วันอังคารที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2551

วัดต้นสน (หลวงพ่อสัมฤทธิ์)

วัดต้นสน









วัดต้นสน เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่ง เดิมชื่อ วัดสนธยา ตั้งอยู่บริเวณโรงสีล้วนข้าวไทย ฝั่งตรงข้ามของวัดต้นสนปัจจุบัน สมภารในสมัยนั้นชื่อ หลวงพ่อค้ำ (คำ) ต่อมาสภาพของพื้นที่เปลี่ยนแปลง เพราะเป็นท้องคุ้ง น้ำเซาะตลิ่งพังลึกเข้าไปมาก จึงย้ายสถานที่ตั้ง ณ ที่ปัจจุบัน โดยสมอาภารองค์แรกชื่อ ยัง ในสมัยประมาณ 150 ปีล่วงมาแล้ว วัดอยู่ติดปากอ่าว ดังนั้นชาวบ้านจึงเรียกว่า วัดนอก ประกอบกับวัดมีต้นสนเป็นสัญลักษณ์ จึงเรียกรวมกันว่า วัดนอกต้นสน ต่อมาภายหลัง แผ่นดินงอกออกไปอีกมากขุนอุดมเดชภักดี ได้สร้างวัดอุตมิงฆราวาสที่ปากอ่าวเรียกกันว่าวัดปากอ่าวชาวบ้านจึงเรียกวัด นอกต้นสนสั้นๆว่า วัดต้นสนแต่นั้นมา
เรื่องการสร้างวัดต้นสนนี้ นายอาบ ไชยาคำ ได้เขียนไว้ว่า เมื่อพ.ศ. 2509 สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ ขณะนั้นเป็นเจ้าพระยาศรี มาอำนวยการก่อสร้างวังบนเขา เมื่อพ.ศ. 2402 เมื่อเสร็จแล้วผู้คนที่เกณฑ์มาใช้การงานยังไม่ได้ปลดปล่อยจึงให้มาทำกระโจม ไฟหรือประภาคารปากทางเข้าอ่าวบ้านแหลม เป็นตึกสี่เหลี่ยมหลังคามุงกระเบื้อง
เมื่อ ประกอบกับประวัติหลวงพ่อสัมฤทธิ์ตอนหนึ่งกล่าวว่า เมื่อ พ.ศ. 2385 มีคนร้ายลักพาหลวงพ่อสัมฤทธิ์ไป พระอธิการได้ติดตามกลับมา พิจารณาจากข้อเขียนของนายอาบ ไชยาคำ ข้อความทั้งสองนี้ดูขัดแย้งกันเอง และขอฝากท่านผู้อ่านไว้ด้วยว่า ประวัติตอนนี้ยังไม่ยุติ เพราะท่านสร้างหลายวัด วัดที่ท่านสร้างมักมีปรากฏในประวัติของท่าน ถ้าท่านสร้างวัดต้นสนจริงจะไม่มีในประวัติของท่านเลยหรือ สำหรับการสร้างโบสถ์ จะมีกี่หลังไม่ทราบ แม้กระทั่งโบสถ์หลังที่รื้อไปแล้วก็เช่นกัน ไม่ทราบว่าผู้ใดสร้าง เดิมโบสถ์เก่าเป็นเรือนไม้ ยกพื้นสูงประมาณ 2 ศอก พื้นไม้ ฝาตีด้วยไม้ทั้ง 4 ด้าน เช่นเดียวกับโบสถ์วัดในกลางและโบสถ์วัดอื่นๆ
ต่อมาจึงได้มีการซ่อมแซมสร้างครั้งใหญ่ ในการสร้างซ่อมครั้งนี้ คงจะได้รับพระราชทานเงินจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเจ้าหลวงบ้าง และการบริจาคของประชาชน รวมกับนายเกี๊ยะต้นตระกูลของนายแถม นางตุ้ย โดยนายเกี๊ยะเป็นหัวหน้างาน การซ่อมสร้างครั้งนี้เป็นการซ่อมสร้างครั้งใหญ่มาการลงเข็มขนาด 3-3 นิ้ว ยาว 2 หรือ 3 เมตรบ้างไม่แน่นอน ใช้หินทะเลใช้กระเบื้องดินเผาของเดิมทุบผสมปูนขาวเชื่อมไว้บ้างเป็นบางส่วน มุงด้วยกระเบื้องดินเผาแบบจีนไม่เคลือบลวดลายภายในเป็นลายไทยฝีมือช่างจีน ลายหน้าบันเป็นไม้สักแกะสลัก เมื่อเสร็จแล้วได้จารึกไว้ที่ขื่อคานด้านหน้าว่า “ ซ่อมสร้างเมื่อวันอังคาร ขึ้น 1 ค่ำ เดือน 4 จุลศักราช 1245 ปี มะแม เบญจศก ตรงกับ พ.ศ.2426 นับถึงปัจจุบันได้ 92 ปี ประมาณ การว่าอยู่ในสมัยหลวงพ่อสุดเป็นสมภาร ”
ต่อมาหลวงพ่อจีนซึ่งเป็นรองเจ้า อาวาสวัดได้เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงจัดสร้างมณฑป โดยหลวงพ่อจีนได้ร่วมกับกรรมการวัด อันมรนายผูกและนายปานออกเรี่ยไรเงินจากประชาชนดำเนินการสร้างจนแล้วเสร็จ เมื่อวันเวลาผ่านพ้นไป สิ่งต่างๆ ก็เสื่อมโทรมไปตามวันเวลาปัจจุบันสถานที่ต่างๆ หลายแห่งเปลี่ยนแปลงไป หลายชิ้นถูกรื้อถอนเพราะความเก่าแก่ หลายชิ้นกำลังก่อสร้าง เพื่อเป็นสถานที่บำเพ็ญกุศลของพุทธศาสนิกชนต่อไป

โบราณสถานโบราณวัตถุ
หลวงพ่อสัมฤทธิ์ เป็นพระพุทธรูปปางห้ามสมุทร สมัยลพบุรีหล่อด้วยสัมฤทธิ์ สูง 80 เซนติเมตร พระอุระกว้าง 30 เซนติเมตรกษัตริ์มอญเป็นผู้สร้างขึ้น ราว พ.ศ. 1600 เป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์ประดิษฐาน ณ วิหารวัดต้นสน เป็นที่เคารพสักการะของประชาชนทั่วไป
อุโบสถ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม 2517 กำหนดเขตกว้าง 26 เมตร ยาว 40 เมตร และทำการผูกพัทธสีมาเมื่อวันที่ 13 เมษายน 2518 ดำริสร้างสมัยพระครูปัญญาคุณากร และมาสำเร็จสมบูรณ์ในสมัยพระอธิการนิรัญย์ ใช้เป็นที่ทำสังฑกรรมและเป็นที่เจริญจิตตภาวนา ของชาวอำเภอบ้านแหลมและใกล้เคียง
ศาลาการเปรียญ อัศจรรย์ที่พุทธานุภาพสามารถสร้างศาลาหลังนี้ได้ สมัยจอมพล ป.พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี หลวงพ่อสัมฤทธิ์ได้แสดงอิทธิปาฏิหาริย์ ห้ามฝนไม่ไห้ตก 3 วัน 3 คืน ทำให้ละครกรมศิลปากรแสดงได้ตามปกติ ทางราชการจึงมอบงบประมาณแผ่นดินจำนวน 100,000 บาท มาสร้างศาลาการเปรียญปลังประวัติศาสตร์นี้
พระปรางค์หน้าพระอุโบสถ สร้างเมื่อ พ.ศ. 2426 โดยนายเกี๊ยะและนางจอกภริยาพร้อมด้วยนางแหนน้องสาว เป็นโบราณสถานอันทรงคุณค่าเป็นศรีสง่าแก่วัดต้นสนที่ได้อนุรักษ์ไว้ให้อนุชน รุ่นหลังได้ศึกษาต่อไป
เรือสำเภาเจดีย์ สร้างปลายสมัยหลวงพ่อสุด โดยนางลักษณ์และนางโหมด ผู้สร้างวัดลักษณาราม เป็นผู้สร้างถวายวัดต้นสน โดยได้แบบมาจากวัดยานนาวา กรุงเทพมหานคร เป็นโบราณสถานที่รูปลักษณ์เฉพาะตัว


ประวัติหลวงพ่อสัมฤทธิ์
หลวงพ่อสัมฤทธิ์ มีพุทธลักษณะประทับยืนบนฐาน ยกพระหัตถ์ทั้งสองในลักษณะปางห้ามสมุทร เป็นแบบสมัยลพบุรี สูงประมาณ 80 เซนติเมตร พระอุระก้าง 30 เซนติเมตร เนื้อโลหะทำด้วยทองสัมฤทธิ์ทั้งองค์ ประดิษฐาน ณ วิหารวัดต้นสน อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี
ประวัติหลวงพ่อสัมฤทธิ์ มีเรื่องเล่ากันต่อมาว่า พระมหากษัตริย์มอญแห่งกรุงหงสาวดี ทรงมีพระราชศรัทธาในบวรพระพุทธศาสนา จึงได้โปรดให้สร้างพระพุทธปฎิมากรองค์นี้ขึ้น เมื่อนายช่างทำการหล่อเรียบร้อยแล้วพระองค์ทรงโสมนัสเป็นที่ยิ่ง เพราะพระพุทธรูปมีลักษณะงดงาม จึงเฉลิมฉลองสมโภชองค์พระปฏิมากรอย่างมโหฬาร
เมื่อเกิดสงครามมอญกับพม่า ราวสมัยสมเด็จพระเจ้าอนิรุทธมหาราช ประมาณ พ.ศ.1600 ต้นเหตุของสงครามคือ พม่าขอคัมภีร์พระไตรปิฎก และพระคณาจารย์ผู้ทรงสมณาภิญาณ เพื่อนำไปฟื้นฟูพระศาสนาในพม่า ซึ่งกำลังเสื่อมโทรมอย่างหนัก แต่ทางฝ่ายมอญ ขัดข้องโดยอ้างว่าพระคณาจารย์ไม่ยอมไป พม่าจึงยกทัพไปรบกับมอญ
กาลต่อมา มีชีปะขาวคนหนึ่ง เดินทางมาแวะพักร้อน ขณะนั่งอยู่นั้นก็บังเกิดพุทธาปาฏิหาริย์ เป็นแสงเงินแสงทองพวยพุ่งขึ้นไปกลางนภากาศชีปะขาวจึงรู้ด้วยอำนาจแห่งฌานว่า นี้ต้องมีสิ่งวิเศษซุกซ่อน อยู่เป็นแน่ จึงเดินไปที่โพรงไม้มะกอก และก็ได้พบพระพุทธปฏิมากรซุกซ่อนอยู่จริงๆ บังเอิญขณะที่ท่านกำลังจะข้ามแม่น้ำเรือเกิดล่มองค์พระพุทธปฎิมากร จมหายไปในแม่น้ำ ชีปะขาวพยายามค้นหาแต่ก็ไม่พบจึงขึ้นบนฝั่ง กราบอำลาองค์พระด้วยความเสียใจ แล้วเดินหายไปในป่าดงพงไพร
สมัยต่อมา องค์พระพุทธรูปนี้เกิดปาฎิหาริย์ คือลอยองค์ขึ้นมากระทบกับเรือสินค้าของพ่อค้าขายพลูเข้า พ่อค้าพลูจึงอัญเชิญไปกับเรือด้วยโดยใช้ใบตองปิดคลุมองค์ไว้ เที่ยวล่องเรือซื้อขายไป จนถึงเมืองสมุทรสงครามภายหลังพระพุทธรูปได้ไปเข้าฝันชาวบ้าน ขาวบ้านจึงนำสิ่งของไปแลกเปลี่ยนพระพุทธรูปไว้ แล้วนำมาประดิษฐาน ณ วัดต้นสนสืบมา
อนึ่ง พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนิน ณ จังหวัดเพชรบุรี เมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2515 ในการนี้ คณะกรรมการได้ทูลเกล้าฯ ถวายรูปเหมือน หลวงพ่อสัมฤทธิ์ ผู้ใดมีไว้อยู่บ้าน ก็คุ้มครองบ้านใครมีไว้กับตัว ก็คุ้มภัยตัวเอง ด้วยเหตุนี้ ชาวบ้านแหลมและจังหวัดใกล้เคียงจึงพร้อมใจกันมากราบสักการบูชากันเป็นจำนวน มาก ตราบเท่าทุกวันนี้


ขอขอบคุณข้อมูลจาก เทศบาลตำบลบ้านแหลม

สถานที่ตั้ง

วัดต้นสน ตั้งอยู่เลขที่ 2 ถนนนาควัธ ตำบลบ้านแหลม อำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี









.jpg


.jpg


.jpg

1.3.jpg

CA5G8N1D.1.jpg

1.2.0.jpg

_________109.0.jpg


ไม่มีความคิดเห็น: