วันพุธที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2551

ฤๅษีนารท



















น่าจะเป็นคาถาสวดบูชาพระฤาษี


นารอดนะขอรับมีอยู่บทที่หาได้ ของหลวงพ่อประสิทธิ์ วัดไทรน้อย

นะโม 3 จบ มะอะอุ สิวัง พรหมมา จิตตัง มานิมา ฤๅฦๅ ฤๅฦๅ พ่อปู่นารอด มานิมา ประสิทธิเม (3 จบ)



พระคาถาบูชาบรมครูปู่เจ้าสมิงพราย...(ภาษากูโบ๊ต)

***โอม ฤ ฤา มหา ฤ ฤา พยัฆเค พยัฆโค อิทธิฤทธิ์โธ อิทธิฤทธิ์เธ
สิเร สิเร คุโร คุโร ยา โด บัน นัมร์ นา ฮัม กู เดียร์ บัง เกียร์ โดร์ โดร์***


คาถาบูชาบรมครูปู่ฤาษีนารอด (ภาษากูโบ๊ต)

***โอม ฤ ฤา มหา ฤ ฤา มหา นา โร โธ ฮิ โร กา เร ฮิ เร บัน ยัง โดร์
เน วา ตู ซู ซูกา เดียงร์ ฮัม ฮัม โก โก***


คาถาบูชาพ่อปู่ฤาษีนารอด
ตั้งนะโม 3 จบ ฤ ฤา อะระหัง อยู่แล้วหรือยัง พ่อปู่นารอทขอเชิญเสด็จมาอยู่ตัว เอหิมาบังเกิด
ฦ ฦา ภะคะวา อุทธังอัทโธ จะภะจะสะ คงคงอะ ฯ (๕ จบ) ฤ ฤ ออกเสียง ลึลือ ฦ ฦา ออกเสียง รึรือ


คาถาบูชาปู่ตาไฟมีดังนี้
นะโม3จบ
อิติปิโสภะคะวา อะระหังสัมมา สัมพุทธโธวิชชา จะระนะสัมปันโน สุขโตโลกะวิทูร อนุตะโร ปุริสะธัมมะสาระทิ สัตสาเท วะมะนุศสานังพุทโธ ภะคะวาติ 3จบ
เเล้วต่อด้วย
คาถาพ่อปู่ฤษีตาไฟ
นาโคชิริยะ อิติกะถานัง สาระสะนะพุทโธ พระฤษีสิทธิอาคะตะสิทธิโต พะภะคะสติโต มะนะสะสีตะโต สะวาหะฯ 9จบ
นะครับแล้วทำสมาธินึกถึงพ่อปู่ฤษีตาไฟ นึกอะไร อยากได้อะไรก็ขอ



เป็นคาถาที่ผมใช้อยู่เป็นประจำเวลาพยากรณ์ ได้ประสิทธิ์มาจากท่านอาจารย์เจษฎา คำไหล ที่สอนวิชาพยากรณ์เลขเจ็ดตัวให้ผมมา เป็นคาถาที่ใช้บริกรรมภาวนาขณะพยากรณ์โดยเอาบท

พุธธังบังเกิดเปิดโลกะวิทู วิโสธายิ ธัมมังบังเกิดเปิดโลกะวิทู วิโสธายิ สังฆังบังเกิดเปิดโลกะวิทู วิโสธายิ


เป็นบทภาวนานำเพื่อเปิดโลกก่อนหนึ่งจบ จากนั้นจึงบริกรรมบทขอนิมิต คือ พุทธังมานิมิตตัง ธัมมังมานิมิตตัง สังฆังมานิมิตตัง ให้ภาวนาบทนี้ไปเรื่อยๆในระหว่างที่พยากรณ์ แล้วเซ็นส์ของการพยากรณ์จะมาเองครับ ส่วนที่คุณใช้เป็นคำบูชาปู่ฤษีนารอดนั้น


พระนารท หรือ พระนารอด หรือ พระนาระทะ แล้วแต่จะเรียกเป็น1 ใน พระประชาบดี (เทวฤษีที่เป็นพระผู้สร้าง) ๑๐ องค์ คือ เป็นผู้ประดิษฐ์ "วีณา" -- พิณน้ำเต้าพระฤๅษีนารทบำเพ็ญพรตอยู่เชิงเขาโสฬส นอกเมืองลงกา เมื่อคราวหนุมานไปถวายแหวนแก่นางสีดาได้เหาะเลยเมืองลงกาเพราะไม่รู้จักทาง ไปพบกันเข้าจึงเกิดการประลองฤทธิ์กัน แต่หนุมานเกิดพ่ายแพ้ต่อฤทธิ์พระฤๅษีจึงยอมอ่อนน้อม และเมื่อคราวหนุมานไปเผากรุงลงกาไฟที่ติดหางหนุมานจะดับอย่างไรก็ไม่สามารถดับได้ หนุมานจึงไปหาพระฤๅษีนารทให้ช่วยดับไฟให้พระฤาษีนารอด เป็นครูของฤาษีทั้งปวง ทรงกำเนิดจากเศียรที่ ๕ ของพระพรมธาดา ทรงเพศเป็นฤาษี พระฤาษีนารอดถือว่าเป็นฤาษีองค์แรกของไตรภูมิ ไม่ว่าจะมีการบูชาสิ่งใด หากไม่มีการเชิญท่านแล้ว พิธีกรรมนั้นมักไม่สมบูรณ์รูปลักษณ์ของท่านที่สร้างเป็นหัวโขน(ศรีษะครู)สำหรับบูชาเป็นรูปหน้าพระฤาษีหน้าปิดทอง สวมลอมพอกฤาษี มี(กระดาษ)ทำเป็นผ้าพับเป็นชั้นลดหลั่นกันไป เสียบอยู่กลางลอมพอกสิ่งที่เกี่ยวกับพระฤาษีนารอด เพิ่มเติมพระรอดเป็นพระเครื่องราง ที่มีชื่อเสียงโด่งดังไม่แพ้พระสมเด็จฯ และพระนางพญา ได้ถูกขนานนามว่าเป็น " เทวีแห่งนิรันตราย " ทั้งได้แสดงคุณวิเศษทางแคล้วคลาดเป็นที่ประจักษ์มาแล้วมากมาย ตามตำนานกล่าวว่า "พระนารทฤาษี" เป็นผู้สร้างพระพิมพ์นี้ขึ้น จึงเรียกพระพิมพ์นี้ว่า "พระนารท" หรือ "พระนารอด" ครั้นต่อมานานเข้ามีผู้เรียกและผู้เขียนเพี้ยนไปเป็น "พระรอท" และในที่สุด ก็เป็น"พระรอด" อีกทั้งเหมาะกับภาษาไทยที่แปลว่า รอดพ้น จึงนิยมเรียกพระพิมพ์เครื่องรางชนิดนี้ว่า พระรอด เรื่อยมาโดย ไม่มีผู้ใดขัดแย้ง พระรอดพบในอุโมงค์ใต้เจดีย์ใหญ่วัดมหาวัน หรือที่เรียกว่า มหาวนาราม ณ จังหวัดลำพูน ซึ่งปรากฏอยู่ถึงจนปัจจุบันนี้ อนึ่ง วัดมหาวันเป็นวัดโบราณของมอญลานนาในยุคทวาราวดี ขณะที่พระเจ้าเม็งรายยกทัพมาขับไล่พวกมอญออกไปราว พ.ศ.1740 นั้น ก็พบว่าวัดนี้เป็นโบราณสถานอยู่ก่อนแล้ว ฉะนั้นจึงไม่น่ามีปัญหาใดเลยว่า พระรอดนี้ควรมีอายุ เกินกว่าพันปีเป็นแน่ แต่เพิ่งมาพบเมื่อประมาณ 50 ปีมานี่เอง













พระฤษีนารอด ท่านเป็นหมอยาที่มีคาถาอาคมเก่งกล้า ทั้งยังเป็นอาจารย์รดน้ำมนต์ที่เก่งที่สุดอีกด้วยท่านมีบารมีมาก ปวงชนทั่วไปก็มักจะรู้จักพระนามของท่านแทบทั้งนั้น รูปร่างหน้าตาของท่านก็ยังมีหนวดเครายาวลงมาจากคางถึงในระหว่างอกมือถือดอกบัว ตรงด้านหน้ามีบาตรน้ำมนตร์ตั้งอยู่เป็นประจำ เก่งในทางรักษาโรคภัยไข้เจ็บได้ชงัดนักแล ถ้าหากผู้ใดมีความทุกข์ที่เกี่ยวกับการเจ็บไข้ได้ป่วย ก็จงบนบานศาลกล่าวกับท่านดูแล้วท่านก็จะต้องเมตตาเสด็จลงมาปัดเป่ารักษาให้โรคภัยนั้นหายไปในเร็ววันมักจะมีคนพูดกันทั่วไปว่า พระฤษีนารอดเป็นพี่ชายของ พระฤษีนารายณ์แต่บำเพ็ญพรตกันอยู่คนละแห่ง นานๆจึงจะได้พบกันสักครั้งหนึ่ง แต่เรื่องนี้มีความคลาดเคลื่อนอยู่ ที่จริงแล้วผู้ที่เป็นน้องชายของพระฤษีนารอดก็คือ พระฤษีนาเรศร์ มิใช่พระฤษีนารายณ์ ที่ถูกต้องก็คือ พระฤษีนาเรศร์ นี่แหละที่เป็นน้องชายแท้ๆของ พระฤษีนารอด และก็ได้บำเพ็ญตบะอย่างมุ่งมั่นอยู่กันคนละแห่ง สำหรับพระฤษีนาเรศร์นี้ ท่านเก่งในคาถาอาคมศักดิ์สิทธิ์มีเวทมนตร์ขลังเป็นที่สุด ชอบสันโดษบำเพ็ญพรตอยู่แต่ในป่าลึกๆ ไม่ค่อยชอบสมาคมกับใครเท่าใดนัก แม้แต่พี่น้องกันแท้ๆ ยังนานๆได้พบกันที พอพบกันก็จะดีใจถึงกับกอดกันแน่นด้วยความปลื้มปิติยินดีท่านที่กราบไหว้บูชาพระฤษีสององค์พี่น้องก็จะเป็นมงคลอันสูง ท่านก็จะได้แผ่บารมีแห่งความเมตตามายังท่าน มาป้องปัดบำบัดรักษา และคุ้มครองมิให้โรคภัยไข้เจ็บมาเบียดเบียนตลอดกาล....พระฤษีนารอดสวมเทริดฤษี ยอดบายศรีลายหนังเสือ เป็นพระฤษีที่บำเพ็ญพรตอยู่ที่เชิงเขาโสฬสนอกกรุงลงกา เมื่อครั้งหนุมานไปถวายแหวนนางสีดา เหาะเลยกรุงลงกาไปจึงไปพบพระฤษีนารอด(ฤษีนารท) โดยบังเอิญ แล้วต่อสู้กัน หนุมานแพ้จึงยอมอ่อนน้อมให้พระฤษี และเมื่อครั้งหนุมานเผากรุงลงกาไฟที่ติดหางดับไม่ได้ พระฤษีนารอดจึงดับให้....

ไม่มีความคิดเห็น: