วันพุธที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2551

เทวปกรณัมกับตำนานหอย

เทวปกรณัมกับตำนานหอย

คราวนี้คนแก่ขอมานำเสนอเรื่องราวของหอยกับ "ปกรณัม" กันบ้าง หลายคนอาจจะงง
กับคำว่า ปกรณ์ หรือ ปกรณัม คืออะไร ปกรณ์ คือ เรื่องเล่ากล่าวขานกันต่อๆ มา ถ้าเป็นเรื่องราวเกี่ยวกับเทพเจ้า ก็เรียกว่า เทวปกรณัมขอรับ คนแก่ใคร่ขอนำเสนอเรื่องราวของหอยกับปกรณัม สักเล็กน้อยตามความรู้อันน้อยนิด
ที่คนแก่มี มาให้ท่านๆ ได้สดับรับชมกันขอรับ

The image “http://www.siamensis.org/images/webboard_images/OthersPics_reply_36117.jpg” cannot be displayed, because it contains errors.

เริ่มจาก หอยสังข์อินเดีย (Indian Chank : Turbinella pyrum)
สังข์เป็นหอยอีกชนิดหนึ่งที่มีความเกี่ยวพันกับขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมต่างๆ ที่เป็นมงคลของไทย ที่เห็นบ่อยๆ ได้แก่ การรดน้ำสังข์ในงาน แต่งงาน
หรือในงานพระราชพิธีต่างๆ ที่มีการอัญเชิญพระสังข์ พระมหาสังข์องค์ต่างๆ
เข้าประกอบพิธี เช่นพิธีโสกัณฑ์ พระราชพิธีบรมราชาภิเษก หรือแม้กระทั่งที่ผ่านมาในงานพิธีฉลองสิริราชสมบัติครบ 60 ปีของในหลวงเรา ก็คงจะได้เห็นภาพที่พระราชครูวามเทพมุนี ถวายน้ำพระมหาสังข์แด่
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ณ พระที่นั่งอัมรินทรวินิจฉัย หรือแม้ในพงศาวดารหลาย
เรื่อง ก็มีการกล่าวถึงหอยสังข์ เช่น การใช้เปลือกหอยสังข์มาทำเป็นผังเมืองสำหรับ
สร้างเมืองหริภุญไชย หรือที่กล่าวไว้ในพระราชพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา ในตอน
สร้างกรุงศรีอยุทธยา ในปี พ.ศ. 1893 พระเจ้าอู่ทอง (สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1) ทรงเห็นว่าทำเลบริเวณหนองโสนอยู่ในชัยภูมิที่เหมาะสม มีคูคลองล้อมรอบ จึงมีรับสั่งให้ชีพ่อพราหมณ์ตั้งพิธีกลบบาตสุมเพลิง จากนั้นจึงให้พนักงานขุดดินโดยรอบเพื่อเตรียมสร้างพระราชวัง และได้พบสังข์ทักษิณาวรรตสีขาวบริสุทธิ์ใต้ต้นหมันหนึ่งขอน อ้อ ลืมบอกไป
ขอรับ คำลักษณะนามที่ใช้เรียก “สังข์” นั้น เขาเรียกกันเป็น “ขอน” เดี๋ยวจะ
เข้าใจว่าเป็นขอนของต้นหมันไป ทรงถือเป็นศุภนิมิตร ทรงโปรดให้ปราสาทขึ้นเพื่อประดิษฐานสังข์ทักขินาวัฎขอนดังกล่าว ในปัจจุบันจังหวัดพระนครศรีอยุธยายังคงรูปสังข์ทักษิณาวรรตประดิษฐาน
อยู่ในพานทองใต้ต้นหมันเป็นตราประจำจังหวัด นอกจากนี้ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ก็ปรากฏว่ามีแขกคนหนึ่งชื่อนักกุดาสระวะสี ได้นำมหาสังข์ทักษิณาวรรต
มาถวายเป็นคนแรก จึงทรงพระกรุณาโปรดตั้งให้เป็นขุนนางมียศเป็น
หลวงสนิทภูบาล
หอยทากชรา



เรื่องราวที่เล่าขานมานี้ล้วน แต่แสดงให้เห็นว่าสังข์มีความเกี่ยวพันกับคนไทยมานานแล้ว หลายคนอาจจะสงสัยว่า ทำไมต้องใช้สังข์หลั่งน้ำในงานมงคลต่างๆ หรือเข้าประกอบ
ในงานมงคลต่างๆ นั้น เรื่องนี้มีที่มาขอรับ เรื่องของเรื่องมีอยู่ว่า เมื่อครั้งพระอิศวรสร้าง
เขาพระสุเมรุแล้ว พระองค์ก็มีประกาศิตให้พระพรหมธาดาขึ้นไปอยู่ในพรหมโลก ให้เป็นใหญ่กว่าพรหมทั้งหลาย ในครั้งนั้นบรรดาพรหมที่มีจิตใจริษยาต่างก็ไม่พอใจ ก็เลยจุติลงมาเป็นสังข์อสูรอยู่ใต้เขาพระสุเมรุ ครั้งนั้นพระพรหมธาดาได้นำเอาคัมภีร์
มาถวายพระอิศวร เมื่อมาถึงที่อยู่ของสังข์อสูรก็เกิดอาการร้อนรุ่มอยากสรงน้ำ จึงได้วางคัมภีร์ไว้ริมฝั่งแล้วเสด็จลงน้ำ ฝ่ายสังข์อสูรเมื่อเห็นเช่นนั้นจึงได้ให้ผีเสื้อน้ำ
ไปลักเอาคัมภีร์นั้นมา แล้วก็กลืนเข้าไว้ในท้องทั้งหมด ฝ่ายองค์พรหมเมื่อขึ้นมาจากน้ำ
ไม่เห็นคัมภีร์ จึงรีบไปเข้าเฝ้าพระอิศวรทูลเรื่องที่เกิดขึ้นให้ทรงทราบ เมื่อพระศิวะเจ้าเข้าฌานก็ทราบถึงสาเหตุ จึงได้เชิญพระนารายณ์มา และให้เป็นธุระในการนำเอาพระคัมภีร์กลับมา พระนารายณ์จึงได้แปลงกายเป็น
ปลากรายทอง นามว่า มัจฉาวตาร ไล่ล่าสังหารผีเสื้อน้ำ และเข้าโรมรันกับสังข์
อสูรเป็นสามารถ ในที่สุดก็เอาชนะสังข์อสูรได้ แล้วสำแดงองค์คืนร่างเป็นพระสี่กร ยื่นพระหัตถ์เข้าไปในปากสังข์อสูร เพื่อหยิบเอาพระคัมภีร์ บางตำนานก็ว่า ทรงแหวก
ปากของสังข์อสูรออก ทำให้หอยสังข์ในปัจจุบันมีรอยนิ้วของพระนารายณ์ปรากฏอยู่
จนทุกวันนี้ จากนั้นพระสี่กรจึงสาปสังข์อสูรว่า สังข์อสูรเป็นพรหมมาจุติ และกลืน
คัมภีร์พระเวทย์เข้าไว้ อีกทั้งยังมีรอยนิ้วพระหัตถ์แห่งพระองค์ปรากฏอยู่ด้วย นับว่า
เป็นมงคล ดังนั้น ถ้าผู้ใดจะทำการมงคลพิธีในภายภาคหน้าก็จงเอาสังข์เข้าอยู่ใน
พิธีนั้น ผู้ใดรดน้ำในอุทรสังข์ก็ให้เป็นมงคลกันอุบาทว์เสนียดจัญไร หรือเป่าก็ให้เป็น
มงคลไปจนสุดเสียงสังข์ ครั้นสาปแล้วพระนารายณ์ก็นำคัมภีร์ไปถวายพระอิศวร
และเสด็จกลับเกษียรสมุทร ตั้ง แต่นั้นเป็นต้นมา พราหมณ์จึงถือว่าหอยสังข์ที่ปาก
มีริ้ว 2-4 ริ้ว อันเกิดจากนิ้วพระหัตถ์ของพระสี่กรปรากฏอยู่นั้นเป็นสังข์สำคัญ
ภาพที่นำมาแสดงเป็นภาพตอนพิธีบรมราชาภิเษก ในหลวงรัชกาลปัจจุบันขอรับ
หอยทากชรา

อีกตำนานหนึ่ง ซึ่ง มีที่มาจากทางคชศาสตร์ โดยเกี่ยวพันกับเทพเจ้าแห่งช้างที่สำคัญ
สององค์ คือ “พระพิฆเนศ” และ “พระโกญจนาเนศวร” สำหรับพระพิฆเนศนั้น เชื่อว่า
หลายท่านคงรู้จักดี แล้วขออนุญาตไม่เล่าในที่นี้ขอรับ ถ้าอยากทราบประวัติของท่าน สามารถหาอ่านได้ในหนังสือ“อมนุษยนิยาย” ของ ส พลายน้อย ได้ขอรับ แต่เทพอีก
องค์คือ พระโกญจนาเนศวร นั้นมีพระนามปรากฏอยู่เฉพาะในตำราคชลักษณ์ ตาม
ตำนานกล่าวว่า ในไตรดายุค พระนารายณ์ทรงกระทำเทวฤทธิ์ให้เกิดดอกบัวผุดขึ้น
จากอุทร ดอกบัวดอกนั้นมีแปดกลีบ มีเกสร 172 เกสร แล้วนำไปถวายพระอิศวร ซึ่ง องค์เทวะเจ้าได้แบ่งเกสรดอกบัวออกเป็นสี่ส่วน หนึ่งส่วนเป็นขององค์ศิวะเจ้าเอง
หนึ่งส่วนขององค์พรหมา ส่วนหนึ่งเป็นของพระวิษณุ และส่วนที่สี่ให้แก่พระอัคนี
เพื่อให้เทวะ แต่ลงองค์ทรงบันดาลให้เกิดช้างสี่ตระกูล คือ อิศวรพงศ์, พรหมพงศ์,
วิษณุพงศ์ และอัคนิพงศ์ แล้วจึงสร้างพระเวทสี่ประการ ไว้ให้สำหรับชนทั้งหลายจะได้ปราบช้างทั้งสี่ตระกูลในโลก พระผู้ทรงจันทเศขร ทรงประสาทพรให้พระเพลิงกระทำเทวฤทธิ์ให้บังเกิดเปลวเพลิงออกจากช่อง
พระกรรณทั้งสอง และท่ามกลางเปลวเพลิงทางด้านขวา บังเกิดเป็นเทวกุมาร
องค์หนึ่ง มีพระพักตร์เป็นช้าง พระกรขวาทรงตรีศูล พระกรซ้ายทรงดอกบัว
มีอุรเคนทร์ (พญานาค) เป็นสังวาล นั่งชาณุมณฑล อยู่เบื้องขวาพระผู้เป็นเจ้า
ทั้งสาม ทรงพระนามว่า “ศิวบุตรพิฆเนศวร” ส่วนเบื้องซ้ายบังเกิดเป็นเทวกุมาร
มีพระพักตร์เป็นช้างสามเศียร มีหกพระกร ทรงพระนาม “โกญจนาเนศวร” ทรง
บันดาลให้เกิดเป็นช้างเอราวัณ ช้างเผือกผู้มี 33 เศียร อีกพระกรหนึ่ง บังเกิด
ช้างคิรีเมขละไตรดายุค ช้างเผือกผู้สามเศียร ช้างทั้งสองถือเป็น
“เทพยานฤทธิ์” ซึ่ง พระเป็นเจ้าทั้งสามประสาทพรไว้ให้เป็นเทพพาหนะของ
องค์อมรินทร์ พระกรอีกสองกรของพระโกญจนาเนศวร เกิดเป็นช้างเผือกซึ่ง
จะได้อุบัติในโลก สำหรับเป็นพาหนะของกษัตริย์อันมีอภินิหารอีกข้างละ
สามตระกูล คือ ช้างเผือกเอก โท ตรี และพระกรเบื้องขวาเป็นพลาย
อีกสองพระกรบังเกิดเป็น “สังข์ทักษิณาวรรต” เบื้องขวา “สังข์อุตราวัฏ”
เบื้องซ้าย ยืนอยู่เหนือกระพองศรีษะช้างเจ็ดเศียร บรรดาหมอช้างทั้งหลาย
จึงไหว้บูชา พระศิวบุตรพิฆเนศวร และพระโกญจนาเนศวร ด้วยเหตุนี้พระศิวบุตรทั้งสองก็ประจำอยู่ในโลกจนสิ้นภัทรกัปหนึ่ง
ช้างเผือกทั้งสามตระกูล และสังข์สองตระกูล จึงเป็นของมงคล เพราะเกิดจากกลางฝ่ามือของพระโกญจนาเนศวรศิวบุตรนั่นเอง ความเชื่อดังกล่าวทำให้การขึ้นระวางสมโภชช้างสำคัญในทุกรัชกาล จะทรงหลั่งน้ำพระมหาสังข์ทักขิณาวัฏเหนือศีรษะช้างสำคัญ อันเป็นพิธีใหญ่ และสำคัญมาก เทียบเท่าพระเจ้าลูกยาเธอชั้นเจ้าฟ้าเชียวนะขอรับ

ภาพที่แสดงเป็นภาพพระโกญจนาเนศวรขอรับ
หอยทากชรา
เทวปกรณัมที่เล่ามา หลายคนอาจจะสงสัย พระสังข์ทักษิณาวรรต หรือ ถ้าแปลเป็นภาษาง่ายๆ จะแปลว่าหอยเวียนขวา ส่วนพระสังข์อุตราวัฏ หรือหอยเวียนซ้ายนั้น จะดูอย่างไร ว่าสังข์ขอนไหนที่เป็นเวียนขวา หรือว่าเวียนซ้าย ก่อนอื่นเราคงต้องมาทำความเข้าใจกัน
ก่อนนะขอรับ ว่าการดูว่าเปลือกหอยเปลือกไหน เวียนขวาหรือว่าเวียนซ้ายนั้น มีการมองอยู่
สองแบบ แบบหนึ่งเป็นไปตามหลักการทางด้านสังขวิทยา ส่วนอีกแบบเป็นไปตามคติของ
พราหมณ์ เราลองมาเปรียบเทียบทั้งสองแบบดูนะขอรับ เอาแบบทางด้านสังขวิทยาก่อน
แล้วกันนะขอรับ ถ้าตอนนี้ใครมีเปลือกหอยทะเลในมือ (ขอเป็นหอยฝาเดียวนะขอรับ
หอยสองฝาเดี๋ยว ไว้มีเวลากระผมค่อยบอกว่าดูยังไงเป็นฝาซ้ายหรือว่าฝาขวา) ทีนี้ลองยกเปลือกหอยขึ้นมาดูนะขอรับ ให้เอาด้านที่เป็นปลายแหลมชี้ขึ้นข้างบน แล้วหันเอาด้านที่เป็นปากเปิด (aperture) หันเข้าหาตัว ถูกต้องแล้วขอรับ ทีนี้ให้สังเกต
ด้านปากเปิด ถ้าปากเปิดอยู่ด้านขวามือเรา แสดงว่าเป็นหอยเวียนขวา
(right-hand coiling : Dextral) แต่ ถ้าปากเปิดอยู่ด้านซ้ายก็เป็นหอยเวียนซ้าย
(left-hand coiling : Sinistral) ขอรับ ซึ่ง ในหอยทะเล 99.99 % เป็นหอยเวียนขวา
และ 0.01 %เป็นหอยเวียนซ้ายเอาล่ะขอรับทีนี้เรามาลองดูการขดวนของหอย
แบบทางคติพราหมณ์บ้างขอรับ ในทางพราหมณ์นั้น เขาไม่ได้มองการขดวนเหมือนทาง
วิชาการแต่ดูจากเวลาใช้สังข์รดน้ำ ลองนึกภาพตอนที่เรารดน้ำสังข์ในงานแต่งงาน
สิขอรับ เราทำอย่างไร เราจะหันเอาด้านปลายแหลมเข้าหาตัว แล้วก็เอาด้านที่เป็นช่องที่ใส่น้ำออกจากตัวใช้ไหมขอรับ ในกรณีนี้
ถ้าปากเปิด หรือช่องที่ใช้รดน้ำนั่นแหละขอรับ อยู่ทางด้านซ้ายมือเรา
ก็จะเรียกว่า หอยเวียนซ้าย หรือสังข์อุตราวรรต แต่ ถ้าปากเปิดอยู่ทางด้าน
ซ้ายมือ ก็จะเป็นหอยเวียนขวา หรือสังข์ทักขิณาวรรต ทีนี้เอาใหม่นะขอรับ
เราลองเอาสังข์อุตราวรรต มาดูการขดวนแบบทางวิชาการดู สังเกตเห็น
อะไรไหมขอรับ ใช่แล้วขอรับ สังข์อุตราวัฏก็จะกลายเป็นหอยเวียนขวา
ในทางวิชาการ และในทำนองเดียวกัน สังข์ทักขิณาวรรต ก็จะกลายเป็น
หอยเวียนซ้าย เพราะฉะนั้นอย่าได้สับสนนะขอรับ ให้เข้าใจว่า ถ้าพูด
ถึงสังข์ หรือพระมหาสังข์ทักษิณาวรรตแล้วล่ะก็จะหมายถึงหอยที่มี
การขดวนของเปลือกเป็นแบบเวียนซ้ายส่วนสังข์หรือพระสังข์อุตราวัฏจะ
หมายถึงหอยที่มีการขดวนของเปลือกเป็นแบบเวียนขวาขอรับ ขออนุญาต
นอกเรื่องสักนิดขอรับ ในประเทศอินเดีย เราคงทราบดีอยู่แล้วว่ามี
การปกครองแบบแบ่งวรรณะ (varna) ต่างๆ สี่วรรณะ เชื่อหรือไม่ขอรับว่า
แม้ แต่สังข์เองก็ยังแบ่งออกเป็นสีในการใช้ตามวรรณะด้วยเช่นกัน โดย
วรรณะพราหมณ์ ใช้สังข์สีขาว วรรณะกษัตริย์ ใช้สังข์สีแดงหรือสีน้ำตาล
หรือชมพู วรรณไวศยะ ซึ่ง ได้แก่ คหบดี หรือพ่อค้า ใช้สังข์สีเหลือง
และวรรณะสุดท้ายคือ ศูทร ได้แก่ ชาวไร่ ชาวนา ผู้ใช้แรงงาน
ใช้สังข์สีเทา หรือสีดำ ขอรับ

เพื่อความเข้าใจง่ายๆ เลยเอารูปมาลงให้ดูอีกทีขอรับ
หอยทากชรา



The image “http://www.siamensis.org/images/webboard_images/OthersPics_reply_36118.jpg” cannot be displayed, because it contains errors.


เรื่องของสังข์นี่ ถ้าจะให้เล่ากันล่ะก็คงเล่าได้ไม่รู้จบ เอาเป็นว่าเราพอจะสรุปได้ว่า วิถีชีวิตคนไทยเราผูกพันกับสังข์มานาน และแม้ แต่ในปัจจุบันก็ยังมีพิธีกรรมต่างๆ
ที่เกี่ยวข้องกับสังข์ ดังเช่นงานพระราชพิธีต่างๆ ที่กล่าวถึงในตอนต้น และสำหรับเราเหล่าสามัญชนแล้วล่ะก็ที่ยังเห็นได้บ่อยๆ คือการรดน้ำสังข์ในงาน
แต่งงานนั่นเอง ทั้งนี้ทั้งนั้นล้วน แต่มาจากคติความเชื่อที่ว่า สังข์เป็นของมงคล และน้ำที่หลั่งจากสังข์ช่วยปัดเป่าสิ่งที่ไม่ดีออกไปได้ พอพูดถึงเรื่องนี้คนแก่เองก็
อยากทราบเหมือนกันว่า คนกรุงเทพฯ เรานี่จะมีสักกี่คนที่ทราบว่า หอยสังข์อุตรา
วัฎสัมฤทธิ์ขนาดใหญ่ ใน “สวนรมณีนาถ” ซึ่ง สร้างในวโรกาสที่
สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงเจริญพระชนมายุครบ 60 พรรษานั้น ภายในสังข์นั้นบรรจุแผ่นยันต์มหาโสฬสมงคล และองค์สังข์จริง ซึ่ง ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ประดิษฐานไว้ในสังข์สำริด ทำให้น้ำพุที่ไหลผ่านกลายเป็นน้ำศักดิ์สิทธิ์ไปด้วย ถ้าจะให้เล่าเรื่องสังข์แล้วล่ะก็มีเรื่องราวให้กล่าวขานกันอีกมากมาย
แต่เอาไว้แค่นี้ก่อนแล้วกัน ไว้มีเวลาค่อยมาว่ากันใหม่ขอรับ

กระผมเอาภาพหอยสังข์ที่ยังมี periostracum มาให้ยลขอรับ

ถ้าไม่ลืมคราวหน้าจะเอาเรื่องชื่อสกุลของหมึกงวงช้างกระดาษ Argonauta
มาเล่าให้ฟังว่า มีที่มาอย่างไร แต่ ถ้าลืม รบกวนเตือนคนแก่ด้วยขอรับ
หมู่นี้ชักเลอะเลือน ลืมบ่อยขอรับ แก่แล้วก็อย่างนี้แล -_-"
หอยทากชรา

The image “http://www.siamensis.org/images/webboard_images/OthersPics_reply_36134.jpg” cannot be displayed, because it contains errors.

เรียน ampelisciphotis น้องท่าน อันปัญหานี่ตัวเราเองก็เฝ้าเพียรหาคำตอบอยู่
เพราะเคยได้ยิน แต่เขากล่าวเล่าขาน หาภาพมายลก็มี แต่สีขาว ชะรอยต้องไป
อินเดียสักคราเพื่อหาคำตอบ ไว้มีข้อมูลที่เชื่อถือได้มายืนยันเมื่อใด เราจักรีบบอก
โดยเร็วพลัน
ไหนๆ ก็เข้ามาแล้ว ใคร่นำเสนอหอยสังข์เวียนซ้าย ที่มักจะหลอกขายคน
ที่อยากซื้อสังข์ทักขิณาวัฏ ทาง net หรือนายหน้าบ่อยๆ หอยชนิดนี้
เวียนซ้าย (sinistral) เป็นปกติใน species คนที่ไม่รู้ก็คิดว่าได้สังข์ทักษิณา
วัตรของแท้ไป ใครอยากได้สังข์ทักษิณาวัตรไว้ครอบครองก็จุ่งดูให้ดีนะขอรับ
มีคำกล่าวไว้ว่า พระมหาสังข์จักเลือกผู้เป็นเจ้าของเอง ถ้าท่านมีวาสนาคงได้
ไว้ครองสักขอนหนึ่งกระมัง หึ หึ
หอยทากชรา


The image “http://www.siamensis.org/images/webboard_images/OthersPics_reply_36137.jpg” cannot be displayed, because it contains errors.

ใช้คำว่า "องค์" ครับ ถ้าเป็นสังข์ธรรมดา ถึงจะเรียกว่า ขอน ขอรับ ยิ่ง ถ้าเป็นสังข์ทักษิณาวัตร
ด้วย และมีความสำคัญก็จะเรียกว่า พระมหาสังข์ เช่น พระมหาสังข์เพชรน้อย ที่รัชกาลที่ 4 ถวายเป็นพุทธบูชา แด่พระแก้วมรกต ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกต พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวหรือ ผู้แทนพระองค์ที่ทรงโปรดเกล้าฯ (ที่ต้องใส่ไปยาลน้อย เพราะมาจากคำเต็มที่ว่า "โปรดเกล้าโปรดกระหม่อม" ขอรับ) ก็จะทรงน้ำพระแก้วมรกตก่อนเปลี่ยนเครื่องทรง ด้วยน้ำจากพระมหาสังข์องค์นี้แหละขอรับ ปัจจุบันพระมหาสังข์องค์นี้จะประดิษฐานไว้หน้าองค์พระแก้วมรกต ถ้าใครไปวัดพระแก้ว แล้วไปนมัสการพระแก้ว ลองสังเกตสักนิดจะเห็นขอรับ (มีภาพที่พอดูได้ ซึ่ง ไอ้กระผม
ถ่ายเอง มาให้ชม ว่า แต่ว่าเห็นองค์พระมหาสังข์กันไหมเอ่ย หุ หุ) แต่ในปัจจุบันจะมี
พระมหาสังข์อีกองค์หนึ่ง ชื่ออะไร กระผมจำไม่ได้จริงๆ ขอติดไว้ก่อน พรุ่งนี้จะมาบอก
ขอรับ ที่นำมาเข้าร่วมในการเปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกตด้วย รายละเอียดเพิ่มเติม
จะบอกพรุ่งนี้กับ เอกสารไม่อยู่กะตัวกลัวพลาด
หอยทากชรา

ได้เอกสารมาแล้วขอรับ แต่ก่อนอื่นขอตอบคำถาม คุณเสือหัวดำ กะคุณ aris
ก่อนแล้วกันครับ ข้อมูลด้านเทวปกรณ์ส่วนใหญ่ผมก็หาอ่านจากหนังสือทั่วๆ ไปแบบเก็บเล็กผสมน้อยไปเรื่อยๆ ตามประสาคนแก่น่ะขอรับ ที่อ่านๆ แล้ว
ชอบก็มีของ ส. พลายน้อย ที่ท่านมี series พวก สัตวนิยาย พฤกษนิยาย
อัญมณีนิยาย เทวนิยาย อมนุษยนิยาย จันทรคตินิยาย เป็นต้น ซึ่ง หนังสือ
เหล่านี้ก็มีพิมพ์ใหม่มาเรื่อยอ่ะครับ กระผมว่างานสัปดาห์หนังสือน่าจะมีขาย
อ่ะครับ หรือไม่ก็ร้านพวกแพร่พิทยา อะไรประมาณเนี๊ยน่าจะพอหาซื้อได้ขอรับ
ส่วนพวกคัมภีร์ปุราณะ เช่น วิษณุปุราณะ ฯ ลฯ พวกนี้กระผมไม่สามารถเข้าถึง
แหล่งข้อมูลอ่ะครับ แต่คิดว่าคณะที่เกี่ยวกับทางโบราณคดี หรืออักษรศาสตร์
น่าจะมีกระมัง เพราะดูๆ แล้วน่าจะเกี่ยวกับพวกเทววิทยา (theology, mythology) หรือไม่ก็ลองไปคุยกับพราหมณ์ที่โบสถ์พราหมณ์อาจจะได้อะไรดีๆ นะขอรับ
อย่างเรื่องสังข์ทักษิณาวัตรกับอุตราวัฏนี่กระผมก็ได้ความรู้จากท่านพราหมณ์
ที่ทำหน้าที่เกี่ยวกับเรื่องราวในวังท่านหนึ่งช่วยกรุณาอรรถาธิบายให้ฟังขอรับ
หอยทากชรา

โอ๊ะ ลืมเขียนต่อ ขออภัยขอรับ คงไม่ถือสาคนแก่คนเฒ่า เอหรือว่าเป็นหอยแก่
หอยเฒ่าดีหว่า กลับมาที่เรื่องของพระมหาสังข์ที่เขียนไว้ตอนต้นเกี่ยวกับ
พระแก้วมรกตนิดนึงขอรับ ที่บอกไว้ตอนแรกว่ามี 2 องค์ พอดีไปค้นข้อมูลมา
มีที่ต้องแก้ไขเล็กน้อยขอรับ รายละเอียดทั้งหมดมีดังนี้ขอรับ
พระมหาสังข์ที่ใช้ในพระราชพิธีเปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกต
ปัจจุบันมี 2 องค์ คือ
- พระมหาสังข์เพชรน้อย เป็นพระสังข์ทักขิณาวรรต ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่า
สร้างในรัชสมัยใด สังข์องค์นี้ใช้ประจำสำหรับองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
สรงน้ำพระแก้วมรกต ในพระราชพิธีเปลี่ยนเครื่องทรงประจำฤดูกาล และทรงใช้สังข์นี้บรรจุน้ำพระพุทธมนต์จากที่สรงน้ำพระแก้วมรกตหลั่งลง
ที่พระเศียรของพระองค์เอง แล้วหลั่งพระราชทานพระราชวงศ์ตั้งแต่ชั้น
หม่อมเจ้าขึ้นไป ที่มาเข้าเฝ้าในพระราชพิธี นอกจากนี้พระสังข์องค์นี้
ยังใช้ในพิธีสรงน้ำมูรธาภิเษก ในพระราชพิธีบรมราชาภิเษกและเป็น
พระมหาสังข์สำหรับถวาย
สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ
สมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี
สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฎราชกุมาร
และสมเด็จพระเทพพระรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงใช้หลั่งน้ำพระราชทานในงานพระราชพิธีมงคลต่างๆ เช่น อภิเษกสมรส เป็นต้น
- พระมหาสังข์ประจำพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร เป็นพระสังข์ทักษิณาวรรต
สร้างในรัชกาลที่ 4 ทรงถวายเป็นพุทธบูชาสำหรับถวายน้ำสรงพระแก้วมรกต
โดยเฉพาะเมื่อเวลาเปลี่ยนเครื่องทรงตามฤดูกาล เป็นสังข์ทักษิณาวรรต
(ขออนุญาตไม่ใช้ว่า เวียนขวาหรือซ้าย เพราะจะสับสนกับคำเรียกทางวิชาการ
ของชาวหอย malacologist ขอรับ) ประดิษฐานอยู่หน้าบุษบกที่ประดิษฐาน
พระแก้วมรกต (ตามรูปที่ลงให้ดูตอนแรกน่ะขอรับ)

สำรับพระมหาสังข์ที่สำคัญที่ใช้ในงานพระราชพิธีต่างๆ ประกอบด้วยด้วย
พระมหาสังข์สำคัญ ตั้ง แต่รัชกาลที่ 1 จนถึงรัชกาลปัจจุบัน มีจำนวน 16 องค์ เป็นพระมหาสังข์ทักษิณาวรรตเจ็ดองค์ ส่วนพระมหาสังข์สำคัญองค์อื่นๆ
เป็นสังข์อุตราวัฏ แต่ครั้นจะให้ชื่อ และข้อมูลไปก็กลัวท่านๆ ทั้งหลายจะเบื่อ
ด้วยว่าเอา แต่เรื่องวิชาการเกินไปมาลง เอาไว้ ถ้ามีท่านใดอยากทราบก็
แจ้งแล้วกันขอรับ จะเอามาลงให้ขอรับ
หอยทากชรา

ไม่มีความคิดเห็น: