้านนาครูบาน้อย บำเพ็ญเพียรตั้งมั่นอยู่ในสมณธรรมอย่างเคร่งครัด มีวัตรปฏิบัติเรียบง่าย ปฏิปทางดงามเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาของผู้ได้พบเห็นปัจจุบัน อายุ 56 พรรษา 36 อัตโนประวัติ มีนามเดิมว่า ประสิทธิ์ กองคำ เกิดเมื่อวันเสาร์ที่ 10 กุมภาพันธ์ 2494 แรม 4 ค่ำ เดือน 3 (เหนือ) ปีขาล ที่บ้านศรีดอนมูล ต.ชมภู อ.สารภี จ.เชียงใหม่ โยมบิดา-มารดา ชื่อ นายคำและนางต๋าคำ กองคำเมื่อแรกเกิด ท่านมีสายรกพันรอบตัว ตามความเชื่อคนโบราณในภาคเหนือ เล่าสืบกันมาว่าจะได้บวชเป็นพระสืบทอดพระพุทธศาสนาเข้าพิธีบรรพชาเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2507 โดยมีพระครูอินทรสธรรม (ครูบาอิ่นแก้ว อินทรโส) วัดกู่เสือ อ.สารภี จ.เชียงใหม่ เป็นพระอุปัชฌาย์ศึกษาตำรายาสมุนไพรและสรรพวิทยาคมต่างๆ จากพระครูพิศิษฏ์สังฆการ พร้อมทั้งศึกษาพระปริยัติธรรม สามารถสอบได้นักธรรมชั้นเอกเมื่ออายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ วันที่ 3 พฤษภาคม 2514 เข้าพิธีอุปสมบท ณ พระอุโบสถวัดพญาชมพู โดยมีพระครูพุทธาทิตยวงศ์ (ครูบาอุ่นเรือน อินทรโส) วัดป่าแคโยง อ.สารภี จ.เชียงใหม่ เป็นพระอุปัชฌาย์ได้ฉายา เตชปญฺโญ แปลว่า ผู้มีปัญญาเป็นเดชครูบาน้อย ศึกษาในพระปริยัติธรรม แผนกบาลี ที่สำนักเรียนวัดพระธาตุหริภุญชัย จ.ลำพูน รวมทั้งได้ฝึกวิปัสสนากัมมัฏฐานจากหลวงพ่อครูบาผัด และครูบาพรหมมา พรัหมจักโก ณ วัดพระพุทธบาทตากผ้า จ.ลำพูนอีกทั้งยังได้ศึกษาวิชาธรณีศาสตร์และพระคาถาต่างๆ จากพระครูจันทสมานคุณ (หลวงปู่หล้า ตาทิพย์) วัดป่าตึง อ.สันกำแพง จ.เชียงใหม่ด้วยศึกษาอักขระภาษาล้านนา วิทยาคมด้านเมตตามหานิยม ตำรับตำรายาสมุนไพรจากหลวงพ่อพระครูมงคลคุณาธร (ครูบาคำปัน นันทิโย) วัดหม้อคำตวง อ.เมือง เชียงใหม่ครูบาน้อย ย้อนอดีตความหลังว่า ได้ทำการค้นคว้าวัตรปฏิบัติของครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทยอย่างจริงจังจากหนังสือ (ปั๊บสาภาษาล้านนา) ต่างๆ ที่มีอยู่ จึงได้ค้นพบวิธีการเข้านิโรธกรรมของครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนาไทยจึงตั้งสัจจะอธิษฐานที่จะอุทิศชีวิตแลกกับชีวิตของครูบาผัดที่กำลังอาพาธอยู่ ด้วยการถือปฏิบัติการเข้านิโรธกรรม ตามแบบครูบาศรีวิชัยปฏิบัติครั้งแรกในปีพ.ศ.2537 และถือปฏิบัติเป็นประจำทุกปี ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์เหมือนดังปาฏิหาริย์ ช่วงที่ได้ปฏิบัตินิโรธกรรม 2 วัน ปรากฏว่าอาการของครูบาผัด ที่คณะแพทย์บอกให้ทำใจ ได้หายเป็นปลิดทิ้ง จึงได้ปฏิบัติเรื่อยมาจนถึงปัจจุบันครูบาน้อย ยังเป็นผู้ที่รู้คุณบุพการีและรำลึกถึงผู้มีพระคุณครูบาอาจารย์ที่ได้ประสิทธิ์ประสาทวิชาต่างๆ จึงมักจะอบรมสั่งสอนสานุศิษย์ ให้รู้จักบุญคุณ ทดแทนพระคุณบิดามารดา ครูบาอาจารย์จนได้รับฉายาว่า "นักบุญยอดกตัญญู"ครูบาน้อย เป็นพระเถระที่มุ่งแสวงหาความสงบวิเวก ธุดงค์ไปยังจังหวัดเชียงราย ผ่านทางอำเภอดอยสะเก็ด ไปยังจ.เชียงราย พะเยา และแพร่ วกกลับมาทางจังหวัดลำปางเข้าลำพูนจนถึงวัดศรีดอนมูลครูบาน้อย ตระหนักดีว่า พระสงฆ์แบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ1.คามวาสี คือ พระที่อาศัยอยู่ในหมู่บ้าน หรือในเมือง มีหน้าที่สำคัญในการอบรมสั่งสอนพุทธบริษัทให้กระทำความดี ละเว้นความชั่วและทำจิตใจให้ผ่องใสอยู่เสมอ2.อรัญวาสี คือ พระที่อาศัยอยู่ตามวัดป่า หรือป่า พระประเภทนี้จะใช้เวลาในการปฏิบัติวิปัสสนากัมมัฏฐาน เพื่อความพ้นจากกิเลสเรื่องเศร้าหมองจากเหตุผลนี้ จึงจัดสร้างสวนป่าปฏิบัติธรรม จำนวน 15 ไร่สวนป่าแห่งนี้ได้ใช้ในการปลูกป่า 3 ประเภท คือ ไม้ที่เกี่ยวกับพระพุทธศาสนา, ไม้สมุนไพรไทย, ไม้ในวรรณคดีไทย โดยตั้งใจให้เป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมของพุทธศาสนิกชน พระภิกษุ สามเณร ในการปฏิบัติกัมมัฏฐานสำหรับวิธีการนิโรธกรรม ครูบาน้อย กล่าวว่า เป็นการตั้งจิตใจให้มั่นคงจากนั้น ภายใน 3-5-7-9 วัน จะไม่ฉันอาหาร ฉันเพียงแต่น้ำที่อยู่ในบาตร ขังตัวเองอยู่ในกุฏิหรือกระท่อมที่จัดสร้างขึ้นกว้าง 5 วา ยาว 5 วา มีประตูปิดเปิดความหมายการเข้านิโรธกรรม คือ เข้า 3 วัน เปรียบหมายถึง พระพุทธ พระธรรม พระสงฆ์เข้า 5 วัน คือ พระเจ้าห้าพระองค์ พระกะกุสันโธ โกนาคะมะโน กัสสะโป โคตะโม อริยเมตเตยโยเข้า 7 วัน คือ พระอภิธรรม 7 คัมภีร์ สังวิทา ปุกะยะปะเข้า 9 วัน คือ พระนวโลกุตรธรรมเจ้าเก้าประการ มรรค 4 ผล 4 นิพพาน 1นิโรธ คือ ความดับทุกข์ ดับตัณหาได้สิ้นเชิง อันหมายถึงพระนิพพาน เป็นคุณสมบัติของพระอริยสงฆ์เจ้าทั้งหลายและเป็นที่ปรารถนาของนักปฏิบัติที่พึงเข้าถึงให้ได้การปฏิบัติ เข้า-ออกนิโรธกรรมประจำปีของครูบาน้อย เป็นแบบเฉพาะที่ผสมผสานกับธุดงควัตร หมายถึง นิโรธกรรมสมมติสงฆ์ ดำเนินตามรอยของท่านครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา อันเป็นกุศโลบายเฉพาะ มุ่งขัดเกลากิเลสให้บางเบาลงไปเป็นครั้งเป็นคราว แตกต่างกับนิโรธสมาบัติของพระอริยเจ้าที่ตัดกิเลสได้นิโรธกรรมสมมติสงฆ์ เป็นการดับอายตนะชั่วคราว เพื่อความสงบแห่งจิตเป็นแนวทางที่ครูบาน้อยยึดถือปฏิบัติ เพื่อเป็นอาจาริยบูชา มาตาปิตุบูชา เป็นเวลา 3-5-7 วัน ตามกำลังที่จะปฏิบัติได้ด้านวัตถุมงคลที่มีชื่อเสียงของครูบาน้อย คือ พระอุปคุต "เพชรล้านนา" ที่ระลึกการอธิษฐานจิตเข้านิโรธกรรม ปี"49 ครูบาน้อยได้สร้างพระอุปคุต "เพชรล้านนา" ประกอบด้วย พระกริ่งอุปคุตเนื้อทองคำ เนื้อเงิน เนื้อโลหะผสมและเนื้อผงพุทธคุณ พระบูชาอุปคุตอุ้มบาตรถือลูกประคำบริกรรมภาวนาขนาดความสูง 7 นิ้ว 12 นิ้ว และ 22 นิ้ว เพื่อเป็นที่ระลึกพิธีเข้านิโรธกรรม ประจำปี 2549 และจัดหารายได้สมทบทุนสร้างเจดีย์ 9 คณาจารย์ วัดศรีดอนมูล อ.สารภี จ.เชียงใหม่นอกจากนี้ ยังมีวัตถุมงคลเป็นตะกรุดประสิทธิเวชมหาลาภ 3 กษัตริย์ ตะกรุดกาสะท้อนกะไหล่ทอง ตะกรุดคุ้มภัยประสิทธิ์, พญา-นางพญาไก่ทอง, รูปหล่อองค์เหมือนครูบาน้อย, ยันต์โภคทรัพย์ บารมีครูบาน้อยยันต์ดวงพิชัยมงกุฎพระพุทธเจ้า พระอุปคุตผงว่าน 108 ฝังตะกรุดทองแดง 1 ดอก, ล็อกเกตจัมโบ้รูปครูบาน้อย, ล็อกเกตรูปครูบาน้อย, สร้อยประคำหินหยก 108 ตะกรุดกาสะท้อน และลอยองค์ครูบาน้อย 1 องค์, สร้อยกะลาตะกรุดพระพุทธคุณประจำวันเกิด, พระผงเกศาครูบาศรีวิชัยล่าสุดที่กำลังจะเตรียมการสร้าง คือ จตุคามรามเทพ รุ่นเพชรเศรษฐี มั่งมีทรัพย์ รายได้ทั้งหมดจะนำไปสมทบทุนสร้างเจดีย์ 9 คณาจารย์ ที่ยังสร้างค้างอยู่ให้แล้วเสร็จสำหรับพระพุทธรูปอุปคุต ในวัดศรีดอนมูล ถูกนำมาประดิษฐานไว้ 2 องค์ ในลักษณะนั่งอุ้มบาตร 1 องค์ และพระพุทธรูปอุปคุตแบบยืนส่วนคติธรรมคำสอน ครูบาน้อยเตือนสติศิษยานุศิษย์อยู่เสมอว่า "คิดก่อนทำ ไม่ใช่ทำแล้วคิด คิดก่อนพูด ไม่ใช่พูดแล้วคิด คิดก่อนไป ไม่ใช่ไปแล้วคิด คิดดีเพื่อดี คิดดีสู่ดี ของจริงทำจริง เห็นจริง ของดีทำดี เห็นดี คิดดีเพื่อดี คิดดีสู่ดี คิดชั่ว ทำชั่ว ได้ชั่ว ฉะนั้นให้ถึงพร้อมทานศีลภาวนา นิพพานัง ปรมัง สุขัง"

ไม่มีความคิดเห็น: